ข้อมูลเฉพาะพื้นที่
พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
ชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง พบพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทั้งหมด 52 ชนิด ชนิดพันธุ์ที่พบมากที่สุดอยู่ในวงศ์ Rhizophoraceae ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก พังกาหัวสุม โปรง ถั่ว แสม ตะบูน ฝาด ลำแพน และพบพันธุ์ไม้ที่จัดอยู่ในสภาพที่ต้องเฝ้าระวังหรือมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ตามบัญชีเพื่อการอนุรักษ์ของ IUCN Red List (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2563) จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ พังกา-ถั่วขาว (Bruguiera hainesii) หงอนไก่ใบเล็ก (Heritiera fomes) น้ำนอง (Brownlowia tersa) เป้ง (Phoenix paludosa) ลำแพน (Sonneratia ovata) และโปรงขาว (Ceriops decandra)
เกร็ดความรู้ : พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย มีทั้งหมด 81 ชนิด (สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน, 2555)
สัตว์ในป่าชายเลน
สัตว์ในป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลที่พบจำนวนมาก ได้แก่ ลิงแสม กระรอกตะกวด งูชนิดต่างๆ นกกินปลา นกกาน้ำ เหยี่ยวแดง ซึ่งจากการสำรวจความหลากหลายของสัตว์ในป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง โดยสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และศูนย์วิจัยป่าชายเลนระนอง พบว่า มีแมลงจำนวน 278 ชนิด นกประจำถิ่น และนกอพยพ จำนวน 86 ชนิด ปลาจำนวน 98 ชนิด สัตว์พวกครัสตาเซียน 28 ชนิด สัตว์หน้าดินจำนวน 25 ชนิด และแบคทีเรีย 20 สกุล
นอกจากนี้ยังพบ “นากใหญ่ขนเรียบ” (Lutrogale perspicillata) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มักอาศัยอยู่ในป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และพบนกหายากใกล้สูญพันธุ์ 3 ชนิดได้แก่ นกยางจีน (Egretta eulophotes)นกน๊อตใหญ่ (Calidris tenuirostris) และนกอีก๋อยสะโพกสีน้ำตาล (Numenius madagascariensis)
เกร็ดความรู้ : นากใหญ่ขนเรียบ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
นกยางจีน
นกน๊อตใหญ่
นกอีก๋อยสะโพกสีน้ำตาล
สัตว์น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งที่พบจำนวนมากในป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง คือ แม่หอบ (Thallassina anomula)
แม่หอบมีชื่อสามัญว่า mud lobster หรือ mangrove lobster เป็นสัตว์ที่ มีลักษณะคล้ายกุ้ง ผสมกับกั้ง แต่ส่วนท้องมีขนาดใหญ่ และสามารถอาศัยอยู่บนบกได้นาน จัดเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไมโอซีน (16 ล้านปี ก่อนถึงปัจจุบัน)
พฤติกรรมของแม่หอบจะขุดรูอาศัยตามพื้นป่าชายเลน โดยขนดินขึ้นมากองทับถมกันเป็นเนินสูงคล้ายจอมปลวก และอาศัยอยู่ด้านใต้กองดินนั้น ซึ่งพฤติกรรมนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อระบบนิเวศป่าชายเลน เนื่องจากช่วยในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ และเพิ่มธาตุอาหารในดิน
เกร็ดความรู้:แม่หอบ เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในกลุ่ม ครัสเตเชี่ยนฺ (Class Crustacea) ซึ่งอยู่ในไฟลัม อาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) สัตว์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ เช่น กุ้ง กั้ง ปู ไรน้ำ
สัตว์น้ำเศรษฐกิจบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่พบมากที่สุดในบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง คือ ปลาชนิดต่างๆ รองลงมาคือ กุ้ง ปู หมึก และแมงดา โดยชนิดของสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นที่นิยมของตลาด ได้แก่ ปลากระบอกขาว ปลากะพงข้างปาน ปลากะพงขาวปลาตะกรับ ปลาทราย ปลาบู่ กุ้งขาว กุ้งตะกาดหางแดง ปูดำ หมึกกระดอง หมึกกล้วย หมึกหอม แมงดาจาน และแมงดาถ้วย
ชุมชนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
ชุมชนที่อาศัยในเขตพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง มี 11 ชุมชน แบ่งตามเขตได้ดังนี้
เขตแกนกลาง (Core area) ในอดีตมี 3 ชุมชน ได้แก่ บ้านหาดทรายขาว1 หมู่ 4 ตำบลหงาว บ้านเกาะจาก2 หมู่ 5 ตำบลหงาว และบ้านเกาะกำ3 หมู่ 6 ตำบลปากน้ำ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนเกาะ ปัจจุบันมีเพียงบ้านเกาะกำ ที่ยังมีราษฎรอาศัยอยู่
เขตกันชน (Buffer zone) มี 2 ชุมชน ได้แก่ บ้านหาดทรายดำ ตำบลหงาว และบ้านเกาะเหลา ตำบลปากน้ำ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านและทำกะปิ
เขตเปลี่ยนสภาพ (Transition area) มี 6 ชุมชน ได้แก่ บ้านบางริ้น บ้านแพใหม่ ตำบลบางริ้น บ้านหงาว บ้านท่าฉาง บ้านล่าง ตำบลหงาว และบ้านละออง ตำบลราชกรูด ประชากรส่วนใหญ่ยึดอาชีพประมง ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ และรับจ้างทั่วไป
หมายเหตุ :
1 บ้านหาดทรายขาว ปัจจุบันได้อพยพขึ้นมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณชายฝั่งในเขตการปกครองของ บ้านล่าง หมู่ 4 ตำบลหงาว
2 บ้านเกาะจาก ไม่มีราษฎรอาศัยอยู่ ปัจจุบันเป็นพื้นที่เกษตรกรรมของราษฎร
3 บ้านเกาะกำ มีราษฎรอาศัยอยู่ โดยเป็นชุมชนชายฝั่งที่อาศัยในพื้นที่มาก่อนการประกาศจัดตั้งเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนของชุมชนในพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
สภาพชุมชนในเขตพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง มีทั้งอยู่ติดป่าชายเลนและไม่มีป่าชายเลน ชุมชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ติดป่าชายเลน อาศัยป่าชายเลนเป็นแหล่งทำมาหากิน โดยยึดอาชีพประมง อาศัยไม้จากป่าชายเลนในการสร้างที่อยู่อาศัย ทำฟืน ทำอุปกรณ์ในการจับสัตว์น้ำ มีภูมิปัญญาด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลน สำหรับชุมชนที่ไม่มีป่าชายเลน โดยมากจะประกอบอาชีพสวนยางพารา สวนปาล์ม ค้าขาย และรับจ้าง
พวงกุญแจปลาตีน ตุ๊กตาไม้ และผ้ามัดย้อม เป็นสินค้าผลิตโดยกลุ่มเยาวชน หมู่ 5 บ้านหาดทรายดำ ต.หงาว โดยใช้เศษกิ่งไม้ปอทะเล (Hibiscus tiliaceus) และเปลือกไม้โกงกาง
ที่มาของข้อมูล : หนังสือพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง ของส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนองชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง พบพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทั้งหมด 52 ชนิด ชนิดพันธุ์ที่พบมากที่สุดอยู่ในวงศ์ Rhizophoraceae ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก พังกาหัวสุม โปรง ถั่ว แสม ตะบูน ฝาด ลำแพน และพบพันธุ์ไม้ที่จัดอยู่ในสภาพที่ต้องเฝ้าระวังหรือมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ตามบัญชีเพื่อการอนุรักษ์ของ IUCN Red List (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2563) จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ พังกา-ถั่วขาว (Bruguiera hainesii) หงอนไก่ใบเล็ก (Heritiera fomes) น้ำนอง (Brownlowia tersa) เป้ง (Phoenix paludosa) ลำแพน (Sonneratia ovata) และโปรงขาว (Ceriops decandra)
เกร็ดความรู้ : พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย มีทั้งหมด 81 ชนิด (สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน, 2555)
สัตว์ในป่าชายเลน
สัตว์ในป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลที่พบจำนวนมาก ได้แก่ ลิงแสม กระรอกตะกวด งูชนิดต่างๆ นกกินปลา นกกาน้ำ เหยี่ยวแดง ซึ่งจากการสำรวจความหลากหลายของสัตว์ในป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง โดยสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และศูนย์วิจัยป่าชายเลนระนอง พบว่า มีแมลงจำนวน 278 ชนิด นกประจำถิ่น และนกอพยพ จำนวน 86 ชนิด ปลาจำนวน 98 ชนิด สัตว์พวกครัสตาเซียน 28 ชนิด สัตว์หน้าดินจำนวน 25 ชนิด และแบคทีเรีย 20 สกุล
นอกจากนี้ยังพบ “นากใหญ่ขนเรียบ” (Lutrogale perspicillata) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มักอาศัยอยู่ในป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และพบนกหายากใกล้สูญพันธุ์ 3 ชนิดได้แก่ นกยางจีน (Egretta eulophotes)นกน๊อตใหญ่ (Calidris tenuirostris) และนกอีก๋อยสะโพกสีน้ำตาล (Numenius madagascariensis)
นกยางจีน
นกน๊อตใหญ่
นกอีก๋อยสะโพกสีน้ำตาล
สัตว์น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งที่พบจำนวนมากในป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง คือ แม่หอบ (Thallassina anomula)
แม่หอบมีชื่อสามัญว่า mud lobster หรือ mangrove lobster เป็นสัตว์ที่ มีลักษณะคล้ายกุ้ง ผสมกับกั้ง แต่ส่วนท้องมีขนาดใหญ่ และสามารถอาศัยอยู่บนบกได้นาน จัดเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไมโอซีน (16 ล้านปี ก่อนถึงปัจจุบัน)
พฤติกรรมของแม่หอบจะขุดรูอาศัยตามพื้นป่าชายเลน โดยขนดินขึ้นมากองทับถมกันเป็นเนินสูงคล้ายจอมปลวก และอาศัยอยู่ด้านใต้กองดินนั้น ซึ่งพฤติกรรมนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อระบบนิเวศป่าชายเลน เนื่องจากช่วยในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ และเพิ่มธาตุอาหารในดิน
เกร็ดความรู้:แม่หอบ เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในกลุ่ม ครัสเตเชี่ยนฺ (Class Crustacea) ซึ่งอยู่ในไฟลัม อาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) สัตว์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ เช่น กุ้ง กั้ง ปู ไรน้ำ
สัตว์น้ำเศรษฐกิจบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่พบมากที่สุดในบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง คือ ปลาชนิดต่างๆ รองลงมาคือ กุ้ง ปู หมึก และแมงดา โดยชนิดของสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นที่นิยมของตลาด ได้แก่ ปลากระบอกขาว ปลากะพงข้างปาน ปลากะพงขาวปลาตะกรับ ปลาทราย ปลาบู่ กุ้งขาว กุ้งตะกาดหางแดง ปูดำ หมึกกระดอง หมึกกล้วย หมึกหอม แมงดาจาน และแมงดาถ้วย
ชุมชนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
ชุมชนที่อาศัยในเขตพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง มี 11 ชุมชน แบ่งตามเขตได้ดังนี้
เขตแกนกลาง (Core area) ในอดีตมี 3 ชุมชน ได้แก่ บ้านหาดทรายขาว1 หมู่ 4 ตำบลหงาว บ้านเกาะจาก2 หมู่ 5 ตำบลหงาว และบ้านเกาะกำ3 หมู่ 6 ตำบลปากน้ำ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนเกาะ ปัจจุบันมีเพียงบ้านเกาะกำ ที่ยังมีราษฎรอาศัยอยู่
เขตกันชน (Buffer zone) มี 2 ชุมชน ได้แก่ บ้านหาดทรายดำ ตำบลหงาว และบ้านเกาะเหลา ตำบลปากน้ำ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านและทำกะปิ
เขตเปลี่ยนสภาพ (Transition area) มี 6 ชุมชน ได้แก่ บ้านบางริ้น บ้านแพใหม่ ตำบลบางริ้น บ้านหงาว บ้านท่าฉาง บ้านล่าง ตำบลหงาว และบ้านละออง ตำบลราชกรูด ประชากรส่วนใหญ่ยึดอาชีพประมง ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ และรับจ้างทั่วไป
หมายเหตุ :
1 บ้านหาดทรายขาว ปัจจุบันได้อพยพขึ้นมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณชายฝั่งในเขตการปกครองของ บ้านล่าง หมู่ 4 ตำบลหงาว
2 บ้านเกาะจาก ไม่มีราษฎรอาศัยอยู่ ปัจจุบันเป็นพื้นที่เกษตรกรรมของราษฎร
3 บ้านเกาะกำ มีราษฎรอาศัยอยู่ โดยเป็นชุมชนชายฝั่งที่อาศัยในพื้นที่มาก่อนการประกาศจัดตั้งเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
สภาพชุมชนในเขตพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง มีทั้งอยู่ติดป่าชายเลนและไม่มีป่าชายเลน ชุมชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ติดป่าชายเลน อาศัยป่าชายเลนเป็นแหล่งทำมาหากิน โดยยึดอาชีพประมง อาศัยไม้จากป่าชายเลนในการสร้างที่อยู่อาศัย ทำฟืน ทำอุปกรณ์ในการจับสัตว์น้ำ มีภูมิปัญญาด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลน สำหรับชุมชนที่ไม่มีป่าชายเลน โดยมากจะประกอบอาชีพสวนยางพารา สวนปาล์ม ค้าขาย และรับจ้าง
พวงกุญแจปลาตีน ตุ๊กตาไม้ และผ้ามัดย้อม เป็นสินค้าผลิตโดยกลุ่มเยาวชน หมู่ 5 บ้านหาดทรายดำ ต.หงาว โดยใช้เศษกิ่งไม้ปอทะเล (Hibiscus tiliaceus) และเปลือกไม้โกงกาง