ระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย (Thailand Biodiversity Information Facility หรือ TH-BIF)
เป็นระบบเครือข่ายที่รวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย ระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกัน
ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สผ.) ในฐานะหน่วยงานประสานงานกลาง ระดับประเทศของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ได้ดำเนินการพัฒนาระบบคลังข้อมูลฯ ขึ้นมา โดยมีศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่ปรึกษา มีเป้าหมายสำคัญในการทำหน้าที่
“ศูนย์กลางข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย” ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (พ.ศ. 2561 – 2565)
ที่กำหนดให้เชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่กระจัดกระจายตามหน่วยงาน
และสถาบันการศึกษาต่าง
ๆ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีการพัฒนาระบบและขยายเครือข่ายเพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแล้ว 3 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.
2561 – 2563
ปีที่ 1
พัฒนาระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
และสถาปัตยกรรมพื้นฐานในการจัดเก็บ แลกเปลี่ยน เข้าถึง
และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยมุ่งหมายให้เกิดเป็นแพลตฟอร์มที่หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพนำเข้า แลกเปลี่ยน
และใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันในลักษณะของ Single window โดยมีการแสดงผลข้อมูลพืช สัตว์ จุลินทรีย์
รวมถึงรายชื่อสิ่งมีชีวิตในพระนาม ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่น สถานภาพการคุกคามของสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย
(Thailand Red Data) ข้อมูลงานวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยมีการตรวจสอบข้อมูลอนุกรมวิธานกับฐานข้อมูลของ Global Biodiversity Information Facility (GBIF)
ปีที่ 2
พัฒนากระบวนการตรวจสอบข้อมูล โดยอาศัยกลไกการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญและ
นักอนุกรมวิธาน โดยมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจการจัดทำระบบคลังข้อมูลฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15
หน่วยงาน จาก 5 กระทรวง และ 1 องค์กรพัฒนาเอกชน และมีการเชื่อมโยงข้อมูลสถานภาพการคุกคามของโลก
ตามบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List)
และเชื่อมต่อข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพกับหน่วยงานรวม 7 หน่วยงาน ได้แก่ 1) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช 2) กรมป่าไม้ 3) องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 4)
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5) กรมประมง 6) มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ 7)
สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
ปีที่ 3
พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบและการแสดงผลข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์
จุลินทรีย์ รวมถึงทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ผู้เชี่ยวชาญ สถานภาพการคุกคาม สถานภาพการคุ้มครองตามกฎหมาย
พิกัดธนาคารพันธุกรรมและพิพิธภัณฑ์ ภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์ด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ
กฎหมายและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยให้บริการเชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบ open API ให้กับหน่วยงานที่สนใจ
และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกับหน่วยงานในระดับท้องถิ่น
โดยศึกษาและพัฒนาต้นแบบระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยให้รองรับข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงพื้นที่
และพัฒนาแพลตฟอร์มของผู้เชี่ยวชาญออนไลน์ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในระบบ
โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจในการจัดทำระบบคลังข้อมูลฯ เพิ่มเติมอีก 1 หน่วยงาน ได้แก่
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และมีการเชื่อมต่อข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพกับหน่วยงานเพิ่มเติม 5 หน่วยงาน
ได้แก่ 1) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) 2) กรมทรัพย์สินทางปัญญา 3) องค์การสวนพฤกษศาสตร์
4) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และ 5) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 4
พัฒนาโครงสร้างของอนุกรมวิธานเพื่อการอ้างอิง สำหรับใช้เป็นฐานข้อมูลการอ้างอิง
และช่วยในกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้ตอบสนองการให้บริการที่เข้าถึงง่าย
รองรับการใช้งานระบบภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่ ระบบนิเวศ การแสดงผลข้อมูล การพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
รวมทั้งนำเข้า/ปรับปรุงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว เช่น
ข้อมูลขอบเขตและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ (Ramsar site) จำนวน 15 แห่ง
และได้ดำเนินการในการขยายการเชื่อมต่อข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม จำนวน 5
หน่วยงาน ได้แก่ 1) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) กรมวิชาการเกษตร 3)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4)
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 5) องค์การสวนพฤกษศาสตร์
การใช้ประโยชน์ข้อมูล TH-BIF ในระดับต่างๆ
ผู้บริหาร
สามารถจัดทำนโยบายและแผนการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ สำหรับ
นักอนุรักษ์ และผู้ดูแลกฎหมาย มีข้อมูลเพื่อพิทักษ์ ปกป้อง
คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืน เกษตรกร
มีข้อมูลที่สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตรสำหรับ นักวิจัย
สามารถติดตามข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาต่อยอดงานวิจัยในอนาคต ผู้ประกอบการ
มีข้อมูลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพได้ ชุมชน
มีเครื่องมือที่ดี ในการจัดเก็บ ดูแลปกปักรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้
เพื่อสร้างเศรษฐกิจและรายได้
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากการใช้งานระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยที่เป็นฐาน
ข้อมูลขนาดใหญ่ สำหรับการวางแผน การตัดสินใจในระดับนโยบายทั้งเชิงเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อม
ฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัย ลดภัยคุกคามและจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น แบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม
บริหารจัดการอย่างยั่งยืน ปกป้องทรัพย์สินของประเทศในเชิงทรัพย์สินทางปัญญา
การบูรณาการข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการวางแผนและอนุรักษ์พืชป่า
สัตว์ป่า
เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานภาพการคุกคาม เพื่อการฟื้นฟูสู่สมดุล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้
เพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
นวัตกรรมบริการเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อจัดการความเสี่ยง
การเผ้าระวังและแจ้งเตือน การให้บริการข้อมูลเชิงแผนที่เพื่อบริหารจัดการ
การจำแนกสิ่งมีชีวิตด้วยสันฐานวิทยาและรูปภาพ การให้บริการกฎหมายน่ารู้และหาโจทย์เพื่อวิจัยพัฒนา
การให้บริการความรู้แบบเชื่อมโยงชุมชน