Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Saxicola torquata
Saxicola torquata
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Saxicola torquata
(Linnaeus, 1766)
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Motacilla torquata (Linnaeus, 1766)
ชื่อสามัญ::
-
Common Stonechat
-
Siberian Stonechat
ชื่อไทย::
-
นกยอดหญ้าหัวดำ
อาณาจักร::
Animalia
ไฟลัม::
Chordata
ชั้น::
Aves
อันดับ:
Passeriformes
วงศ์::
Muscicapidae
สกุล:
Saxicola
ปีที่ตีพิมพ์:
1998
วันที่อัพเดท :
2 มิ.ย. 2564 08:51 น.
วันที่สร้าง:
2 มิ.ย. 2564 08:51 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
นกขนาดเล็กมาก (14 ซม.) ตัวผู้ร่างกายสีดำ มีลายพาดสีขาวที่ปีกและขนคลุม โคนขนหางด้านบน ตัวเมียไม่มีลายสีขาวที่ปีก มีลายขีดเล็กน้อยทางด้านบนลำตัว ลายขีดทางด้านล่างลำตัวไม่เด่นชัด ขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีสนิม
-
นกเพศผู้ หัวและลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ส่วนหัวแกมสีดำที่หัวตา ขนคลุมหู คางและอกตอนบน หลัง สีแกมน้ำตาลเข้มแกมเทา มีลายสีคล้ำ อกสีน้ำตาลแดงเพศผู้ขนชุดผสมพันธุ์ หัว คอ สี ดำ ลำตัว ด้านบนดำมีลายน้ำตาลจางๆ ข้างคอและแถบปีกสีขาว ตะโพกสีขาวปลายจนคลุมตะโพกสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแกมสัม อกสีน้ำตาลแดงเข้มขึ้น หางสีดำ ชนิดย่อยประจำถิ่น przewalski อกและท้อง
สีน้ำตาลแดงเข้ม นกเพศเมีย คล้ายตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์แต่ คอและก้นแกมขาว ตะโพกน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง
ระบบนิเวศ :
-
พบตามพุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และพื้นที่กสิกรรมต่างๆ มักพบเกาะอยู่บนยอดหญ้ายอดไม้พุ่ม อาหารได้แก่ แมลงต่างๆ โดยจะบินลงมาโฉบจับบนพื้นดิน บางครั้งก็โฉบจับกลางอากาศใกล้ๆ กับที่เกาะ
-
ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรมเปิดโล่ง
-
ระบบนิเวศเกษตร
-
ระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น, ภูเขาหินทรายปกคลุมไปด้วยป่าและลานหิน
-
ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน
-
ระบบนิเวศเกษตร
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
-
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี, อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร (ภูผาเติบ)
-
เชียงใหม่
-
อุบลราชธานี
-
อุตรดิตถ์,แพร่,น่าน,พะเยา
-
น่าน
-
นนทบุรี
การขยายพันธุ์ :
-
ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ทำรังด้วยใบหญ้า มอสซ์ รากฝอย และสารเยื่อใยต่างๆ เป็นรูปถ้วย ตามโคนไม้พุ่มเกือบติดดิน ไข่สีน้ำเงินจางมีลายขีด ลายดอกดวงสีน้ำตาลแกมแดง ในแต่ละรังมีไข่ 4-5 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 13 วัน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่เกษตรดอยอินทนนท์และอำเภอจอมทอง
-
ผาแต้ม
-
ลุ่มน้ำอิง,ลุ่มน้ำยม,ลุ่มน้ำน่าน
-
พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน อำเภอท่าวังผา และพื้นที่ใกล้เคียง
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ข้อมูลเชิงพิพิธภัณฑ์
Barcode
ชื่อพิพิธภัณฑ์
จังหวัด
ลักษณะ
Barcode
ชื่อพิพิธภัณฑ์
จังหวัด
ลักษณะ
ข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
1
PRJNA968580
968580
2
PRJEB19452
377953
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
ที่มาของข้อมูล
OEPP Biodiversity Series Vol. 18 Birds of Dry and Semi-Humid Ecosystem, 2550
OEPP Biodiversity Series Vol. 7 Birds of Bung Boraphet, 2543
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศเกษตร (Agricultural Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน (Inland Water Ecosystem) โครงการติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และพะเยา, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 กันยายน 2554
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 7 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศเกษตร, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 8 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศแห้งแล้งและกึ่งชื้น, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
หอยนิ้วโป้ง
Pollicaria elephas
Plectorhynchus crassispinus
Trigonodes disjuncta
Pelopidas mathias
Favites abdita
ผีเสื้อ
Chaeopsestis ludovicae
Previous
Next