ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ มีความสูงถึง 15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างจนแบนหรือรูปทรงกลม มีรากอากาศแผ่โดยรอบบริเวณโคนลำต้น เปลือกค่อนข้างเรียบ ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทางกัน ลักษณะใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปไข่ ท้องใบเป็นคราบขาวหรือสีเขียวอ่อน ปลายใบตัดหยักเว้าเข้าหรือมนกว้าง โคนใบสอบแคบไปสู่ก้านใบ ดอก สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ผล รูปกลมค่อนข้างแบน แข็ง ภายในมีเมล็ดมาก
-
เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 6-15 ม. แตกกิ่งต่ำ กิ่งแขนงมนกลม เปราะ มีข้ออวบอ้วน เปลือกเรียบถึงแตกร่อนเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลอมชมพูหรือสีเทา รากหายใจตั้งตรง รูปกรวยคว่ำ สูง 20-40 ซม. โคนรากอวบหนา เรียวแหลมไปทางปลายมักแตกล่อนเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลอมชมพู
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปไข่กลับ รูปไข่แกมรูปรี ขนาด 3-7x4-10 ซม. โคนใบสอบแหลมถึงเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบเว้าตื้นถึงกลม ขอบปลายใบมักแห้ง เส้นใบแบบร่างแหขนนก เห็นไม่ชัด เนื้อใบอวบน้ำ ค่อนข้างบาง ผิวใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างเป็นฝ้านวล ก้านใบอวบ ยาว 0.5-1 ซม.
ดอก เดี่ยว หรือแบบช่อกระจุกสองด้าน ออกตามปลายกิ่ดอกตูมรูปทรงขอบขนานแกมรูปรี ปลายและโคนสอบ ยาว 2.5-3.5 ซม. สีเขียวอ่อนอมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น มีสันตามยาวและผายออกเป็นรูประฆัง ปลายแยกออกเป็น 6-8 แฉก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ แฉกกลีบมักสั้นกว่าหลอดกลีบเลี้ยง ด้านนอกสีเขียวอ่อน โคนกลีบด้านในสีแดงเรื่อ กลีบดอกรูปแถบ สีขาวหรือส่วนปลายมีสีชมพูเรื่อ ขนาด 0.1-0.2x1.2-4 ซม. ติดอยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง หลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรสีขาว เรียวยาวคล้ายเส้นด้าย ยาว 3-4 ซม. ก้านเกสรเพศเมียสีเขียวอ่อน ยาวเป็น 2 เท่าของเกสรเพศผู้ ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม ออกดอกระหว่างเดือน มิถุนายน-ธันวาคม
ผล แบบผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปทรงแป้นคล้ายตลับ ปลายผลมีติ่งแหลม เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 4-6x3-4 ซม. ผิวเรียบสีเขียว ตั้งบนหลอดกลีบเลี้ยงรูประฆังกว้าง แฉกกลีบเลี้ยงแผ่บานออก แล้วโค้งกลับ ผลสุกมีเนื้อนิ่ม มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมากฝังอยู่ในเนื้อผล ออกผลระหว่างเดือน มกราคม-กรกฎาคม
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปไข่กลับ รูปไข่แกมรูปรี ขนาด 3-7x4-10 ซม. โคนใบสอบแหลมถึงเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบเว้าตื้นถึงกลม ขอบปลายใบมักแห้ง เส้นใบแบบร่างแหขนนก เห็นไม่ชัด เนื้อใบอวบน้ำ ค่อนข้างบาง ผิวใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างเป็นฝ้านวล ก้านใบอวบ ยาว 0.5-1 ซม.
ดอก เดี่ยว หรือแบบช่อกระจุกสองด้าน ออกตามปลายกิ่ดอกตูมรูปทรงขอบขนานแกมรูปรี ปลายและโคนสอบ ยาว 2.5-3.5 ซม. สีเขียวอ่อนอมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น มีสันตามยาวและผายออกเป็นรูประฆัง ปลายแยกออกเป็น 6-8 แฉก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ แฉกกลีบมักสั้นกว่าหลอดกลีบเลี้ยง ด้านนอกสีเขียวอ่อน โคนกลีบด้านในสีแดงเรื่อ กลีบดอกรูปแถบ สีขาวหรือส่วนปลายมีสีชมพูเรื่อ ขนาด 0.1-0.2x1.2-4 ซม. ติดอยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง หลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรสีขาว เรียวยาวคล้ายเส้นด้าย ยาว 3-4 ซม. ก้านเกสรเพศเมียสีเขียวอ่อน ยาวเป็น 2 เท่าของเกสรเพศผู้ ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม ออกดอกระหว่างเดือน มิถุนายน-ธันวาคม
ผล แบบผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปทรงแป้นคล้ายตลับ ปลายผลมีติ่งแหลม เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 4-6x3-4 ซม. ผิวเรียบสีเขียว ตั้งบนหลอดกลีบเลี้ยงรูประฆังกว้าง แฉกกลีบเลี้ยงแผ่บานออก แล้วโค้งกลับ ผลสุกมีเนื้อนิ่ม มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมากฝังอยู่ในเนื้อผล ออกผลระหว่างเดือน มกราคม-กรกฎาคม
-
ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ มีความสูงถึง 15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างจนแบนหรือรูปทรงกลม มีรากอากาศแผ่โดยรอบบริเวณโคนลำต้น เปลือกค่อนข้างเรียบ
ใบ : เดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทางกัน ลักษณะใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปไข่ ท้องใบเป็นคราบขาวหรือสีเขียวอ่อน ปลายใบตัดหยักเว้าเข้าหรือมนกว้าง โคนใบสอบแคบไปสู่ก้านใบ
ดอก : สีขาว ออกตามปลายกิ่ง
ผล : รูปกลมค่อนข้างแบน แข็ง ภายในมีเมล็ดมาก
ใบ : เดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทางกัน ลักษณะใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปไข่ ท้องใบเป็นคราบขาวหรือสีเขียวอ่อน ปลายใบตัดหยักเว้าเข้าหรือมนกว้าง โคนใบสอบแคบไปสู่ก้านใบ
ดอก : สีขาว ออกตามปลายกิ่ง
ผล : รูปกลมค่อนข้างแบน แข็ง ภายในมีเมล็ดมาก
ระบบนิเวศ :
-
พบตามริมฝั่งแม่น้ำที่น้ำทะเลท่วมถึง หรือแนวหลังป่าชายเลนที่น้ำมีความเค็มน้อยและเลนค่อนข้างเหนียว
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สมุทรปราการ
-
พังงา
-
สมุทรปราการ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
บางกระเจ้า
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
ป่าชายเลนคุระบุรี, คลองคุระบุรี
-
พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก (Small tree)
-
- ลำพูทะเลท: เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 6-15 เมตร ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งในระดับต่ำ เปลือกสีน้ำตาลอมชมพู หรือสีเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย รากหายใจตั้งตรง รูปกรวยคว่ำ ยาว 20-40 ซม.เหนือผิวดิน โคนรากหนา เรียวแหลมไปทางปลาย มักเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลอมชมพู
- ใบ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 6-15 เมตร ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งในระดับต่ำ เปลือกสีน้ำตาลอมชมพู หรือสีเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย รากหายใจตั้งตรง รูปกรวยคว่ำ ยาว 20-40 ซม.เหนือผิวดิน โคนรากหนา เรียวแหลมไปทางปลาย มักเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลอมชมพู
- ดอก : ออกเดี่ยวๆหรือเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่งวงกลีบเลี้ยงเมื่อยังเป็นตาดอก รูปขอบขนานแกมรูปรีปลายและโคนแคบ ยาว 2.8-3.5 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงรูปกรวยจากโคนที่เชื่อมติดกัน มีสันชัดเจน แฉกกลีบเลี้ยงหยักลึก 6-8 แฉก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ แฉกมักสั้นกว่าหลอด ผิวด้านนอกสีเขียวอ่อน โคนกลีบด้านในสีแดง กลีบดอกรูปแถบก้านชูอับเรณูสีขาว ออกดอกเดือนมิถุนายน – ธันวาคม
- ผล : เป็นผลมีเนื้อ และมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ดฝังอยู่ในเนื้อผล ผลแข็ง รูปกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ขนาด 4-5 x 3-4 ซม. สีเขียว กลีบเลี้ยงแผ่บานออก และโค้งกลับ ออกผลเดือนมกราคม – กรกฎาคม เป็นพันธุ์ไม้เบิกนำชนิดหนึ่งของป่าชายเลนขึ้นได้ดีที่ชายฝั่งทะเลที่น้ำท่วมถึงทุกวัน น้ำค่อนข้างเค็มและดินเป็นดินปนทราย ค่อนข้างลึก
- ใบ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 6-15 เมตร ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งในระดับต่ำ เปลือกสีน้ำตาลอมชมพู หรือสีเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย รากหายใจตั้งตรง รูปกรวยคว่ำ ยาว 20-40 ซม.เหนือผิวดิน โคนรากหนา เรียวแหลมไปทางปลาย มักเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลอมชมพู
- ดอก : ออกเดี่ยวๆหรือเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่งวงกลีบเลี้ยงเมื่อยังเป็นตาดอก รูปขอบขนานแกมรูปรีปลายและโคนแคบ ยาว 2.8-3.5 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงรูปกรวยจากโคนที่เชื่อมติดกัน มีสันชัดเจน แฉกกลีบเลี้ยงหยักลึก 6-8 แฉก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ แฉกมักสั้นกว่าหลอด ผิวด้านนอกสีเขียวอ่อน โคนกลีบด้านในสีแดง กลีบดอกรูปแถบก้านชูอับเรณูสีขาว ออกดอกเดือนมิถุนายน – ธันวาคม
- ผล : เป็นผลมีเนื้อ และมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ดฝังอยู่ในเนื้อผล ผลแข็ง รูปกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ขนาด 4-5 x 3-4 ซม. สีเขียว กลีบเลี้ยงแผ่บานออก และโค้งกลับ ออกผลเดือนมกราคม – กรกฎาคม เป็นพันธุ์ไม้เบิกนำชนิดหนึ่งของป่าชายเลนขึ้นได้ดีที่ชายฝั่งทะเลที่น้ำท่วมถึงทุกวัน น้ำค่อนข้างเค็มและดินเป็นดินปนทราย ค่อนข้างลึก
การกระจายพันธุ์ :
-
แอฟริกาตะวันออก มาดากัสการ์ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะริวกิว ตลอดถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย ไมโครนีเซีย หมู่เกาะโซโลมอน นิวเฮบริเดส และนิวคาเลโดเนีย
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
-
ราก ผล
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
-
สมุนไพร
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
ราก : แก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล สมานแผล
ผล : กล่อมเสมหะอาจม แก้ท้องร่วง
ที่มาของข้อมูล
-
กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 3 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
-
ไม้ต้นที่มีสรรพคุณทางสมุนไพร และควรนำมาขยายพันธุ์เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะเจ้าสู่ความยั่งยืน, กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2562
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง