หน่วยงานที่รับผิดชอบ


สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)


ประวัติความเป็นมา

ปี พ.ศ.2475 มีฐานะเป็นป่าไม้ภาค เรียกว่า ป่าไม้ภาคนครราชสีมา มีเขตจังหวัดในความควบคุมและตอนที่สังกัดดังต่อไปนี้ คือ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ขุขันธ์ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย ลพบุรี สระบุรีทำการภาคเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงตั้งอยู่ในบริเวณสำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมาในปัจจุบัน เนื้อที่ประมาณ 11-1-86 ไร่ ส่วนหนึ่งเป็นของหลวงภิรมย์โภคา ส่วนหนึ่งเป็นของนายน้อย แดงสหะ มอบให้กรมป่าไม้ และอีกส่วนหนึ่งได้จับจองเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติที่ดินใบเหยียบย่ำที่ดิน ทั้งหมดขึ้นทะเบียนราชพัสดุแปลงหมายเลข นม.118

ปี พ.ศ.2484 มีการปรับปรุงส่วนราชการโดยเปลี่ยนชื่อป่าไม้ภาคเป็นป่าไม้เขตที่ทำการป่าไม้เขตนครราชสีมา เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ทรงจั่ว

ปี พ.ศ.249 มี พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2495 มีการปรับปรุงกองแผลแผนกในกรมป่าไม้ ซึ่งป่าไม้เขตได้ขยายเพิ่มเป็น 21 เขต รับผิดชอบงานด้านวิชาการเป็นหน่วยงานบริหารส่วนกลางขึ้นตรงต่อกรมป่าไม้ ป่าไม้เขตนครราชสีมาควปี พ.ศ.2518 ได้เปลี่ยนชื่อจากที่ทำการป่าไม้เขตนครราชสีมา เป็นสำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมา จนถึงปัจจุบัน

ปี พ.ศ.2532 กรมป่าไม้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างสำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมาใหม่ เป็นอาคารตึก 2 ชั้น มีมุกด้านหน้า เริ่มก่อสร้างช่วงนายกษม รัตนไชย ดำรงตำแหน่งป่าไม้เขต แล้วเสร็จช่วงนายสุนทร โพธิ์กัน ดำรงตำแหน่งป่าไม้เขต ในปี พ.ศ.2533 ซึ่งใช้ปฏิบัติราชการจนปัจจุบัน ครอบคลุมรับผิดชอบด้านป่าไม้ 3 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้รับผิดชอบดูแลเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 3 เขต และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า จำนวน 4 เขต สถานี จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง จังหวัดชัยภูมิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองแวง จังหวัดชัยภูมิ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด จังหวัดบุรีรัมย์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบินน้ำ จังหวัดบุรีรัมย์ และสถานีพัฒนาส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าห้วยกุ่ม จังหวัดชัยภูมิ

ที่มาของข้อมูล : https://portal.dnp.go.th/p/NakhonRatchasima

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว


ประวัติความเป็นมา

เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ได้จัดตั้งขึ้นเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2508 โดยที่รัฐบาลเล็งเห็นว่า พื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพรม มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีสัตว์ป่าที่มีคุณค่า หลายชนิดอาศัยอยู่ในท้องถิ่นนี้ โดยเฉพาะ กระซู่ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน ที่กำลังจะสูญพันธุ์ไป ก็มีอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ด้วย นอกจากนั้นยังเป็น แหล่งอาศัยของ กระทิง วัวแดง ช้างป่า เลียงผา เสือโคร่ง เสือดาว และนกที่สำคัญหลายชนิด เช่น นกยูง นกเป็ดก่า นกเงือกสีน้ำตาล นกแก๊ก นกกก เป็นต้น

พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งรวม ของพันธุ์ไม้ที่สำคัญนานาชนิด หลายชนิด เป็นไม้ที่มีค่าทางด้านป่าไม้ และการเกษตร ควรที่จะสงวนไว้ เป็นแหล่งพันธุกรรม และแหล่งเมล็ดพันธุ์ต่อไปในอนาคต เนื่องจากพื้นที่อยู่ในระดับสูง จึงเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ของพื้นที่เกษตรในที่ราบ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดยเฉพาะเป็นแหล่งต้นน้ำ ของลำน้ำพรมอันเป็นสาขาหนึ่งของ ลำน้ำชี นอกจากนี้ยังมีสภาพภูมิประเทศ อันสวยงามเหมาะ กับการพักผ่อนหย่อนใจ ทางธรรมชาติ ดังนั้นทางรัฐบาล จึงได้ประกาศให้พื้นที่ป่าภูเขียว เป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าชื่อว่า "เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว" ตามประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 154 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2515

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 ซึ่งออกตามความใน พระราชบัญญัติสงวน และ คุ้มครองสัตว์ พ.ศ.2503 ได้มีการผนวกพื้นที่ บางส่วนเพิ่มเติม จนปัจจุบันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่ทั้งหมด 1,560 ตารางกิโลเมตร หรือ 975,000 ไร่ รวมเอาพื้นที่ใน ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร ตำบลบ้างยาง ตำบลบ้านค่า ตำบลกุดเลาะ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ตำบลนางแดด ตำบลหนองแวง ตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ


ประวัติความเป็นมา ในพื้นที่นี้นับจากปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา พื้นที่ส่วนนี้ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ขึ้นกับป่าไม้เขตจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ป่าโครงการ ไม้กระยาเลยภูเขียวหมวดที่ 4 มีการทำไม้บางส่วนออกมา ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2508 จนถึงปี พ.ศ.2512 ก่อนที่จะประกาศเป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียว เพื่อเป็นการนำไม้ออกจากพื้นที่ จึงมีการตัดเส้นทางชักลากไม้ ออกจากอำเภอคอนสาร ผ่านทุ่งลุยลาย ไปสู่บางม่วงและทุ่งกระมัง ต่อไป

จนถึงแปน และห้วยแหลหนองป่าเตย เนื่องจากเส้นทางสายนี้ ทำให้ราษฎรเดินทางเข้าไปบุกรุก ทำลายป่าอันสมบูรณ์ ส่วนนี้อย่างรวดเร็ว โดยพัฒนาจากหมอนไม้ หรือที่พักคนงาน กลายเป็นหมู่บ้านใหญ่น้อย โดยเฉพาะบริเวณทุ่งกะมัง บึงมน บึงแปน ห้วยแหลป่าเตย ศาลาพรม นอกจากการทำไม้แล้ว ราษฎรเหล่านี้ยังหักร้างถางพง เพื่อทำนาและปลูกพืชไร่ พร้อมทั้งทำการล่าสัตว์ป่า เพื่อเป็นอาหาร และส่งออกขายในตัวเมือง โดยเฉพาะกระซู่ ที่เป็นสัตว์ป่าสงวน ที่หายากมาก ได้ถูกล่าไปแล้วถึง 3 ตัว ในบริเวณทุ่งกะมัง

อันเนื่องมาจากการที่ สัตว์ป่าสงวนที่สำคัญ ได้ถูกลักลอบล่า และป่าไม้ถูกทำลายนี้เอง ทำให้ นายศักดิ์ วัฒนากุล ป่าไม้จังหวัดชัยภูมิในสมัยนั้น (พ.ศ.2513) ได้เสนอกรมป่าไม้ ให้ประกาศพื้นที่นี้เป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยด่วน กรมป่าไม้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกทำการสำรวจ และประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามประกาศคณะปฎิวัติดังกล่าว

ในชั้นแรกครอบคลุม พื้นที่เพียง 1,314 ตารางกิโลเมตร พร้อมทั้งอพยพราษฎร ออกจากทุ่งกะมังเป็นจำนวน 40 ครอบครัว และจากศาลาพรมอีกจำนวน 100 ครอบครัว กลับไปอยู่ภูมิลำเนาเดิม รวมทั้งราษฎรอีกจำนวนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่บริเวณบึงแปนด้วย ราษฎรเหล่านี้บางส่วน ได้จัดที่ทำกินให ้โดยจัดตั้งเป็นโครงการพัฒนาที่ดิน บ้านทุ่งลุยลาย งานอพยพราษฎรในพื้นที่ กลายเป็นพื้นที่มีปัญหา อันเนื่องมาจาก ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เข้าไปอยู่อาศัย และขัดขวางการทำงาน ของเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า


ในปี พ.ศ.2520 ทางกรมป่าไม จึงได้จัดตั้ง สำนักงานส่วนกลาง ของเขตการรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ชั่วคราวขึ้นที่ศาลาพรม และจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ป่า และฐานปฏิบัติการเฉพาะกิจ ป้องกันปราบปราม การบุกรุกทำลายป่า (ศปป.) กระจายอยู่ตามจุดที่ล่อแหลม ต่อการบุกรุกทำลายป่า รอบแนวเขตเพื่อควบคุมรักษาป่า บริเวณเชิงเขาอันเป็นแนวกันชน และสกัดกั้นการขึ้นลงภูเขียวภารกิจนี้ต่อมาได้รับความร่วมือจาก ตำรวจตระเวณชายแดน และ กองทัพภาคที่ 2 โดยมีเป้าหมาย ที่จะจัดตั้งหน่วยบริหารกลาง ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ที่บริเวณ ทุ่งกะมังต่อไป

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 เมื่อรัฐบาลได้ประกาศ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใหม่ โดยผนวกพื้นที่ เพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ตารางกิโลเมตร ทำให้ครอบคลุมหมู่บ้านราษฎร ที่บุกรุกเข้าไปอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ อีกหลายหมู่บ้าน ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ จึงจำเป็นต้องวางแผน อพยพราษฎรเหล่านั้น ออกไปจากพื้นที่อีก แต่เนื่องจากการขัดขวาง ของผู้ก่อการร้าย ทำให้งานโยกย้ายราษฎร ออกจากพื้นที่กระทำได้ไม่เต็มที่ จนถึง พ.ศ.2524 เมื่อสภาพทางการเมือง คลี่คลาย ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ อ่อนกำลังลง

การโยกย้ายราษฎร จึงได้กระทำต่อใน เดือนเมษายน พ.ศ.2525 หน่วยราชการหลายฝ่าย ได้ร่วมมือกันอพยพราษฎร จำนวน 96 ครอบครัว ออกจากบริเวณหนองไร่ไก่ และใน เดือนพฤษภาคม - เดือนมิถุนายน พ.ศ.2526 ได้ร่วมกันอพยพราษฎรจำนวน 208 ครอบครัว ออกจากบริเวณพรมโซ้ง ผาผึ้ง และซับเตยเข้าไปอยู่ใน โครงการพัฒนาป่าดงลานที่ 2 บ้านอ่างทอง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น พื้นที่นาร้าง และไร่ร้างหลายแห่ง ได้ กลายเป็นทุ่งหญ้าถาวร อันเนื่องจากไฟป่า จึงทำให้กลายเป็น แหล่งอาหารสัตว์ อันอุดมสมบูรณ์ มาจนปัจจุบัน


เนื่องจากสภาพใจกลาง ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบบนเขาสูง จึงทำให้การจัด สร้างทางรถยนต์เข้าออก ได้เพียงเส้นทางเดียว คือเส้นทางเข้าเขื่อนจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเส้นทางแยก เข้าพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แห่งนี้ที่ปางม่วง ตามเส้นทางชักลากไม้เก่า

ที่มาของข้อมูล : https://queen.kapook.com/mobile/queen_project03.html