ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้น เปลาตรงเปลือกเรียบ สีน้ำตาลดำหรือสีชมพูแกมเทา พูพอนแผ่เป็นครีบขนาดเล็ก ใบ ประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ แผ่นใบ
รูปไข่กว้างถึงรูปรี ปลายใบกลม เว้าตื้นค่อนข้างแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีซีดกว่า มีขนที่เส้นกลางใบด้านหลัง เนื้อใบบางถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง มีเส้นแขนงใบข้างละ
5-7 เส้น ดอก สีชมพูถึงแดง ออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว
4-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ มีขนาดใหญ่มองเห็นชัด กลีบดอก 1 กลีบ รูปกลมแป้น ขอบกลีบเป็นคลื่น โคนกลีบดอกคอดเข้าหากันเป็นก้านกลีบ มีขนสั้นนุ่มปกคลุม เกสรเพศผู้สีแดง
มีขน ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5-2.7 เซนติเมตร ผล เป็นฝักแห้งรูปขอบขนานมีหลายเมล็ด รูปทรงแตกต่างกัน เมล็ดกลมแบน สีน้ำตาล ไม่เกิน 8 เมล็ดต่อผล
- เป็นไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงใหญ่สูง 25 ม. ลำต้นตรง เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกเรียบ สีเทาถึงชมพูแกมเทา พูพอนแผ่เป็นครีบขนาดเล็ก
ใบ ประกอบขนนกปลายคู่ เรียงสลับถึงเวียนสลับห่าง ๆ ใบย่อยมักมี 2 คู่ล่าง ขนาด 4-6x5-8 ซม. คู่บนขนาด 5-7x7-12 ซม. แผ่นใบรูปไข่กว้าถึงรูปรี โคนใบแหลมเยื้อถึงทู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบกลม เว้าตื้นค่อนข้างแหลม เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยกตัว เส้นแขนง 6-8 คู่ เส้นใบย่อยสากันเป็นร่างแห ผิวใบเกลี้ยทั้งสองด้าน ยกเว้นเส้นกลางใบด้านล่างมีขสั้นนุ่มปกคลุม เนื้อใบบางถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านช่อใบยาว 1.5-4 ซม. โคนบวม ก้านใบย่อยยาว 0.5 ซม. แกนกลางช่อใบยาว 2-4 ซม.
ดอก แบบช่อเชิงลดมีก้านแยกแขนง หรืช่อเชิงลดมีก้าน ออกตามปลายกิ่ง ก้านช่อ แกนกลางและก้านดอกย่อย มีขนสั้นนุ่มละเอียดปกคลุม ช่อดอกยาว 7-10 ซม. ดอกย่อยสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1 ซม. ฐานดอกเป็นหลอดยาวไล่เลี่ยกับกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียว กลีบด้านข้างขนาดใหญ่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 1.2-1.5 ซม. กลีบด้านบนและกลีบด้านล่าง ยาว 0.8-1 ซม. กลีบดอก 1 กลีบ รูปกลมแป้น ขนาด 1.2-2x0.7-1 ซม. ขอบกลีบเป็นคลื่น โคนกลีบดอกคอดเข้าหากันเป็นก้านกลีบ มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ออกดอกระหว่างเดือน ธันวาคม-เมษายน
ผล แบบฝักถั่ว (ฝักพองมีหลายเมล็ด) แข็ง แบน รูปทรงขอบขนานโค้ง ขนาด 5-8x10-20 ซม. ขอบฝักหนา เรียบ ฝักอ่อนสีเขียว บางคล้ายใบ เมื่อแก่ฝักจะหนาขึ้นและเป็นสีน้ำตาล ฝักแก่จัดแตกออกตามรอยตะเข็บของฝัก เมล็ดแบน สีน้ำตาล รูปทรงไข่กว้าง ขนาด 2-2.5x3 ซม. มีไม่เกิน 8 เมล็ด ฝักแก่ระหว่างเดือน กรกฎาคม-กันยายน
- ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง
ลำต้น : เปลาตรงเปลือกเรียบ สีน้ำตาลดำหรือสีชมพูแกมเทา พูพอนแผ่เป็นครีบขนาดเล็ก
ใบ : ประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่กว้างถึงรูปรี ปลายใบกลม เว้าตื้นค่อนข้างแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีซีดกว่า มีขนที่เส้นกลางใบด้านหลัง เนื้อใบบางถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง มีเส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น
ดอก : สีชมพูถึงแดง ออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว
4-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ มีขนาดใหญ่มองเห็นชัด กลีบดอก 1 กลีบ รูปกลมแป้น ขอบกลีบเป็นคลื่น โคนกลีบดอกคอดเข้าหากันเป็นก้านกลีบ มีขนสั้นนุ่มปกคลุม เกสรเพศผู้สีแดง มีขน ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5-2.7 เซนติเมตร
ผล : เป็นฝักแห้งรูปขอบขนานมีหลายเมล็ด รูปทรงแตกต่างกัน เมล็ดกลมแบน สีน้ำตาล ไม่เกิน 8 เมล็ดต่อผล
ระบบนิเวศ :
- เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณริมแม่น้ำลำคลองที่น้ำทะเลท่วมถึง รวมไปถึงแนวหลังป่าชายเลน
ที่ติดกับป่าชายหาดหรือป่าพรุ เหมาะปลูกริมทางเดินใกล้สวนหรือชายน้ำกร่อย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- สมุทรปราการ
- พังงา
- สมุทรปราการ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- บางกระเจ้า
- พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง–ปากน้ำตรัง
- ป่าชายเลนคุระบุรี, อ่าวจาก คลองคุระบุรี ชายฝั่งคุระบุรี
- พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้ต้น (Tree)
การกระจายพันธุ์ :
- บริเวณชายทะเลและหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ตลอดถึงมหาสมุทรแปซิฟิก
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- เปลือก ผล
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- เปลือก : ยาสมานแก้ท้องเสีย ผล : ยาระบาย
ที่มาของข้อมูล