Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Gentiana hesseliana
Gentiana hesseliana
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Gentiana hesseliana
Hosseus
Status:
ACCEPTED
ชื่อไทย::
-
ดอกหรีดลักษณา (ดอกหรีดกอ, ลักษณา)
-
ดอกหรีด
-
ดอกหรีดกอ
ชื่อท้องถิ่น::
-
-
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Gentianales
วงศ์::
Gentianaceae
สกุล:
Gentiana
ที่มา :
ปรับปรุงล่าสุด :
18 เม.ย. 2566
วันที่อัพเดท :
11 ต.ค. 2561 00:00 น.
วันที่สร้าง:
11 ต.ค. 2561 00:00 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
"พืชล้มลุก ลำต้นแตกกอ ตั้งตรงหรือทอดเลื้อย สูง 4-20 ซม. ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายลำต้น ใบที่โคนต้นรูปไข่ ยาว 2-6 ซม. ขอบใบค่อนขางเรียบ บางใส ปลายใบแหลม โคนใบที่ตรงข้ามกันเรียวเชื่อมติกกันคล้ายหลอดกาบสั้นๆ ใบที่ปลายรูปรี ยาว 1-1.5 ซม. ดอกออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายลำต้น ดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดใส ยาว 0.4-0.8 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปใบหอกแคบ ยาว 0.4-1 ซม. ขอบบาง ปลายแหลม กลีบดอกสีม่วงอ่อนอมน้ำเงิน รูปแตร หลอดกลีบยาวประมาณ 1.3 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยมยาวประมาณ 0.2 ซม. พับจีบหระหว่างกลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดภายในหลอดกลีบ ก้านชูอับเรณูรูปเส้นด้าย โคนแบน รังไข่มี 1 ช่อง ยาว 3-5 มม. ที่โคนมีต่อม อับเรณูยาวประมาณ 3 มม. ก้านเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรแยก 2 พู ผลแห้งแตก รูปไข่กลับ แบน ยาว 0.6-1.1 ซม. รวมปีกที่ปลายผล ก้านผลยาวประมาณ 3 มม. เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก
ดอกหรีดเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ภูกระดึงและภูหลวง จังหวัดเลย ขึ้นตามทุ่งหญ้าในป่าสน ความสูง 1,200-1,500 เมตร แยกเป็น var. lakshanakarae มีลำต้นไม่ชัดเจนเมื่อเป็นต้นเดี่ยว และชัดเจนเมื่อแตกกิ่ง"
-
"พืชล้มลุก ลำต้นแตกกอ ตั้งตรงหรือทอดเลื้อย สูง 4-20 ซม. ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายลำต้น ใบที่โคนต้นรูปไข่ ยาว 2-6 ซม. ขอบใบค่อนขางเรียบ บางใส ปลายใบแหลม โคนใบที่ตรงข้ามกันเรียวเชื่อมติกกันคล้ายหลอดกาบสั้นๆ ใบที่ปลายรูปรี ยาว 1-1.5 ซม. ดอกออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายลำต้น ดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดใส ยาว 0.4-0.8 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปใบหอกแคบ ยาว 0.4-1 ซม. ขอบบาง ปลายแหลม กลีบดอกสีม่วงอ่อนอมน้ำเงิน รูปแตร หลอดกลีบยาวประมาณ 1.3 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยมยาวประมาณ 0.2 ซม. พับจีบหระหว่างกลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดภายในหลอดกลีบ ก้านชูอับเรณูรูปเส้นด้าย โคนแบน รังไข่มี 1 ช่อง ยาว 3-5 มม. ที่โคนมีต่อม อับเรณูยาวประมาณ 3 มม. ก้านเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรแยก 2 พู ผลแห้งแตก รูปไข่กลับ แบน ยาว 0.6-1.1 ซม. รวมปีกที่ปลายผล ก้านผลยาวประมาณ 3 มม. เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก
ดอกหรีดเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ภูกระดึงและภูหลวง จังหวัดเลย ขึ้นตามทุ่งหญ้าในป่าสน ความสูง 1,200-1,500 เมตร แยกเป็น var. lakshanakarae มีลำต้นไม่ชัดเจนเมื่อเป็นต้นเดี่ยว และชัดเจนเมื่อแตกกิ่ง"
-
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ล้มลุก สูง 5-15 ซม. ใบ เดี่ยว ออกตรงข้ามเรียงเวียน กันแน่นใกล้โคนต้น รูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2-6 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงแกมฟ้า ออกเป็นกระจุก บริเวณปลายยอด มี 1-16 ดอก กลีบรองดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 4-9 มม. กลีบดอกเป็นถ้วยตื้น ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรผู้ 5 อัน ก้านชูเกสรเมียสั้นมาก ผล เป็นผลแห้ง รูปไข่กลับ ขนาด 5-10 มม.
การกระจายพันธุ์ :
-
เป็นพืชเฉพาะถิ่นของ ประเทศไทย พบขึ้นตามพื้นป่าสนที่เปิดโล่ง ระดับความสูงจากระดับ น้ำทะเล 1,200 เมตร
-
NE Thailand: Loei, Sakon Nakhon
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
Endemic
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
Lower montane pine forest, 1300 m.
ที่มาของข้อมูล
ONEP Biodiversity Series Vol. 17 : Thailand Red Data : Plants (2006)
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หนังสือพรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Vittaria elongata
Cycas elephantipes
หญ้าดอกลาย
Swertia angustifolia
Peristylus maingayi
Phacelurus cambogiensis
แพ้พาน
Cipadessa baccifera