ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
Terrestrial fern in mangrove.
-
เฟิร์นแตกกอ ลักษณะทั่วไปคล้ายกับปรงทะเล แต่เหง้าปกคลุมด้วยเกล็ดเล็ก ๆ สีน้ำตาลคล้ำ ยาวประมาณ 0.8 ซม. มักขึ้นเป็นกอเดี่ยว ๆ พบน้อยที่ขึ้นเป็นกลุ่ม
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ช่อใบขอบขนานแกมรูปใบหอก ขนาด 10-25x30-50 ซม. ประกอบด้วยใบย่อย 5-10 คู่ ก้านช่อใบยาว 30-50 ซม. เกลี้ยง สีเขียวถึงสีน้ำตาล ด้านบนเป็นร่องตื้น ขอบมีหนามสั้น ๆ ซึ่งเกิดจากการลดรูปของใบย่อยกระจายห่าง ๆ หน้าตัดขวางกลุ่มท่อลำเลียงของก้านใบคล้ายรูปวงกลมที่มีจุดศูนย์กลาง ใบย่อยไม่สร้างสปอร์ รูปขอบขนานแกมเรียว เรียงสลับ อยู่ตอนล่างของช่อใบ ขนาด 2-6x15-25 ซม. โคนใบรูปลิ่มถึงมน ไม่สมมาตร ขอบใบเรียบถึงเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น เส้นใบสานกันคล้ายรังผึ้ง เส้นกลางใบนูนเด่น เนื้อใบหยาบ หนา คล้ายแผ่นหนัง ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบแห้งสีน้ำตาลอมเขียว ก้านใบย่อย ยาวถึง 1 ซม. ด้านบนราบ ใบย่อยสร้างสปอร์อยู่เฉพาะตอนปลายช่อใบ ลักษณะทั่วไปคล้าใบ ที่ไม่สร้างสปอร์ แต่มีขนาดเล็กเรียวกว่า ปลายใบเรียวแหลม อับสปอร์สีน้ำตาลแดง ปกคลุมทั่วผิวใบด้านล่าง ยกเว้นเส้นกลางใบ สปอร์โปร่งใส ไม่มีสี
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ช่อใบขอบขนานแกมรูปใบหอก ขนาด 10-25x30-50 ซม. ประกอบด้วยใบย่อย 5-10 คู่ ก้านช่อใบยาว 30-50 ซม. เกลี้ยง สีเขียวถึงสีน้ำตาล ด้านบนเป็นร่องตื้น ขอบมีหนามสั้น ๆ ซึ่งเกิดจากการลดรูปของใบย่อยกระจายห่าง ๆ หน้าตัดขวางกลุ่มท่อลำเลียงของก้านใบคล้ายรูปวงกลมที่มีจุดศูนย์กลาง ใบย่อยไม่สร้างสปอร์ รูปขอบขนานแกมเรียว เรียงสลับ อยู่ตอนล่างของช่อใบ ขนาด 2-6x15-25 ซม. โคนใบรูปลิ่มถึงมน ไม่สมมาตร ขอบใบเรียบถึงเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น เส้นใบสานกันคล้ายรังผึ้ง เส้นกลางใบนูนเด่น เนื้อใบหยาบ หนา คล้ายแผ่นหนัง ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบแห้งสีน้ำตาลอมเขียว ก้านใบย่อย ยาวถึง 1 ซม. ด้านบนราบ ใบย่อยสร้างสปอร์อยู่เฉพาะตอนปลายช่อใบ ลักษณะทั่วไปคล้าใบ ที่ไม่สร้างสปอร์ แต่มีขนาดเล็กเรียวกว่า ปลายใบเรียวแหลม อับสปอร์สีน้ำตาลแดง ปกคลุมทั่วผิวใบด้านล่าง ยกเว้นเส้นกลางใบ สปอร์โปร่งใส ไม่มีสี
ระบบนิเวศ :
-
In mangrove swamps.
การกระจายพันธุ์ :
-
Tropical Asia to Australia.
-
เขตเอเชียร้อนชื้น และออสเตรเลีย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
Trat,Ranong,Phangnga
-
อุดรธานี
-
พังงา
-
สมุทรปราการ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
ป่าชายเลนคุระบุรี, อ่าวจาก คลองคุระบุรี
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เฟิร์นไม้น้ำ (Aquatic Fern)
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2010)
ที่มาของข้อมูล
-
Checklist of Plants in Thailand Volume I ปี 2557 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
OEPP Biodiversity Series Vol. 11 Pteridophytes in Thailand, 2543
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 3 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
IUCN Red List
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง