พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม ครอบคลุมชื่อพรรณพืชและพรรณสัตว์ท้องถิ่นของประเทศไทย รวมทั้งพรรณพืช ที่มีการปรับปรุงพันธุ์ที่ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ราชวงศ์ของไทย โดยตั้งชื่อสกุล คำระบุชนิด และชื่อลูกผสม มาตั้งชื่อพรรณพืชและพรรณสัตว์นั้น ผู้ตั้งได้เล็งเห็นถึงพระราชกรณียกิจ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อค้นพบพรรณพืชหรือสัตว์ชนิดใหม่จึงต้องการตั้งชื่อตามพระนามเพื่อเทิดพระเกียรติและเผยแพร่พระเกียรติคุณ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั้งไทยและต่างประเทศ ในการทรงงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
ข้อมูลอนุกรมวิธาน เรียงตามชื่อวิทยาศาสตร์ A-Z
Acanthosquilla derijardi
Aenictus shilintongae
Afgekia mahidolae
Amblypharyngodon chulabhornae
Amphidromus principalis
Amphioctopus rex
Artocarpus heterophyllus
Astraeus sirindhorniae
Basilochelys macrobios
Blechnum x rasmijoti ‘The Royal Project’
Bulbophyllum Princess Bejaratana
Buxus sirindhorniana
Cattleya ‘Queen Sirikit’
Chironephthya sirindhornae
Chironex indrasaksajiae
Cladomyrma sirindhornae
Dendrobium Pink Nagarindra
Dendrobium Soamsawali
Devario regina
Eucosmogastra sirindhornae
Flemingia sirindhorniae
Gentiana hesseliana
Guaiacum officinale
Impatiens charisma
Impatiens sirindhorniae
Indochinamon bhumibol
Jasminum bhumibolianum
Jasminum nobile
Khoratamia phattharajani
Macrobrachium sirindhorn
Magnolia rajaniana
Magnolia sirindhorniae
Mahidolia mystacina
Mimadiestra sirindhornae
Mitrephora sirikitiae
Mugilogobius rambaiae
Mussaenda ‘Queen Sirikit’
Mystus bocourti
Nymphaea ‘Queen Sirikit’
Opisthognathus rex
Paphiopedilum charlesworthii
Paphiopedilum ‘Sangwan Anniversary 108th’
Paphiopedilum ‘Princess Sangwan’
Paraboea bhumiboliana
Paraboea sangwaniae
Peperomia sirindhorniana
Phalaenopsis Princess Chulabhorn
Phanera sirindhorniae
Phricotelphusa sirindhorn
Phuwiangosaurus sirindhornae
Physoschistura chulabhornae
Potamon galyaniae
Pseudochelidon sirintarae
Pupamon sangwan
Rosa 'Chulalongkorn'
Rosa ‘Princess Maha Chakri Sirindhorn’
Rosa ‘Queen Sirikit’
Schistura sirindhornae
Sirindhorna khoratensis
Sirindhornia mirabilis
Sirindhornia monophylla
Sirindhornia pulchella
Soleichthys siammakuti
Streptocephalus sirindhornae
Syzygium sirindhorniae
Tabebuia rosea
Tarsius sirindhornae
Thaiphusa sirikit
Thaipotamon chulabhorn
Thepparatia thailandica
Trigona sirindhornae
Tulipa ‘King Bhumibol’
Wrightia sirikitiae
Zingiber sirindhorniae
ลำดับ | ชนิดพันธุ์ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม | อาณาจักร | ไฟลัม | ชั้น | อันดับ | วงศ์ | สกุล | ชื่อสามัญ | ชื่อไทย | ชื่อท้องถิ่น | พระนามเทิดพระเกียรติ | สันฐานวิทยา | ที่มา |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | สัตว์ | Acanthosquilla derijardi | Acanthosquilla derijardi Manning, 1970 | Animalia | Arthropoda | Malacostraca | Stomatopoda | Nannosquillidae | Acanthosquilla | กั้งเจ้าฟ้า | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
กั้งเจ้าฟ้ามีสีดำเป็นแถบขวางทุกปล้องตลอดตามยาวตัวและแพนหางขนาดลำตัวยาวประมาณ 68-73 มิลลิเมตร พบที่ที่จังหวังปัตตานี
|
|||
2 | สัตว์ | Aenictus shilintongae | Aenictus shilintongae | Animalia | Aenictus | มดทหารเทพา | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
มดทหารเทพา เป็นมดชนิดใหม่จากทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย ใช้ตัวอย่างต้นแบบจากมดทหาร มดชนิดนี้อยู่ ในกลุ่ม Aenictus laeviceps และมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ A. rotundicollis และ A. sonchaengi แต่มีลักษณะแตกต่างกันที่มีขนบนส่วนอกเพียง ๒-๑๐ เส้น ขนาดตัวมีความยาว ๔.๕-๔.๗ มิลลิเมตร
|
|||||||
3 | พืช | Afgekia mahidolae | Afgekia mahidolae B. L. Burtt & Chermsir. | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Fabales | Fabaceae | Afgekia | กันภัยมหิดล | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี |
ไม้เถา ยาวได้ถึง 15 ม. มีขนคล้ายไหมหนาแน่นทั่วไป ใบประกอบปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อยมี 4-6 คู่ เรียงเกือบตรงข้าม รูปไข่หรือขอบขนาน ยาว 1.5-7.5 ซม. ปลายกลม พบที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยม
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
4 | สัตว์ | Amblypharyngodon chulabhornae | Amblypharyngodon chulabhornae Vidthayanon & Kottelat, 1990 | Animalia | Chordata | Actinopterygii | Cypriniformes | Cyprinidae | Amblypharyngodon | ปลาซิวเจ้าฟ้า | สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ลำตัวและหัวแบนข้าง คอดหางเรียวยาว ตาโต หลังค่อม ท้องเป็นสีเงินแวววาว มีแถบสีดำบริเวณโคนครีบก้นถึงบริเวณโคนครีบหาง ครีบหางเว้าลึกเป็นรูปส้อม ตัวโตเต็มที่ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร บริเวณส่วนหัวด้านบนมีสีเขียวเหลือบทอง ส่วนมากพบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ อยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง นาข้าว และแหล่งน้ำท่วม กินแพลงค์ตอนพืชและแพลงค์ตอนสัตว์ เป็นอาหาร
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
5 | สัตว์ | Amphidromus principalis | Amphidromus principalis Sutcharit & Panha, 2015 | Animalia | Mollusca | Gastropoda | Stylommatophora | Camaenidae | Amphidromus | หอยบุษราคัม | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
หอยบุษราคัมมีเปลือกสีเหลืองแวววาว มีสีลำตัวสีขาวนวลอาศัยอยู่บนต้นไม้ในป่าดิบชื้นตามเกาะในอ่าวไทย บริโภคสาหร่ายและไลเคนบนผิวต้นไม้ ดำรงชีวิตบนต้นไม้ตลอดชีวิต มีเปลือกเวียนทางด้านซ้ายทุกตัวทั้งประชากร ศัตรูธรรมชาติ คือนกหลายชนิดและหนู มีการผลิตเมือกจากเท้าและแมนเทิลที่ทำสีขาวใส ช่วยเคลือบผิวลำตัวให้ขาวมันแวววาว มีสารที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงผิวพรรณที่ละเอียดอ่อน มีศักยภาพไปสู่อุตสาหกรรมเวชสำอางได้อีกด้วย
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
6 | สัตว์ | Amphioctopus rex | Amphioctopus rex (Nateewathana & Norman, 1999) | Animalia | Mollusca | Cephalopoda | Octopoda | Octopodidae | Amphioctopus | หมึกสายราชา | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
หมึกสายราชา เป็นปลาหมึกสายหน้าดินขนาดกลาง เป็นชนิดที่พบใหม่ มีรายงานเฉพาะในน่านน้ำไทย อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งที่พื้นทะเลเป็นทรายและโคลน จากบริเวณน้ำขึ้นน้ำลงไปจนถึงระดับลึก ประมาณ ๖๐ เมตร เป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับปลาหมึกสายชนิดอื่น
|
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
7 | พืช | Artocarpus heterophyllus | Artocarpus heterophyllus Lam. | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Rosales | Moraceae | Artocarpus | ขนุนไพศาลทักษิณ | เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) |
"ลำต้น: เปลือกเรียบสีเทาอมน้ำตาล ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว
ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนา สีเขียวเป็นมัน
ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกแน่น มีดอกเล็กๆ อัดกันแน่นบนแกนช่อดอก ช่อดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกดอกเดือนเมษายน
ผล: ผลรวมทรงกลม มีหนามสั้น สีเขียวอมเหลือง มีลักษณะเด่นคือ ซังน้อย เนื้อหนา เปลือกบาง และยางน้อย"
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
8 | จุลินทรีย์ | Astraeus sirindhorniae | Astraeus sirindhorniae Watling, Phosri, Suwann., A.W.Wilson & M.P.Martín, 2014 | Fungi | Basidiomycota | Agaricomycetes | Boletales | Diplocystidiaceae | Astraeus | เห็ดเผาะสิรินธร | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
เห็ดเผาะสิรินธร เป็นเห็ดเผาะรูปดาวชนิดใหม่ เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ยังมีการสำรวจค้นพบน้อยที่ถูกค้นพบจากป่าเต็งรัง
|
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
9 | สัตว์ | Basilochelys macrobios | Basilochelys macrobios Tong et al., 2009 | Animalia | Chordata | Reptilia | Testudinata | Basilochelys | เต่าทรงพระเจริญ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
เต่าขนาดใหญ่จากปลายยุคจูราสสิค ถึงตอนต้นยุคครีสเตรเซียส ของฟอร์เมชั่น ภูกระดึง กลุ่มโคราช ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย เต่าทรงพระเจริญถูกตั้งเป็นสกุลใหม่ และชนิดใหม่ของโลกในวงศ์ Trionychoidae และเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของเต่าในกลุ่มนี้
|
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |||
10 | พืช | Blechnum x rasmijoti ‘The Royal Project’ | Blechnum gibbum x Blechnum brasiliense | Plantae | Tracheophyta | Liliopsida | Asparagales | Blechnaceae | Blechnum | เฟินรัศมีโชติ | สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ |
เฟินขนาดกลาง ลำต้นขึ้นเป็นลำสีน้ำตาล ปกคลุมด้วยขนสีดำ ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปขอบขนาน มี 40 คู่ใบ ทางใบกว้าง 30 เซนติเมตร ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
11 | พืช | Bulbophyllum Princess Bejaratana | Bulbophyllum Princess Bejaratana | Plantae | Tracheophyta | Orchidaceae | Bulbophyllum | กล้วยไม้สิงโตเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ | สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี |
กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตทางด้านข้าง ลำต้นมีลำลูกกล้วยรูปไข่ สีเขียวอ่อน มีใบอยู่บนส่วนปลายเพียงใบเดียว ใบรูปแถบแกมรูปรี ปลายใบแหลมหรือมนสีเขียว ดอกสีเหลืองอมส้ม
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||||
12 | พืช | Buxus sirindhorniana | Buxus sirindhorniana | Plantae | Buxus | ช้องเจ้าฟ้า | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไม้ต้นสูง 5-6 เมตร เปลือกหนามีลักษณะคล้ายคอร์ก สีเทา ใบเรียงตรงข้าม รูปใบหอก ดอกสีเขียวอ่อน ใบประดับรูปไข่ กลีบรวม 4 กลีบ รูปไข่ เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่ดอยหัวหมด จังหวัดตากและกาญจนบุรี
|
|||||||
13 | พืช | Cattleya ‘Queen Sirikit’ | Cattleya ‘Queen Sirikit’ | Plantae | Tracheophyta | Asparagales | Orchidaceae | Cattleya | แคทลียาควีนสิริกิติ์ | สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
กล้วยไม้อิงอาศัยลูกผสม ความสูง 10-14 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียวสด ลำต้นแก่ มีร่องตามแนวยาวลำละ 1 ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ดอกสีขาวมีแต้มสีเหลืองทอง
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |||
14 | สัตว์ | Chironephthya sirindhornae | Chironephthya sirindhornae Imahara, Chavanich, Viyakarn, Kushida, Reimer & Fujita, 2020 | Animalia | Cnidaria | Anthozoa | Alcyonacea | Nidaliidae | Chironephthya | ปะการังอ่อนสิรินธร | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
|
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2563. | ||
15 | สัตว์ | Chironex indrasaksajiae | Chironex indrasaksajiae Sucharitakul, 2017 | Animalia | Cnidaria | Cubozoa | Chirodropida | Chirodropidae | Chironex | กะพรุนกล่องอินทรศักดิศจี | สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย 2563 | ||
16 | สัตว์ | Cladomyrma sirindhornae | Cladomyrma sirindhornae Jaitrong, Laedprathom & Yamane, 2013 | Animalia | Arthropoda | Insecta | Hymenoptera | Formicidae | Cladomyrma | มดต้นไม้สิรินธร | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
มดต้นไม้สิรินธร อาศัยอยู่กับเถาวัลย์ปูนในป่าปลูก หรือป่ารุ่นสอง มดชนิดนี้ มีหัวแบน ไม่มีเหล็กใน พบจากป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด อำเภอขลุง จันทบุรี
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
17 | พืช | Dendrobium Pink Nagarindra | Dendrobium 'Pink Nagarindra' Air Orch. 2009 | Plantae | Dendrobium | หวายชมพูนครินทร์ | สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ |
กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตทางด้านข้าง ลำต้นมีลำลูกกล้วยยาว 17-36 เซนติเมตร ใบหนาแข็ง รูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 7-8 เซนติเมตร ยาว 11-13 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ดอกสีชมพู
|
|||||||
18 | พืช | Dendrobium Soamsawali | Plantae | Dendrobium | หวายโสมสวลี | พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ กรมหมื่นสุทธนารีนาถ |
กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นมีลำลูกกล้วย ยาว 17-33 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบแหลม แผ่นใบหนาแข็ง ดอกสีชมพูอมม่วง
|
||||||||
19 | สัตว์ | Devario regina | Devario regina (Fowler, 1934) | Animalia | Chordata | Actinopterygii | Cypriniformes | Cyprinidae | Devario | ซิวใบไผ่ | สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
ปลาซิวใบไผ่ราชินี เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวยาวเพรียว มีหนวดสั้น ๒ คู่ ตอนบน ของลำตัวสีเทาอมชมพู ท้องและลำตัวมีประกายเป็นสีเขียวสดใส มีจุดดำจาง ๆ อยู่หลังช่องเหงือก
|
Freshwater FISHES IN THAILAND | ||
20 | สัตว์ | Eucosmogastra sirindhornae | Eucosmogastra sirindhornae Pinkaew & Laeprathom, 2016 | Animalia | Arthropoda | Insecta | Orthoptera | Rhaphidophoridae | Eucosmogastra | ผีเสื้อรัตติสิริน | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก พบในจังหวัดนราธิวาส มีขนาดเพียง ๑๕.๘ มิลลิเมตร พื้นปีกสีน้ำตาลเข้ม ขอบปีกสีเหลือง ปล้องท้อง สีดำสลับเหลือง
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
21 | พืช | Flemingia sirindhorniae | Flemingia sirindhorniae | Plantae | Flemingia | เทพมาศ | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไม้ล้มลุกปีเดียว สูงประมาณ 60 เซนติเมตร ใบประกอบมี 1-3 ใบย่อย เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบบริเวณเขาหินปูน ที่ดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
|
|||||||
22 | พืช | Gentiana hesseliana | Gentiana hesseliana Hosseus | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Gentianales | Gentianaceae | Gentiana | ดอกหรีดลักษณา (ดอกหรีดกอ, ลักษณา) | หม่อมเจ้าลักษณากร เกษมสันต์ |
"พืชล้มลุก ลำต้นแตกกอ ตั้งตรงหรือทอดเลื้อย สูง 4-20 ซม. ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายลำต้น ใบที่โคนต้นรูปไข่ ยาว 2-6 ซม. ขอบใบค่อนขางเรียบ บางใส ปลายใบแหลม โคนใบที่ตรงข้ามกันเรียวเชื่อมติกกันคล้ายหลอดกาบสั้นๆ ใบที่ปลายรูปรี ยาว 1-1.5 ซม. ดอกออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายลำต้น ดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดใส ยาว 0.4-0.8 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปใบหอกแคบ ยาว 0.4-1 ซม. ขอบบาง ปลายแหลม กลีบดอกสีม่วงอ่อนอมน้ำเงิน รูปแตร หลอดกลีบยาวประมาณ 1.3 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยมยาวประมาณ 0.2 ซม. พับจีบหระหว่างกลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดภายในหลอดกลีบ ก้านชูอับเรณูรูปเส้นด้าย โคนแบน รังไข่มี 1 ช่อง ยาว 3-5 มม. ที่โคนมีต่อม อับเรณูยาวประมาณ 3 มม. ก้านเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรแยก 2 พู ผลแห้งแตก รูปไข่กลับ แบน ยาว 0.6-1.1 ซม. รวมปีกที่ปลายผล ก้านผลยาวประมาณ 3 มม. เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก
ดอกหรีดเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ภูกระดึงและภูหลวง จังหวัดเลย ขึ้นตามทุ่งหญ้าในป่าสน ความสูง 1,200-1,500 เมตร แยกเป็น var. lakshanakarae มีลำต้นไม่ชัดเจนเมื่อเป็นต้นเดี่ยว และชัดเจนเมื่อแตกกิ่ง"
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
23 | พืช | Guaiacum officinale | Guaiacum officinale L. | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Zygophyllales | Zygophyllaceae | Guaiacum | แก้วเจ้าจอม (ต้นน้ำอบผรั่ง, แก้วจุลจอม) | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) |
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-10 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 2-3 คู่ ไม่มีก้าน รูปไข่กลับหรือรูปรี แผ่นใบหนา โคนใบสอบ ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ สีฟ้าอมม่วงหรือฟ้าคราม สีจะจางลงเมื่อใกล้โรย ผลเป็นผลแห้งแตก รูปคล้ายหัวใจ ปลายมีติ่งแหลม สีเหลืองอมส้ม เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีแดง ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน หมู่เกาะอินดีสตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาจากเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย และทรงนำมาปลูกที่วังสวนสุนันทา แก้วเจ้าจอมถือเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
24 | พืช | Impatiens charisma | Impatiens charisma Suksathan & Keerat. | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Ericales | Balsaminaceae | Impatiens | เทียนพระบารมี | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
เทียนพระบารมี เป็นพืชที่มีลักษณะเด่นที่ลำต้นเป็นปีก ก้านใบและก้านดอกแบน ดอกสีเหลือง กลีบดอกข้างรวมกันที่ฐานซ้อนบนกลีบล่าง
|
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
25 | พืช | Impatiens sirindhorniae | Impatiens sirindhorniae Triboun & Suksathan | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Ericales | Balsaminaceae | Impatiens | ชมพูสิริน | เทียนสิรินธร | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 เซนติเมตร แตกกอ ลำต้นอวบน้ำ ดอกสีชมพู เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่จังหวัดกระบี่และสุราษฎร์ธานี ขึ้นตามหน้าผาเขาหินปูน
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
26 | สัตว์ | Indochinamon bhumibol | Indochinamon bhumibol | Animalia | Arthropoda | Malacostraca | Decapoda | Potamidae | Indochinamon | ปูเจ้าพ่อหลวง | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ปูเจ้าพ่อหลวง เป็นปูน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย มี ๓ สี คือ สีน้ำตาลเข้ม สีม่วง และสีส้ม โดยกระดองจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ความกว้างของกระดอง ๓๑-๘๗ มิลลิเมตร พบที่ภูกระดึง อำเภอภูกระดึง ภูเรือ อำเภอภูเรือ ลําห้วยบ้านนาหว้า อำาเภอด่านซ้าย ลำห้วย แพแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
|
|||
27 | พืช | Jasminum bhumibolianum | Jasminum bhumibolianum Chalermglin | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Lamiales | Oleaceae | Jasminum | มะลิเฉลิมนรินทร์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ไม้เลื้อย เถายาว 1-2 เมตร ใบรูปรีหรือรูปหอกกว้าง ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง หรือปลายกิ่งข้าง มีดอกย่อย 7-13 ดอก กลีบดอกสีขาว 6-8 กลีบ เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่จังหวัดเลย
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
28 | พืช | Jasminum nobile | Jasminum nobile C. B. Clarke subsp. rex (Dunn.) P.S.Green | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Lamiales | Oleaceae | Jasminum | มะลิ ร.5 (ปันหยี, มะลิวัลย์ดง) | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) |
ไม้เลื้อย ความสูงยอดเลื้อยได้ไกล 2-4 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีแดงเรื่อ เมื่ออายุมากขึ้นมีเนื้อไม้แข็ง ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง สีเขียวเข้ม ดอกสีขาว มีการกระจายพันธุ์ที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศไทย
พม่า กัมพูชา เวียดนาม ไทย
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
29 | สัตว์ | Khoratamia phattharajani | Khoratamia phattharajani Deesri, Naksri, Jintasakul, Noda, Yukawa, El Hossny & Cavin, 2023 | Animalia | Chordata | Amiiformes | Amiidae | Khoratamia | ปลาโคราชอาเมียภัทราชัน | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
มีรูปร่างคล้ายปลาช่อนแต่มีเกล็ดแข็งขนาดเล็กรูปข้าวหลามตัด
|
นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับที่ 129 ธันวาคม 2566, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) | |||
30 | สัตว์ | Macrobrachium sirindhorn | Macrobrachium sirindhorn Naiyanetr, 2001 | Animalia | Arthropoda | Malacostraca | Decapoda | Palaemonidae | Macrobrachium | กุ้งเจ้าฟ้า | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
กุ้งเจ้าฟ้าเป็นกุ้งน้ำตกที่มีขนาด ความยาวลำตัว ๘-๑๗.๖ มิลลิเมตร มีสีน้ำตาล เป็นจุดกระจายอยู่ทั่วลำตัว บริเวณด้านบน ของปล้องท้องที่ ๒ จะเห็นแถบสีเหลืองพาด อยู่บนลำตัว พบที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ถ้ำผามอนและถ้ำแม่ละนา ตำบลสบป่อง อำาเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
|
|||
31 | พืช | Magnolia rajaniana | Magnolia rajaniana (Craib) Figlar | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Magnoliales | Magnoliaceae | Magnolia | จำปีรัชนี (จำปีหลวง, ชะแก) | พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ |
ไม้ต้น สูง 25-35 ม. ลำต้นเปลาตรง ใบเรียงเวียน รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 17-30 ซม. ปลายมนหรือตัด โคนเว้าตื้น ๆ มน หรือกลม แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ดอกสีครีมหรืออมเหลือง มีกลิ่นหอม กลีบรวมมี 12-15 กลีบ เรียงเป็นวง วงละ 3 กลีบ กลีบยาว 2.5-3.5 ซม. เกสรเพศผู้และเพศเมียจำนวนมาก ผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว 15-20 ซม. ผลย่อยมี 12-20 ผล ขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 2-3 ซม. เมล็ดสีแดงเข้ม รูปรี ยาว 1-1.4 ซม.
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
32 | พืช | Magnolia sirindhorniae | Magnolia sirindhorniae Noot. & Chalermglin | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Magnoliales | Magnoliaceae | Magnolia | จำปีสิรินธร (จำปา, จำปีสัก) | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไม้ต้น สูง 20-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องตามยาว ใบเรียงเวียน รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 14-20 เซนติเมตร ดอกสีขาวนวลเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อแก่ เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่บริเวณซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ขึ้นหนาแน่นในป่าพรุน้ำจืดที่มีน้ำไหล
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
33 | สัตว์ | Mahidolia mystacina | Mahidolia mystacina | Animalia | Chordata | Actinopterygii | Perciformes | Gobiidae | Mahidolia | ปลาบู่มหิดล | สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก |
ปลาบู่มหิดล เป็นปลาบู่ที่มี ถิ่นอาศัยในทะเลจากมหาสมุทรอินเดียถึง มหาสมุทรแปซิฟิก มักพบในทะเล หรือน้ำกร่อย อาศัยตามชายฝั่ง แนวปะการัง ที่พื้นมีโคลนประมาณ ๕-๒๕ เมตร มีลำตัวและครีบสีเทา ออกไปทางสีอมม่วงหรือฟ้า ลำตัวกลมยาว มีจุดประจางๆ กระจายอยู่โดยทั่ว และมีแถบสีเข้มพาดทแยงจากสันหลัง ไปทางด้านหน้าเกือบถึงสันท้อง ความยาว ของหัวและลำตัวไม่เกิน ๘ เซนติเมตร
|
|||
34 | สัตว์ | Mimadiestra sirindhornae | Mimadiestra sirindhornae Dawwrueng, Storozhenko & Artchawakom, 2016 | Animalia | Arthropoda | Insecta | Orthoptera | Rhaphidophoridae | Mimadiestra | ตั๊กแตนคูหารัตน์ | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ตั๊กแตนคูหารัตน์เป็นแมลงชนิดใหม่ ที่พบจากสถานีวิจัยสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ตั๊กแตนขายาว ลำตัวสีน้ำตาลเทา ตัวยาวประมาณ ๑๔.๗-๑๕.๘ มิลลิเมตร ลำตัวอ้วนป้อม หนวดยาวกว่าความยาวลำตัว
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
35 | พืช | Mitrephora sirikitiae | Mitrephora sirikitiae Weeras., Chalermglin & R.M.K.Saunders | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Magnoliales | Annonaceae | Mitrephora | มหาพรหมราชินี | สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-6 เมตร ใบเรียงเวียน รูปใบหอก ยาว 6-22 เซนติเมตร ดอกสีขาว กลีบดอกวงในสีม่วงอมแดง เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แคบๆ ของยอดเขาสูงชันที่ระดับความสูง 1,100 เมตร ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (endemic) เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งยังเป็นพรรณไม้หายาก เนื่องจากมีจำนวนต้นในสภาพถิ่นกำเนิดน้อยมาก และมีการกระจายพันธุ์ต่ำ
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
36 | สัตว์ | Mugilogobius rambaiae | Mugilogobius rambaiae (Smith, 1945) | Animalia | Chordata | Actinopterygii | Perciformes | Gobiidae | Mugilogobius | Queen Rambai's goby | บู่รำไพ | สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ |
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) มีลำตัวยาวทรงกระบอก หัวเล็ก ปากกว้างในตัวผู้ เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวมีสีคล้ำหรือสีน้ำตาล ขอบเกล็ดมีแต้มสีคล้ำหลังช่องเหงือกด้านบนมีดวงรีสีดำและขอบสีจาง ครีบหลังมีลายสีดำและขอบสีจาง ครีบหางมีลายเส้นสีคล้ำ
พบกระจายพันธุ์อยู่ในอินเดีย, พม่า, ไทย, มาเลเซียจนถึงอินโดนีเซีย ในบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นป่าจากหรือเป็นแหล่งน้ำกร่อย ในประเทศไทยพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ทั้งฝั่งตะวันตก ส่วนฝั่งตะวันออกพบเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช
|
Freshwater FISHES IN THAILAND | |
37 | พืช | Mussaenda ‘Queen Sirikit’ | Mussaenda philippica ‘Queen Sirikit’ | Plantae | RUBIACEAE | Mussaenda | ดอนญ่าควีนสิริกิติ์ | สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรี ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อมีใบประดับ ขนาดใหญ่สีชมพูอ่อน ขลิบขอบด้วยสีชมพูเข้มเกือบแดง
|
หนังสือพรรณพืชพรรณสัตว์ในพระนาม | |||||
38 | สัตว์ | Mystus bocourti | Mystus bocourti (Bleeker, 1864) | Animalia | Chordata | Actinopterygii | Siluriformes | Bagridae | Mystus | แขยงธง | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ปลานํ้าจืด ตัวยาวแบน ไม่มีเกล็ด หัวเล็กแหลม ส่วนหัว หลัง และข้างลำตัว เป็นสีเหลือง มีหนวดที่มุมปากยาวถึงหาง มีครีบหลังสูงอันเดียว หางเป็นแฉกลึก แฉกบน ยาวกว่าแฉกล่าง ด้านท้องเป็นสีทอง ครีบหลัง และครีบท้องสีเขียว แต่ที่ฐานของครีบสีแดง ความยาวลำตัวประมาณ ๑๐-๒๔ เซนติเมตร
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
39 | พืช | Nymphaea ‘Queen Sirikit’ | N. ‘Perry's Fire Opal’ x N. ‘Nangkwag Fah’ | Plantae | Tracheophyta | Scleractinia | Nymphaeaceae | Nymphaea | บัวควีนสิริกิติ์ | สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
บัวลูกผสมที่เกิดจากการผสมพันธุ์ โดยใช้บัวเขตอบอุ่นพันธุ์เพอรี่ส์ไฟรโอปอล (Perry's Fire Opal) เป็นต้นแม่ และใช้บัวผันพันธุ์นางกวักฟ้าเป็นต้นพ่อ ได้ลูกผสมที่มีกลีบดอก 2 สี คือส่วนปลายกลีบดอกมีสีม่วง โคนกลีบดอกมีสีขาว ส่วนกลีบเลี้ยงมีสีขาวอมเขียว
ด้วยหน่อ
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |||
40 | สัตว์ | Opisthognathus rex | Opisthognathus rex Wongratana, 1975 | Animalia | Chordata | Actinopterygii | Perciformes | Opistognathidae | Opisthognathus | ปลาโอพิสทอนญาทัส เร็กซ์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ปลาประเภทจอว์ ฟิช ลำตัว สีดำอมม่วงหรือดำอมน้ำเงิน ยาวประมาณ ๘-๑๐ เซนติเมตร ส่วนหัวใหญ่ ตากลมโต ปากมีขนาดใหญ่ บริเวณครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีดำเข้ม มีแถบสีขาวพาด บริเวณฐานครีบเป็นแนวเส้นตรง เกล็ดเป็น เกล็ดกลม มีขนาดเล็ก
|
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
41 | พืช | Paphiopedilum charlesworthii | Paphiopedilum charlesworthii Pfitzer | Plantae | Tracheophyta | Liliopsida | Asparagales | Orchidaceae | Paphiopedilum | รองเท้านารีดอยตุง 'สังวาลย์' | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี |
กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตทางด้านข้าง ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับทั้งสองข้าง รูปขอบขนาน แผ่นใบเรียวยาว สีเขียวเข้ม ปลายแยกออกเป็นสองแฉก โดนใบมีจุดประสีแดงอมน้ำตาล ดอกสีชมพู
Myanmar, SW China.
|
Checklist of Plants in Thailand Volume I ปี 2557 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
42 | พืช | Paphiopedilum ‘Sangwan Anniversary 108th’ | Paphiopedilum ‘Sangwan Anniversary 108th’ | Plantae | Tracheophyta | Liliopsida | Asparagales | Orchidaceae | Paphiopedilum | รองเท้านารีพริ้นเซสสังวาลย์ แอนนิเวอร์ซารี ปีที่ 108 | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี |
กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตทางด้านข้าง ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับสองข้าง รูปขอบขนาน ปลายใบหยักเว้าตื้นๆ เป็นสองแฉก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีเขียว โคนใบและโคนต้นมีปื้นสีแดงอมน้ำตาล ดอกสีชมพูอมแดง
|
|||
43 | พืช | Paphiopedilum ‘Princess Sangwan’ | Paphiopedilum ‘Princess Sangwan’ | Plantae | Paphiopedilum ‘Princess | รองเท้านารีพริ้นเซสสังวาลย์ | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี |
กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตทางด้านข้าง ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับสองข้าง รูปขอบขนาน ปลายใบหยักเว้าตื้นๆ เป็นสองแฉก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีเขียว โคนใบและโคนต้นมีปื้นสีแดงอมน้ำตาล ดอกสีชมพูอมแดง
|
|||||||
44 | พืช | Paraboea bhumiboliana | Paraboea bhumiboliana Triboun & Chuchan | Plantae | Tracheophyta | Gesneriaceae | Paraboea | ภูมิพลินทร์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 60 เซนติเมตร แตกกิ่งหนาแน่น มีขนสั้นนุ่ม ใบเรียงตรงข้าม หนาแน่นช่วงปลายกิ่ง รูปรี รูปไข่ หรือแกมรูปขอบขนาน ดอกสีม่วงอ่อน เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่จังหวัดลำพูนและตาก
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||||
45 | พืช | Paraboea sangwaniae | Paraboea sangwaniae Triboun | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Lamiales | Gesneriaceae | Paraboea | นครินทรา | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี |
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 20-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น ลำต้นตั้งตรงหรือทอดเลื้อย ใบเดี่ยวออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ ดอกสีม่วง เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบบริเวณเขาหินปูนบนดอยตุง จังหวัดเชียงราย
|
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
46 | พืช | Peperomia sirindhorniana | Peperomia sirindhorniana | Plantae | Peperomia | รักตะนิล | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไม้ล้มลุก มีลำต้นและก้านใบสีแดง มีใบสีเขียวเข้มหรือสีมรกต ใบรูปหอก เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่เขาหินปูนในจังหวัดเลย
|
|||||||
47 | พืช | Phalaenopsis Princess Chulabhorn | Paphiopedilum 'Princess Sangwan' Mae Fah Luang Foundation 2004 | Plantae | Tracheophyta | Liliopsida | Asparagales | Orchidaceae | Phalaenopsis | ฟาแลนนอพซิสพรินเซสจุฬาภรณ์ | สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
กล้วยไม้อิงอาศัย ในรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ออกเรียงสลับสองข้าง ปลายใบแหลมหรือมน แผ่นใบอวบน้ำ สีเขียวเข้ม ดอกสีขาวอมชมพู กลางดอกมีสีชมพู กลีบปากสีเหลืองมีแต้มสีน้ำตาลแดง
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
48 | พืช | Phanera sirindhorniae | Phanera sirindhorniae (K. Larsen & S. S. Larsen) Mackinder & R. Clark | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Fabales | Fabaceae | Phanera | สิรินธรวัลลี | สามสิบสองประดง | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไม้เถาเนื้อแข็ง กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบรูปไข่ ยาว 5-18 เซนติเมตร ดอกสีส้มอมชมพู เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบขึ้นตามชายป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่จังหวัดหนองคาย นครพนม (ภูลังกา) และสกลนคร (ภูพาน)
พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ขึ้นตามชายป่าดิบแล้ง ความสูง 150-200 เมตร
|
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช | |
49 | สัตว์ | Phricotelphusa sirindhorn | Phricotelphusa sirindhorn Naiyanetr, 1989 | Animalia | Arthropoda | Malacostraca | Decapoda | Gecarcinucidae | Phricotelphusa | ปูเจ้าฟ้า | ปูน้ำตก | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ปูเจ้าฟ้ามีสีสวยงาม คือ กระดองและก้ามทั้งสองข้างเป็นสีขาว กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยมนูนเรียบ ด้านหน้าใต้ขอบกระดองสีม่วงดำดูคล้ายสวมหน้ากาก ขนาดความกว้างของกระดอง 9 – 25 มม. ส่วนขาเดินทั้ง 4 คู่ พร้อมเบ้าตาทั้งสองข้างและบริเวณปากเป็นสีม่วงดำ
น้ำตกห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, น้ำตกที่เขาพะเนินทุ่ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, น้ำตกบนยอดเขา อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี, น้ำตกที่ปีล็อค อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
50 | สัตว์ | Phuwiangosaurus sirindhornae | Phuwiangosaurus sirindhornae Martin, Buffetaut & Suteethorn 1994 | Animalia | Chordata | Reptilia | Dinosauria | Phuwiangosaurus | ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไดโนเสาร์ซอรอพอด พวกกินพืช เดินเท้า ๔ เท้า คอยาว หางยาว อยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น อายุประมาณ ๑๓๐ ล้านปี
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |||
51 | สัตว์ | Physoschistura chulabhornae | Physoschistura chulabhornae | Animalia | Chordata | Actinopterygii | Cypriniformes | Nemacheilidae | Physoschistura | ค้อเจ้าฟ้า | สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
|
Freshwater FISHES IN THAILAND | ||
52 | สัตว์ | Potamon galyaniae | Potamon galyaniae Naiyanetr,2001 | Animalia | Arthropoda | Malacostraca | Decapoda | Potamidae | Takpotamon Brandis, 2002 | ปูพระพี่นาง | สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ |
ปูพระพี่นาง มี 3 สี คือ สีแดงเลือดนก สีแดงส้ม และสีขาว พบที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
53 | สัตว์ | Pseudochelidon sirintarae | Pseudochelidon sirintarae Thonglongya, 1968 | Animalia | Chordata | Aves | Passeriformes | Hirundinidae | Pseudochelidon | White-eyed River Martin | นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง เป็นนึ่งในสองวงศ์ย่อยนกนางแอ่นเทียม เป็นชนิดที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนจารกชนิดในแอฟริกา พบครั้งแรกในปี พ.ศ.2511 จากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
|
||
54 | สัตว์ | Pupamon sangwan | Pupamon sangwan Naiyanetr, 1997 | Animalia | Arthropoda | Malacostraca | Decapoda | Potamidae | Pupamon | ปูแม่ฟ้าหลวง | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี |
ปูแม่ฟ้าหลวงมีสีสวยงาม 5 สี คือ สีแดง สีม่วงดำ สีน้ำเงิน สีขาว และ สีน้ำตาล พบบริเวณดอยตุง จังหวัดเชียงราย
|
|||
55 | พืช | Rosa 'Chulalongkorn' | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Lamiales | Rosaceae | Rosa | กุหลาบจุฬาลงกรณ์ (กุหลาบ ร.5) | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) |
ไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 1.30 เมตร ลำต้นไม่มีหนาม เมื่อแก่โคนต้นเป็นสีน้ำตาล ใบประกอบรูปขนนก ใบย่อย 5-9 ใบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกสีชมพู
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |||
56 | พืช | Rosa ‘Princess Maha Chakri Sirindhorn’ | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Rosales | Rosaceae | Rosa | กุหลาบพระนามสิรินธร | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไม้พุ่ม สูงประมาณ 70 เซนติเมตร ลำต้นสีน้ำตาล มีหนามแหลม ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยรูปรี ออกเวียนสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกสีชมพูเหลืองเหลือบ กลีบซ้อนแน่น
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |||
57 | พืช | Rosa ‘Queen Sirikit’ | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Rosales | Rosaceae | Rosa | Queen Sirikit Rose | กุหลาบควีนสิริกิติ์ | สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล มีหนามแหลม ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเวียนสลับ ใบย่อยรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบถึงมน ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกสีเหลือง
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
58 | สัตว์ | Schistura sirindhornae | Schistura sirindhornae Suvarnaraksha, 2015 | Animalia | Chordata | Actinopterygii | Cypriniformes | Nemacheilidae | Schistura | ค้อลายเสือสมเด็จพระเทพ | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ปลาค้อชนิดใหม่พบในลุ่มน้ำน่าน ทางตอนบนของ จ.น่าน ได้รับพระราชทานนามว่า "ปลาค้อสมเด็จพระเทพ" เป็นกลุ่มปลาค้อที่มีขนาดใหญ่ มีความโดดเด่นจากปลาค้อชนิดอื่นๆ ด้วยการที่มีเกล็ดปกคลุมตลอดทั้งลำตัวซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มปลาตะเพียน บริเวณท้องมีเกล็ดแบบใส แตกต่างปลาค้อโดยทั่วไปที่มีเกล็ดฝังใต้ผิวหนัง หรือไม่ก็จะเห็นเพียงบางส่วน และมักไม่พบเกล็ดบริเวณท้องและระหว่างครีบหู
|
Freshwater FISHES IN THAILAND | ||
59 | สัตว์ | Sirindhorna khoratensis | Sirindhorna khoratensis. Shibata, Jintasakul, Azuma & You, 2015 | Animalia | Chordata | Reptilia | Ornithischia | Hadrosauridae | Sirindhorna | สิรินธรน่า โคราชเอนซิส | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
อิกัวโนดอนต์สิรินธรน่า เป็นไดโนเสาร์กินพืช ขนาดยาว ๖ เมตร สูง ๒ เมตร หนักประมาณ ๑ ตัน เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ แถบอำเภอเมืองนครราชสีมา เมื่อประมาณ ๑๑๕ ล้านปีก่อน
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
60 | พืช | Sirindhornia mirabilis | Sirindhornia mirabilis H.A.Pedersen & Suksathan | Plantae | Tracheophyta | Liliopsida | Asparagales | Orchidaceae | Sirindhornia | เอื้องศรีประจิม | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
กล้วยไม้ขึ้นตามซอกหิน มีใบเดียวรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 8-12 เซนติเมตร ปลายแหลม แผ่นใบหนาสีเขียว มีแต้มสีเข้ม ดอกสีชมพู กระจายไปทั่ว เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่ดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
Endemic.
|
Checklist of Plants in Thailand Volume I ปี 2557 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
61 | พืช | Sirindhornia monophylla | Sirindhornia monophylla (Collett & Hemsl.) H.A.Pedersen & Suksathan | Plantae | Tracheophyta | Liliopsida | Asparagales | Orchidaceae | Sirindhornia | เอื้องศรีอาคเนย์ | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
กล้วยไม้ขึ้นตามซอกหิน มี 1-2 ใบ ใบรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 3-12 เซนติเมตร แผ่นใบหนาสีเขียว มีแต้มเข้มกระจาย ดอกสีขาวมีจุดประสีชมพู พบที่ตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและภาคเหนือของไทย
Myanmar, S China.
|
Checklist of Plants in Thailand Volume I ปี 2557 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
62 | พืช | Sirindhornia pulchella | Sirindhornia pulchella H.A.Pedersen & Indham. | Plantae | Tracheophyta | Liliopsida | Asparagales | Orchidaceae | Sirindhornia | เอื้องศรีเชียงดาว | เอื้องกิ่วลม, กล้วยไม้ตระกูลสิรินธร | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
กล้วยไม้ ขึ้นตามซอกหิน มี 1-2 ใบ รูปรี รูปไข่ หรือรูปใบหอก ยาว 4.5-13 เซนติเมตร ดอกสีขาว มีจุดประสีชมพูอมม่วง เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
Endemic.
|
Checklist of Plants in Thailand Volume I ปี 2557 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
63 | สัตว์ | Soleichthys siammakuti | Soleichthys siammakuti | Animalia | Chordata | Actinopterygii | Pleuronectiformes | Soleidae | Soleichthys | ปลาใบไม้ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
|||
64 | สัตว์ | Streptocephalus sirindhornae | Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont, 2000 | Animalia | Arthropoda | Branchiopoda | Anostraca | Streptocephalidae | Streptocephalus | ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร เป็นสัตว์น้ำจืด ชนิดหนึ่งคล้ายกุ้ง ลำตัวยาว ๑.๓-๓ เซนติเมตร หางแดง ตัวผู้มีหนวดยาว ตัวเมียมีถุงไข่ ๑ ถุง บริเวณกลางลำตัวด้านข้าง เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทย
North, North East, West, central Thailand
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
65 | พืช | Syzygium sirindhorniae | Syzygium sirindhorniae Chantar., Suksathan & Wongnak | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Myrtales | Myrtaceae | Syzygium | ราชรัตน์ | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-7 เมตร ใบเรียงตรงกันข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่แกมใบหอก เส้นใบเด่นชัด ดอกสีเหลืองอ่อน เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่ดอยฟ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่
|
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
66 | พืช | Tabebuia rosea | Tabebuia rosea DC. | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Lamiales | Bignoniaceae | Tabebuia | ชมพูพันธุ์ทิพย์ (ชมพูบริพัตร, ชมพูอินเดีย, ตาเบบูย | หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร |
ไม้ต้นขนาดกลางสูง 15-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลม แผ่กว้างเป็นชั้นๆ เปลือกต้นเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาล เมื่ออายุมากเปลือกแตกเป็นร่อง กิ่งเปราะหักง่าย ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม ดอก สีชมพูอ่อน ชมพูสดและขาว กลางดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ยาว 5-7 เซนติเมตร มักบาน พร้อมกัน ร่วงง่าย ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบน สีน้ำตาล มีปีก
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
67 | สัตว์ | Tarsius sirindhornae | Tarsius sirindhornae Chaimanee, Lebrun, Yamee & Jaeger | Animalia | Chordata | Mammalia | Primates | Tarsiidae | Tarsius | ทาร์เซียสิรินธร | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ทาร์เซียสิรินธร เป็นบรรพชีวิน ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่วิวัฒนาการมาจาก ยุคไอโอซีนจนมาถึงยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ กินแมลงเป็นอาหาร และหากิน ในเวลากลางคืน
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
68 | สัตว์ | Thaiphusa sirikit | Thaiphusa sirikit (Naiyanetr, 1992) | Animalia | Arthropoda | Malacostraca | Decapoda | Potamidae | Thaiphusa | ปูราชินี | ปูสามสี,ปูไตรรงค์,ปูป่า | สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
ปูราชินี มีสามสี คือ สีแดง สีขาว สีน้ำเงินม่วงดำ โดยขาเดินทั้ง 4 คู่ เป็นสีแดง ขนาดความกว้างของกระดอง 17 – 48 มม. ด้านข้างของกระดองทั้งสองพร้อมด้วยก้ามหนีบทั้งสองข้างเป็นสีขาว ตรงกลางกระดองพร้อมด้วยเบ้าตาเป็นสีน้ำเงินม่วงดำ และบริเวณริมฝีปากเป็นสีแดงกระดอ
ลำห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
69 | สัตว์ | Thaipotamon chulabhorn | Thaipotamon chulabhorn Naiyanetr, 1993 | Animalia | Arthropoda | Malacostraca | Decapoda | Potamidae | Thaipotamon | ปูทูลกระหม่อม | ปูแป้ง,ปูแดง,ปูป่า,กะปู | สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
ปูทูลกระหม่อมมีสามสี คือ สีม่วงเปลือกมังคุด สีเหลืองส้ม และสีขาว โดยขาเดินทั้ง 4 คู่ เป็นสีเหลืองส้ม ตรงปลายขาข้อสุดท้ายเป็นสีขาว ขนาดความกว้างของกระดอง 30 – 42.5 มม. กระดองเป็นสีม่วงเปลือกมังคุด ขอบเบ้าตาและขอบกระดองทั้งสองข้างเป็นสีเหลืองส้ม ก้ามหนีบสอง
ป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคามแห่งเดียว
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
70 | พืช | Thepparatia thailandica | Thepparatia thailandica Phuph. | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Malvales | Malvaceae | Thepparatia | เครือเทพรัตน์ | ชบาเถา | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาวได้ถึง 20 เมตร ดอกสีเหลืองอ่อนมีแถบสีแดง เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคเหนือที่จังหวัดตาก ใกล้ชายแดนไทย-พม่า ขึ้นตามหุบเขาที่ลาดชันใกล้ลำธาร ในป่าดิบแล้ง ระดับความสูงประมาณ 700 เมตร จากระดับน้ำทะเล
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
71 | สัตว์ | Trigona sirindhornae | Trigona sirindhornae Michener & Boongird, 2004 | Animalia | Arthropoda | Malacostraca | Decapoda | Palaemonidae | Trigona | ชันโรงสิรินธร | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
แมลงจำพวกผึ้งที่ไม่มีเหล็กใน มี ขนาดลำตัวยาวประมาณ ๓.๙๙ มิลลิเมตร ลำตัวสีแดง และมีแถบสีดำหรือปานบริเวณ ปล้องอก พบอาศัยทำรังในโพรงต้นไม้ขนาดใหญ่
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
72 | พืช | Tulipa ‘King Bhumibol’ | Tulipa ‘King Bhumibol’ | Plantae | Tracheophyta | Liliaceae | Tulipa | ทิวลิปคิงภูมิพล | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ไม้ล้มลุก มีความสูงของดอกและก้านรวมกัน 45 เซนติเมตร ใบยาวเรียวปลายแหลม ดอกสีเหลืองนวลทั้งดอก ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||||
73 | พืช | Wrightia sirikitiae | Wrightia sirikitiae D.J.Middleton & Santisuk | Plantae | Tracheophyta | Magnoliopsida | Gentianales | Apocynaceae | Wrightia | โมกราชินี (โมกสิริกิติ์) | สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 10 เมตร กิ่งอ่อนมีขนหนาแน่น กิ่งแก่เกลี้ยง มีช่องอากาศ ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 3-10 เซนติเมตร ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่จังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี และสระแก้ว
|
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
74 | พืช | Zingiber sirindhorniae | Zingiber sirindhorniae | Plantae | Zingiber | ไอยริศ | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ไม้ล้มลุกหลายฤดู รากสะสมอาหาร รูปทรงกระบอก เนื้อในสีเหลือง กลิ่นเช่นเดียวกับขิง ใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว แผ่นใบรูปขอบขนาน ดอกสีม่วง เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบตามเขาหินปูน จังหวัดเลย
|
|||||||
ลำดับ | ชนิดพันธุ์ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม | อาณาจักร | ไฟลัม | ชั้น | อันดับ | วงศ์ | สกุล | ชื่อสามัญ | ชื่อไทย | ชื่อท้องถิ่น | พระนามเทิดพระเกียรติ | สันฐานวิทยา | ที่มา |