Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Mitrephora sirikitiae
Mitrephora sirikitiae
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Mitrephora sirikitiae
Weeras., Chalermglin & R.M.K.Saunders
Status:
ACCEPTED
ชื่อไทย::
-
มหาพรหมราชินี
ชื่อท้องถิ่น::
-
-
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Magnoliales
วงศ์::
Annonaceae
สกุล:
Mitrephora
ที่มา :
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปรับปรุงล่าสุด :
1 มี.ค. 2567
ที่มา :
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปรับปรุงล่าสุด :
7 ต.ค. 2562
วันที่อัพเดท :
28 พ.ย. 2561 00:00 น.
วันที่สร้าง:
28 พ.ย. 2561 00:00 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-6 เมตร ใบเรียงเวียน รูปใบหอก ยาว 6-22 เซนติเมตร ดอกสีขาว กลีบดอกวงในสีม่วงอมแดง เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-6 เมตร ใบเรียงเวียน รูปใบหอก ยาว 6-22 เซนติเมตร ดอกสีขาว กลีบดอกวงในสีม่วงอมแดง เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
-
ลักษณะของต้นมหาพรหมราชินี เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูง 4-6 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนอ่อนคลุมอยู่ ใบมีรูปหอก กว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 11-19 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบ เรียบเป็นมันทั้ง 2 ด้าน โคนใบและปลายใบแหลม มีเส้นใบแขนงใบจำนวน 8-11 คู่ ดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอก ออกที่ใกล้ปลายยอด เป็นพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้อื่นๆ ในสกุลมหาพรหมเดียวกัน คือ เมื่อบานเต็มที่มีดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1.8-2.7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ รูปไข่กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ๆละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกเป็นรูปไข่ กว้าง 4.1-5.3 เซนติเมตร โคนกลีบบาน ปลายกลีบเรียวแหลมกลีบบางสีขาวมีลายเส้นเรียงตามความยาวของใบ กลีบดอกชั้นในกว้าง 3.6-4.1 เซนติเมตร ยาว 3.7-4.3 เซนติเมตร โคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า แต่ละดอกบานอยู่ได้ 3-5 วัน กลิ่นหอมอ่อนๆ มีฤดูดอกบานเต็มต้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ส่วนผล เป็นผลกลุ่มมีผลย่อย 10-15 ผล รูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2-2.4 เซนติเมตร ยาว 5.5-8 เซนติเมตร มีขนอ่อนปกคลุมหนาแน่นมี ซึ่งจะมีผลแก่ในช่วงเดือนตุลาคม
-
ลักษณะของต้นมหาพรหมราชินี เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูง 4-6 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนอ่อนคลุมอยู่ ใบมีรูปหอก กว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 11-19 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบ เรียบเป็นมันทั้ง 2 ด้าน โคนใบและปลายใบแหลม มีเส้นใบแขนงใบจำนวน 8-11 คู่ ดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอก ออกที่ใกล้ปลายยอด เป็นพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้อื่นๆ ในสกุลมหาพรหมเดียวกัน คือ เมื่อบานเต็มที่มีดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1.8-2.7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ รูปไข่กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ๆละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกเป็นรูปไข่ กว้าง 4.1-5.3 เซนติเมตร โคนกลีบบาน ปลายกลีบเรียวแหลมกลีบบางสีขาวมีลายเส้นเรียงตามความยาวของใบ กลีบดอกชั้นในกว้าง 3.6-4.1 เซนติเมตร ยาว 3.7-4.3 เซนติเมตร โคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า แต่ละดอกบานอยู่ได้ 3-5 วัน กลิ่นหอมอ่อนๆ มีฤดูดอกบานเต็มต้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ส่วนผล เป็นผลกลุ่มมีผลย่อย 10-15 ผล รูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2-2.4 เซนติเมตร ยาว 5.5-8 เซนติเมตร มีขนอ่อนปกคลุมหนาแน่นมี ซึ่งจะมีผลแก่ในช่วงเดือนตุลาคม
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-6 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ใบเรียงเวียน รูปใบหอก ยาว 6-22 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนแหลมหรือมน แผ่นใบหนา ด้านล่างเป็นมันวาว มีขนกระจาย เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ๆ ออกตามซอกใบหรื
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-6 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนอ่อนคลุมอยู่ ใบรูปหอก กว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 11-19 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบและปลายใบแหลม มีเส้นแขนงใบจำนวน 8-11 คู่ ส่วนดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอก ใกล้ปลายยอดเป็นพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้ ชนิดอื่นๆ ในสกุลมหาพรหม โคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า แต่ละดอดบานอยู่ได้ 3-5 วัน กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 10-15 ผล รูปทรงกระบอก
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-6 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนอ่อนคลุมอยู่ ใบรูปหอก กว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 11-19 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบและปลายใบแหลม มีเส้นแขนงใบจำนวน 8-11 คู่ ส่วนดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอก ใกล้ปลายยอดเป็นพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้ ชนิดอื่นๆ ในสกุลมหาพรหม โคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า แต่ละดอดบานอยู่ได้ 3-5 วัน กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 10-15 ผล รูปทรงกระบอก
-
ไม้ต้น สูง 6 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ใบรูปใบหอก ยาว 6–22 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนแหลมหรือมน แผ่นใบด้านล่างเป็นมันวาว มีขนกระจาย เส้นแขนงใบข้างละ 8–11 เส้น ก้านใบยาว 0.5–1 ซม. ช่อดอกมีขนกำมะหยี่ มี 1–3 ดอก ก้านดอกยาว 1.8–2.7 ซม. ใบประดับรูปไข่ ยาว 5–7 มม. กลีบรูปไข่กว้าง ยาว 1.3–1.5 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น กลีบดอกวงนอกสีขาว รูปไข่กว้าง ยาว 4–5.5 ซม. วงในสีชมพูอมม่วง รูปไข่ สั้นกว่าวงนอกเล็กน้อย โคนรูปเงี่ยงลูกศร ผลย่อยมี 10–15 ผล รูปขอบขนาน ยาว 5–6 ซม. มีขนละเอียด ก้านยาว 1.5–2.5 ซม.
การกระจายพันธุ์ :
-
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แคบๆ ของยอดเขาสูงชันที่ระดับความสูง 1,100 เมตร ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (endemic) เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งยังเป็นพรรณไม้หายาก เนื่องจากมีจำนวนต้นในสภาพถิ่นกำเนิดน้อยมาก และมีการกระจายพันธุ์ต่ำ
-
Mae Hong Son Province, near Huai Hi village, 250km NW of Chiang Mai
-
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แคบๆ ของยอดเขาสูงชันที่ระดับความสูง 1,100 เมตร ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (endemic) เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งยังเป็นพรรณไม้หายาก เนื่องจากมีจำนวนต้นในสภาพถิ่นกำเนิดน้อยมาก และมีการกระจายพันธุ์ต่ำ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
แม่ฮ่องสอน
-
เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์
-
ประจวบคีรีขันธ์
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน
-
อุทยานแห่งชาติ เขาสามร้อยยอด
ข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
1
PRJEB49293
787878
2
PRJNA508895
508895
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
ที่มาของข้อมูล
ONEP Biodiversity Series Vol. 17 : Thailand Red Data : Plants (2006)
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หนังสือพรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Pinanga subintegra
Bulbophyllum minutius
Meteoriopsis ancistrodes
Dendrobium monticola
เหง้าน้ำทิพย์
Agapetes saxicola
Eugenia megacarpa
Previous
Next