ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ต้น สูง 8-30 เมตร เรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้น เปลาตรง บางครั้งมีพูพอน เปลือกขรุขระสีน้ำตาลเทา เปลือกในสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแกมชมพู ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงวนสลับห่าง ๆ ประกอบด้วยใบย่อย 1–3 คู่ แผ่นใบย่อยไม่สมมาตร รูปร่างผันแปรสูง โคนใบแหลมเยื้อง ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลมสั้น ๆ เนื้อใบคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำ ด้านล่างสีซีดกว่า ใบอ่อนสีชมพู ดอก แบบช่อเชิงลดมีก้าน ออกตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบ ช่อดอกสั้น ตั้งตรง มีขนสั้นประปราย ดอกย่อยสีขาวคล้ายดอกของแตดลิง เกลี้ยงถึงมีขนสั้นปกคลุม กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปใบหอก ปลายกลีบเหยียดตรงเมื่อบาน ผล แบบฝักถั่ว (ฝักมีจะงอย) รูปทรงไข่แกมรูปทรงรี สีน้ำตาลอมเขียว ผิวแข็งขรุขระ ขอบเป็นคลื่นหรือมีรอยย่นเล็กน้อย ปลายฝักเป็นจะงอยแหลม ฝักแห้งไม่แตก เมล็ดรูปทรงกลมมีสีน้ำตาลแดง มี 1 เมล็ด
- ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 8-30 ม. เรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเปลาตรง บางครั้งมีพูพอน เปลือกขรุขระสีน้ำตาลเทา เปลือกชั้นในสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแกมชมพู
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับห่างๆ ประกอบด้วยใบย่อย 1-3 คู่ แผ่นใบย่อย ไม่สมมาตร รูปร่างผันแปรสูง เช่น รูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด รูปรี รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ใบย่อยคู่ล่างเล็กกว่าใบย่อยคู่บน ใบย่อยคู่ล่างมีขนาด 1-3x2-6 ซม. ใบย่อยคู่บนมีขนาด 2-7x3-15 ซม. โคนใบแหลมเยื้อง ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลมสั้นๆ เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยกตัว เส้นแขนง 8-10 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เนื้อใบบางคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้าบนสีเขียวเข้มคล้ำ ด้านล่างสีซีดกว่า ใบอ่อนสีชมพู ก้านใบย่อยสั้นถึงไม่มี ก้านช่อใบยาว 1.5-5 ซม. แกนกลางใบยาว 1.5-7 ซม.
ดอก แบบช่อเชิงลดมีก้าน ออกตามง่ามใบหรือเหนือยรอยแผลใบ ช่อดอกสั้น ตั้งตรง ยาว 1.5-2.5 ซม. มีขนสั้นประปราย ดอกย่อยสีขาวคล้ายดอกแตดลิง ก้านดอกย่อยยาว 0.7-1.5 ซม. เกลี้ยงถึงมีขนสั้นนุ่มปกคลุม กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปใบหอก ขนาดไม่เท่ากัน ยาว 0.3-0.4 ซม. ปลายกลีบเหยียดตรง เมื่อบาน กลีบดอก 5 กลีบ รูปใบหอกแคบ ยาว 0.5-0.8 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมียสั้นและมีขนปกคลุมหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียตั้งตรงเป็นแนวเดียวกับรังไข่ ออกดอกระหว่างเดือน ธันวาคม-เมษายน
ผล แบบฝักถั่ว (ฝักมีจะงอย) รูปทรงไข่แกมรูปทรงรี สีน้ำตาลอมเขียว ขนาด 1.5-4x2-5 ซม. ผิวแข็ง ขรุขระ ขอบเป็นคลื่นหรือมีรอยย่นเล็กน้อย ปลายฝักมีจะงอยแหลม ฝักแห้งไม่แตก เมล็ดรูปทรงกลม สีน้ำตาลแดง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ออกฝักระหว่างเดือน พฤษภาคม-กันยายน
- ไม้ต้น สูง 8-30 เมตร เรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกว้าง
ลำต้น : เปลาตรง บางครั้งมีพูพอน เปลือกขรุขระสีน้ำตาลเทา เปลือกในสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแกมชมพู
ใบ : ประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงวนสลับห่าง ๆ ประกอบด้วยใบย่อย 1–3 คู่ แผ่นใบย่อยไม่สมมาตร รูปร่างผันแปรสูง โคนใบแหลมเยื้อง ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลมสั้น ๆ เนื้อใบคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำ ด้านล่างสีซีดกว่า ใบอ่อนสีชมพู
ดอก : แบบช่อเชิงลดมีก้าน ออกตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบ ช่อดอกสั้น ตั้งตรง มีขนสั้นประปราย ดอกย่อยสีขาวคล้ายดอกของแตดลิง เกลี้ยงถึงมีขนสั้นปกคลุม กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปใบหอก ปลายกลีบเหยียดตรงเมื่อบาน
ผล : แบบฝักถั่ว (ฝักมีจะงอย) รูปทรงไข่แกมรูปทรงรี สีน้ำตาลอมเขียว ผิวแข็งขรุขระ ขอบเป็นคลื่นหรือมีรอยย่นเล็กน้อย ปลายฝักเป็นจะงอยแหลม ฝักแห้งไม่แตก เมล็ดรูปทรงกลมมีสีน้ำตาลแดง มี 1 เมล็ด
ระบบนิเวศ :
- พบขึ้นตามชายป่าโกงกางหรือป่าดิบชื้น และที่ระดับความสูงไม่เกิน 400 เมตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- สมุทรปราการ
- สมุทรปราการ
- นครศรีธรรมราช
- กระบี่, สุราษฎร์ธานี
- กระบี่, สุราษฎร์ธานี
- กระบี่, สุราษฎร์ธานี
- ชุมพร, ระนอง
- พังงา
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- บางกระเจ้า
- พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง–ปากน้ำตรัง
- พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กะทูน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองพระยา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองพระยา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองพระยา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ควนแม่ยายหม่อน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โตนปริวรรต
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้ต้น (Tree)
- - มะคะ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 8- 30 เมตร เรือยอดเป็นพุ่มกว้า งลำต้นเปลาตรง บางครั้ง มีพูพอน เปลือกสีน้ำตาลเทาขรุขระ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล ถึงสีน้ำตาลแกมชมพู
- ใบ : เป็นใบประกอยแบบขนนกชั้นเดี่ยว เรียงสลับ มีใบย่อย 1-2 คู่ แผ่นใบมีรูปร่างแตกต่างกันมาก รูปคล้าย สี่เหลี่ยมคล้ายข้าวหลามตัด รูปขอบขนาน รูปรี รูปใบหอก ใบย่อยรูปล่างเล็กกว่า ใบย่อยคู่ปลาย มีขนาด 11.5-7 x 3-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม สั้น ฐานใบ แหลมเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบเกลี้ยงทั้ง สองด้าน สีเขียวเข้ม ใบอ่อนสีชมพู ก้าน ใบยาว 1.56-5 ซม. แกนกลางยาว 1.5-7 ซม. มีขนสั้นนุ่มถึงเกลี้ยง เส้นใบบาง เห็นเด่นชัด ทั้งสองด้าน มี 6-8 คู่
- ดอก : เป็นช่อกระจะเล็ก ออกตามง่ามใบ ช่อดอกตั้งตรง ก้านช่อดอกยาว 0.7-1.5 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สั้นมากปลายตรงกลีบดอกรูปใบหอกแคบๆ ยาว 0.5-0.8 ซม. สีขาว ออกดอกเดือน ธันวาคม-เมษายน
- ผล : เป็นฝัก เต่ง รูปไข่ถึงรี ขนาด 1.5-4 x 2-5 ซม. ผิวสีน้ำตาล ขรุขระ ขอบเป็นคลื่น หรือมีรอยย่นเล็กน้อย ปลายผลมีจะงอย ออกผล เดือน พฤษภาคม-กันยายน
- - มะคะ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 8- 30 เมตร เรือยอดเป็นพุ่มกว้า งลำต้นเปลาตรง บางครั้ง มีพูพอน เปลือกสีน้ำตาลเทาขรุขระ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล ถึงสีน้ำตาลแกมชมพู
- ใบ : เป็นใบประกอยแบบขนนกชั้นเดี่ยว เรียงสลับ มีใบย่อย 1-2 คู่ แผ่นใบมีรูปร่างแตกต่างกันมาก รูปคล้าย สี่เหลี่ยมคล้ายข้าวหลามตัด รูปขอบขนาน รูปรี รูปใบหอก ใบย่อยรูปล่างเล็กกว่า ใบย่อยคู่ปลาย มีขนาด 11.5-7 x 3-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม สั้น ฐานใบ แหลมเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบเกลี้ยงทั้ง สองด้าน สีเขียวเข้ม ใบอ่อนสีชมพู ก้าน ใบยาว 1.56-5 ซม. แกนกลางยาว 1.5-7 ซม. มีขนสั้นนุ่มถึงเกลี้ยง เส้นใบบาง เห็นเด่นชัด ทั้งสองด้าน มี 6-8 คู่
- ดอก : เป็นช่อกระจะเล็ก ออกตามง่ามใบ ช่อดอกตั้งตรง ก้านช่อดอกยาว 0.7-1.5 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สั้นมากปลายตรงกลีบดอกรูปใบหอกแคบๆ ยาว 0.5-0.8 ซม. สีขาว ออกดอกเดือน ธันวาคม-เมษายน
- ผล : เป็นฝัก เต่ง รูปไข่ถึงรี ขนาด 1.5-4 x 2-5 ซม. ผิวสีน้ำตาล ขรุขระ ขอบเป็นคลื่น หรือมีรอยย่นเล็กน้อย ปลายผลมีจะงอย ออกผล เดือน พฤษภาคม-กันยายน
การกระจายพันธุ์ :
- ประเทศศรีลังกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- ใบ เปลือกและราก
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- เปลือกและราก : มีสรรพคุณเป็นยาระบาย ใบ : ต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสตามผิวหนัง
ที่มาของข้อมูล