ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้พุ่มสูงได้ถึง 3 เมตร กิ่งก้านสีน้ำตาลมีแผลระบาย อากาศมาก ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือแกมรี กว้าง 4 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบมน ดอก เดี่ยว ออกตามกิ่งใกล้ปลายยอด กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก 3 กลีบ รูปไข่ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นนอกสีเหลือง รูปรีกว้าง ขนาด 2 x 1.5 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม ชั้นในเชื่อมกัน เป็นรูปโดมสีเหลืองอ่อน มีลายสีแดงอมส้มตามยาว ภายในมีเกสรผู้ จำนวนมาก ผล กลุ่ม มีผลย่อย 4-7 ผล รูปทรงกระบอกคอด เล็กน้อยตามผล ผิวเกลี้ยง ปลายเป็นตุ่ม
-
สูงประมาณ 3 - 4 ม. เติบโตค่อนข้างช้า เหมาะสำหรับที่จะปลูกในพื้นที่แคบๆ ประมาณ 1 ตรม. ได้
-
ไม้พุ่มสูงได้ถึง 3 เมตร กิ่งก้านสีน้ำตาลมีแผลระบาย อากาศมาก ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือแกมรี กว้าง 4 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบมน ดอก เดี่ยว ออกตามกิ่งใกล้ปลายยอด กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก 3 กลีบ รูปไข่ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นนอกสีเหลือง รูปรีกว้าง ขนาด 2 x 1.5 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม ชั้นในเชื่อมกัน เป็นรูปโดมสีเหลืองอ่อน มีลายสีแดงอมส้มตามยาว ภายในมีเกสรผู้ จำนวนมาก ผล กลุ่ม มีผลย่อย 4-7 ผล รูปทรงกระบอกคอด เล็กน้อยตามผล ผิวเกลี้ยง ปลายเป็นตุ่ม
-
ไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มโปร่งขนาดเล็ก ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 เมตรและสูงได้ประมาณ 5 เมตร ต้นแตกกิ่งแขนงเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมสีดำ แตกเป็นร่องเล็ก ตามแนวยาว โดยเป็นพันธุ์ไม้หอมขนาดเล็กที่เจริญเติบโตช้า สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ที่มีแสงแดดปานกลางและแสงแดดจัด แต่ส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงและแสงแดดไม่มากนัก
การกระจายพันธุ์ :
-
อินเดียและเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
-
อินเดียและเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
-
Burma, Malay Pen, SW Thailand: Phetchaburi, Prachuap Khiri Khan
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้พุ่มโปร่งขนาดเล็ก
-
ไม้พุ่ม/ไม้ต้น
-
ใบ - ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบแหลมหรือมน ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นมันวาวทั้งสองด้าน หลังใบและท้องใบเรียบ และมีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 7-9 เส้น มีก้านใบยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร
ดอก - ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยออกตรงข้ามกับใบที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลืองนวลหรือเข้ม มีกลิ่นหอม เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมี 6 กลีบ วางเป็นชั้น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกหนา มีลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ปลายกลีบแหลม ส่วนกลีบดอกชั้นในมีลักษณะเป็นรูปไข่กลีบ โคนเรียวเป็นก้านกลีบ สั้นกว่ากลีบวงนอกเล็กน้อย ปลายเรียงจรดกันคล้ายกับกระเช้า ส่วนขอบและเส้นกลางกลีบเป็นสันนูนและมีลายเส้นสีม่วงแดงบนกลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ที่ปลายมีรยางค์สั้น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม
ผล - ออกผลเป็นกลุ่ม มีผลย่อยประมาณ 4-7 ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก จะคอดตื้นๆตามแนวเมล็ด ปลายผลเป็นจุก ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนออกขาวหรือนวล เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มหรือแดงอมส้ม โดยจะออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม
ดอก - ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยออกตรงข้ามกับใบที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลืองนวลหรือเข้ม มีกลิ่นหอม เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมี 6 กลีบ วางเป็นชั้น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกหนา มีลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ปลายกลีบแหลม ส่วนกลีบดอกชั้นในมีลักษณะเป็นรูปไข่กลีบ โคนเรียวเป็นก้านกลีบ สั้นกว่ากลีบวงนอกเล็กน้อย ปลายเรียงจรดกันคล้ายกับกระเช้า ส่วนขอบและเส้นกลางกลีบเป็นสันนูนและมีลายเส้นสีม่วงแดงบนกลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ที่ปลายมีรยางค์สั้น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม
ผล - ออกผลเป็นกลุ่ม มีผลย่อยประมาณ 4-7 ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก จะคอดตื้นๆตามแนวเมล็ด ปลายผลเป็นจุก ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนออกขาวหรือนวล เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มหรือแดงอมส้ม โดยจะออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม
ถิ่นกำเนิด :
-
ภาคใต้ของไทย (คาบสมุทรอินโดจีน)
การขยายพันธุ์ :
-
การตอน เพาะเมล็ด
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
Dry evergreen forest, 100 − 300 m.
-
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ถ้ำประทุน
-
อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองแสง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดงใหญ่
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง
-
สุรินทร์
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
อุทัยธานี
-
เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์
-
สุราษฎร์ธานี
-
บุรีรัมย์
-
ราชบุรี
-
อุทัยธานี, กาญจนบุรี, ตาก
-
อุทัยธานี, กาญจนบุรี, ตาก
-
ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ที่มาของข้อมูล
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
-
ONEP Biodiversity Series Vol. 17 : Thailand Red Data : Plants (2006)
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น, กองทุนสิ่งแวดล้อม, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช