ข้อมูลเฉพาะพื้นที่



เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง


 

จำนวนระบบนิเวศ

- 5 ประเภทสังคม คือ ป่าเต็งรัง / ป่าสนเขา / ป่าเบญจพรรณ / ป่าดิบเขา / ป่าดิบชื้น

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินทราย ซึ่งปรากฏมีหน้าผาสูงชัน เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,200 เมตร พื้นที่บางแห่งมีดินตื้นจะมีลานหิน และสวนหินเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่แปลกตา และสวยงาม ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูน สลับซับซ้อนและสูงชัน ประกอบด้วยถ้ำขนาดใหญ่สวยงามหลายแห่ง มีความสูง 1,242 เมตร เช่น เขาอุ้มนาง ซึ่งอยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือใกล้จังหวัดเพชรบูรณ์ ภูเขียวมีสภาพป่าที่สมบูรณ์และภูเขาสูง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญยิ่งของลำน้ำพรม และแม่น้ำชี ทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก เป็นต้นกำเนิดห้วยดาด ห้วยไม้ซอด ห้วยซาง ฯลฯ ซึ่งไหลลงลำน้ำพรม ส่วนด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เป็นต้นกำเนิดของลำสะพุง และแม่น้ำชี ซึ่งมีต้นน้ำมาจากห้วยเล็กๆ หลายห้วย เช่น ห้วยไขว้ ห้วยเพียว ห้วยป่าเตย ลำสะพุงน้อย ลำสะพุงลาย ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องที่ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว อำเภอหนองบัวแดง และแหล่งชุมชนหลายจังหวัด จนไปรวมกับลำน้ำโขง ที่จังหวัดอุบลราชธานี

ชนิดป่าพันธุ์พืช และสัตว์ป่า

ชนิดป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ ซึ่งประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา นอกนั้นมีป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ทุ่งหญ้า พันธุ์พืชประกอบด้วย ไม้ยาง ตะเคียนหนู ตะแบก มะค่าโมง มะค่าแต้ กระเบาหลัก แต่ตามหุบเขาหรือบริเวณลำห้วย ลำธารจะรกทึบยิ่งขึ้นกลายเป็นป่าดงดิบชื้น และอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าดงดิบชื้น ได้แก่ ยาง ตะเคียนทอง กะบก มะม่วงป่า มะพลับ มะแฟง มะไฟ ชมพู่ป่า และมีเถาวัลย์พันธุ์ไม้พื้นล่าง เช่น บอนป่า หวาย ระกำ ไม้ไผ่ต่างๆ ขึ้นปกคลุมหนาแน่น ตามยอดเขาซึ่งมีระดับสูง ตั้งแต่ 300 เมตร ขึ้นไปก็มักจะมีสนเขาขึ้นเป็นชนิด สนสองใบ และ สนสามใบ ขึ้นอยู่ประปรายทั่วไป สลับกับพันธุ์ไม้ป่าดิบเขา จำพวกก่อ ซึ่งปรากฏขึ้นอยู่หนาแน่น เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ป่าเบญจพรรณ ปรากฎเป็นหย่อมเล็กๆ ตามเนินเขาที่ไม่สูงมากนัก มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญอยู่ ได้แก่ มะค่าโมง ตะแบก แดง ประดู อ้อยช้าง มะกอก ไม้ไผ่ ฯลฯ ในบริเวณที่ดินตื้น หรือลูกรังตามเนินเขา จะเป็นป่าเต็งรัง พะยอม เหียง มะกอก ตะแบก มะขามป้อม ยอป่า ลมแล้ง และ กระโดน เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้า ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สลับกับป่าโปร่งตามบริเวณยอดเขา ที่มีดินตื้นยังมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง และแหล่งในลักษณะเป็นบึง ตามธรรมชาติอีกหลายแห่ง เช่น ทุ่งกะมัง บึงแปน บึงแวง บึงมน บึงคร้อ และ บึงยาว สลับกับป่าดงดิบที่แน่นทึบ ซึ่งทำให้สัตว์ป่าอาศัยอยู่ อย่างชุกชุมมากมายหลายชนิด แม้กระทั่งกระซู่ ซึ่งเป็นสัตว์ป่า และใกล้จะสูญพันธุ์ของประเทศไทย ก็ยังพบร่องรอยอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมี เลียงผา ช้างป่า กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว กวาง เก้ง กระจง หมี ชะนี ลิง ค่าง หมูป่า ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมขนาดใหญ่ และนกต่างๆ ที่หายาก เช่นไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว นกยูง นกเงือกชนิดต่างๆ นกกางเขนดง นกหัวขวานหลายชนิด ฯลฯ คาดว่า เมื่อได้ทำการสำรวจโดยละเอียด จะได้พบสัตว์ป่าใหม่ๆ แปลกๆ อีกหลายชนิด

แหล่งความงามตามธรรมชาติ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว นับว่าเป็นแหล่งป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ที่เหลืออยู่ไม่มากใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าทั้งหมดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ จึงถือได้ว่าเป็นแหล่งความงาม ตามธรรมชาติที่สำคัญของภาค ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว นอกจากจะประกอบด้วยป่าที่สวยงามหลายชนิด เช่น ป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบแล้ง ป่าเต็งรังผสมสน ป่าผสมผลัดใบ และป่าเต็งรังแล้ว ยังมีทุ่งหญ้า และลานหินอยู่หลายแห่ง แต่สังคมพืชเหล่านี้ นอกจากมีโครงสร้างที่แปลกตาแล้ว ยังมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ และสวยงาม ทั้งรูปทรงและมีสีสรรของดอก อีกจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะกล้วยไม้ และไม้ล้มลุกอีกหลายชนิด รวมถึงกุหลาบภูชนิดดอกแดง และดอกขาว นอกจากไม้ป่าที่น่าสนใจดังกล่าวแล้ว ยังเป็นแหล่งสัตว์ป่า ที่ช่วยให้ธรรมชาติป่าเขา มีชีวิตชีวา และมีความสวยงามยิ่งขึ้น สัตว์ป่าที่เด่นนี้เช่น ช้างป่า วัวแดง กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว หมี กวาง หมูป่า และ เก้ง ซึ่งสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง นกอีกเป็นจำนวนมากมาย หลายชนิดก็เป็นจุดเด่น ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่พื้นที่แห่งนี้ เช่น นกเป็ดก่า นกเงือกสีน้ำตาล นกแก๊ก ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าพญาลอ และ นกยูง เป็นต้น ความสวยงามที่น่าสนใจ ของป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้ง ภายในประเทศ และต่างประเทศ นอกจากความงามทั่วไป

ทรัพยากรป่าไม้

ในพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีสังคมพืชหลายชนิด โดยในพื้นที่ที่เป็นเขาสูงของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าดงดิบเขาระดับต่า มีสังคมผาหินกระจายอยู่ตามหน้าผาที่สูงชัน ป่าดิบเขายังพบได้ในหุบเขาในระดับสูงที่เป็นดินตะกอนค่อนข้างลึกด้วย บนยอดเขาที่มีดินค่อนข้างตื้นและมีหินโผล่มากมักปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าและป่าทุ่ง บริเวณที่ราบสันเขาทางด้านตะวันออก และทางตอนใต้ที่มีระดับความสูง 800 เมตร ขึ้นไป และดินค่อนข้างลึก ส่วนใหญ่ ปกคลุมด้วยป่าดงดิบเขาระดับต่ า และบางตอนอาจสลับด้วยป่าไผ่ผสมอยู่เป็นหย่อมๆ ในส่วนของพื้นที่ที่มีดินตื้นและมีชั้นลูกรังอยู่ใต้ชั้นดินทรายหรือดินร่วน ที่ไม่ลึกมากและบริเวณลาดเขาที่ระดับต่ าๆ สังคมพืชจะเปลี่ยนเป็นป่าเต็งรัง บางตอนมีลักษณะที่แคระแกรน แต่บางตอนก็ค่อนข้างสมบูรณ์มีเรือนยอดชั้นบนสูงไม่เกิน 15 เมตร โดยประมาณ ในพื้นที่ที่เป็นดินลูกรังหรือดินทรายจัดแต่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง สังคมพืชที่พบคือ ป่าสนสังคมย่อยสนผสมก่อผสมยางเหียง และสังคมย่อยสนสามใบซึ่งพบบริเวณตอนกลาง และตอนเหนือของพื้นที่ ส่วนสังคมป่าดิบแล้งพบบริเวณหุบห้วยที่ไม่ค่อยชันมากนัก บริเวณตอนเหนือและตอนใต้ของพื้นที่ใกล้หุบห้วยขนาดใหญ่ เนื่องจากบางส่วนมีลักษณะเป็นที่ลุ่มและน้ำขังเกือบตลอดปี โดยเฉพาะ รอบหนองน้ำและบริเวณลุ่มห้วยตอนกลางของพื้นที่ จึงท าให้สังคมพืช กึ่งพรุและหนองน้ าหรือบึงเป็นหย่อม เล็ก ๆ ในพื้นที่นี้ด้วย ก่อนจะประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้มี ราษฎรบุกรุกเข้าไปจับจอง พื้นที่บางส่วนเพื่อทำกินมาก่อน ฉะนั้น จึงพบเห็นสังคมพืชที่อยู่ในขั้นการทดแทนได้ ในหลายท้องที่ด้วยกันบางแห่งอยู่ ในขั้นของทุ่งหญ้าคาและหญ้าอื่นๆ ขึ้นผสมกันอยู่ เช่น บริเวณทุ่งกะมัง บึงแปน บึงยาว และทางไปบึงมน เป็นต้น บางแห่งไปถึงขั้นไม้พุ่มผสมทุ่งหญ้า และหลายแห่งอยู่ในขั้นของป่าชั้นสองที่ผ่านการทำลายมาก่อน จากการศึกษาของมงคลและกิตติ (2542) พบว่ามีพืชที่มีท่อลำเลียงทั้งหมด 196 วงศ์ 753 สกุล 1,417 ชนิด ด้วยความหลากหลายของสังคมพืชคลุมดินและพันธุ์พืชในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าแห่งนี้ จึงทำให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เป็นแหล่งรวมของพรรณพืชที่สำคัญควรแก่การอนุรักษ์แห่งหนึ่งของประเทศ สังคมพืชที่สำคัญในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ได้แก่สังคมป่าดิบดงเขา คิดเป็นร้อยละ 53.99 ของพื้นที่ พบในระดับความสูงเกินกว่า 820 เมตร ขึ้นไป พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ปรก ยมหอม กฤษณา ไทร หว้าและก่อต่างๆ ฯลฯ ? สังคมป่าดงดิบแล้ง คิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่ พบกระจายอยู่ในระดับความสูง 800 เมตร ลงมา พรรณไม้ที่ส าคัญ ได้แก่ตะเคียนหิน ตะแบกแดง ตะแบกเปลือกบาง แลนง้อ สองกระดองหิน ฯลฯ สังคมป่าเต็งรัง - สังคมป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเนินหรือลาดเขาที่ระดับต่ า ลักษณะดินที่ป่าชนิดนี้ขึ้น ส่วนใหญ่เป็นดินลูกรัง มีชั้นของลูกรังอยู่ภายใต้ผิวดินซึ่งเกิดขึ้นโดยขบวนการแลตเทอไรเซชั่น ผิวดินเป็นทรายจัด มีช่วงการแห้งแล้งที่ยาวนาน อากาศค่อนข้างร้อน เนื่องจากการผลัดใบและหญ้าพื้นป่าแห้ง พืชล้มลุกบนพื้นป่าตายแห้งในช่วงฤดูร้อนท าให้เกิดไฟป่าที่รุนแรงทุกปี ซึ่งเป็นปัจจัยควบคุมหลักของสังคมป่าชนิดนี้ ลักษณะโดยทั่วไปมีเรือนยอดสองชั้น ชั้นบนมีความสูงประมาณ 12 - 20 เมตร มีช่องว่างระหว่างเรือนยอดมากไม้เด่นของสังคมได้แก่ ไม้รัง ไม้เต็ง ไม้ก่อแดง ไม้ตุ้มกว้าว เหียง มะขามป้อม ฯลฯ สังคมป่าสนเขา แบ่งย่อยได้ 2 สังคม คือ สังคมสน ผสมก่อผสมยางเหียงเป็นป่าสนเขาที่มีไม้ก่อและยางเหียงขึ้นผสมอยู่ ส่วนใหญ่กระจายในระดับความสูงตั้งแต่ 720 เมตร จากระดับน้ าทะเลไปจนถึง 820 เมตร ดินยังคงเป็นดินลูกรังแต่มีชั้นผิวดินค่อนข้างลึก เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินเหนียวระบายน้ าได้ดีลักษณะโครงสร้างโดยทั่วไปมีชั้นของไม้สนโผล่ ขึ้นมาจากเรือนยอดเป็นหย่อมๆ ท าให้เรือนยอดทางด้านตั้งของป่านี้แบ่งออกเป็น 3 ชั้นเรือนยอดด้วยกันคือ เรือนยอดชั้นบนสุดสูงประมาณ 35 - 40 เมตรเป็นชั้นของไม้สนสามใบ เรือนยอดในชั้นนี้ค่อนข้างห่างกันมาก 1-3 ส่วนเรือนยอดชั้นกลางสูงประมาณ 20 - 25 เมตร ขึ้นสอดแทรกอยู่ระหว่างเรือนยอดของไม้สน ไม้เด่นของชั้นนี้มีสองชนิด ได้แก่ เหียงและก่อแดง เรือนยอดชั้นล่างสูงประมาณ 4 - 12 เมตร เป็นไม้กึ่งพุ่มที่พบบ่อยครั้งส่วนใหญ่เป็นไม้ในวงศ์ไม้ก่อ นอกจากนี้ เช่น ส้มแปะ เหมือดหอม มะขามป้อม ตาฉี่เคย เป็นต้น สังคมป่าผสม ผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ สังคมป่าชนิดนี้พบเป็นส่วนน้อยบริเวณไหล่เขาที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าปางม่วงจนถึงหน่วยพิทักษ์ป่าบ้านโหล่น ลักษณะโครงสร้างทั่วไปถูกปกคลุมโดยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ ส่วนไม้ยืนต้นกระจายเป็นหย่อมๆ มี 3 ชั้นเป็นเรือนยอด ไม้สำคัญของสังคมนี้ ได้แก่ แดง ตะแบกแดง ผ่าเสี้ยน ตีนนก สวอง ตะคร้อ ตะคร้ า เก็ดแดง รกฟ้า ไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ฯลฯ สังคมป่าดิบชื้นระดับสูง เป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ริมห้วยในระดับความสูงตั้งแต่ 800 เมตร ขึ้นไป มีความชื้นในดิน สูงตลอดปี พบเป็นหย่อมเล็กๆ พรรณไม้ส่วนใหญ่คล้ายกับป่าดิบเขาในระดับต่ำ แต่มีไม้จำพวกปาล์มขึ้นผสม อย่างหนาแน่น โดยเฉพาะฉกและค้อ นอกจากนี้ยังมีหวายอีกหลายชนิดและคลุ้มขึ้นในที่น้ าขังเป็นฤดูกาล ในบางจุดของพื้นที่อาจพบยางนาปรากฏอยู่ด้วยสังคมทุ่งหญ้าเขตร้อน สังคมพืชชนิดนี้เกิดขึ้นได้สองแบบ คือ ทุ่งหญ้าตามธรรมชาติ มีพบบนเขาสูง ดินตื้นมีหินโผล่มาก หญ้าจะขึ้นปกคลุมตามซอกหิน ผสมกับไม้พุ่มขนาดเล็ก และเฟิร์น ตัวอย่างของสังคมนี้เช่น บนภูคิ้ง พรรณไม้ที่สำคัญนอกเหนือจากหญ้าคาและหญ้าอื่นๆ แล้วก็มี เอนอ้าขน สาวสนม หญ้ากุ้ง กระดุมเงิน ดาวเรืองภู กุหลาบขาว หม้อข้าวหม้อแกงลิง ฯลฯ ส่วนอีกประการหนึ่ง คือ ทุ่งหญ้าที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เกิดขึ้นจากการถางป่าทำไร่หรือนาข้าวของราษฎร ที่ขึ้นมาอาศัยอยู่บนภูก่อนการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บางแห่งยังเห็นร่องรอยของคันนาปรากฏอยู่ เช่น บริเวณทุ่งกะมัง บึงแปน บึงยาว เป็นต้น ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหญ้าคา หญ้าเพ็ก หญ้าหวาย หญ้าคมบาง หญ้าพง ฯลฯ สังคมป่าทุ่ง ลักษณะการเกิดคล้ายคลึงกับทุ่งหญ้าเขตร้อน แต่ผิวดินลึกกว่า มักมีไม้ต้นหรือไม้พุ่ม กระจายอยู่ห่างๆ ท่ามกลางป่าหญ้า พรรณไม้ส่วนใหญ่มักคดงอและแคระแกรน ชนิดพันธุ์คล้ายคลึงกับทุ่งหญ้าเขตร้อนบริเวณที่พบ ได้แก่ ภูคิ้ง

ทรัพยากรสัตว์ป่า

จำนวนสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ที่ได้จากการส ารวจและรวบรวมรายงานล่าสุดของมงคลและคณะพบว่า มีสัตว์ป่าประเภทมีกระดูกสันหลังอยู่ไม่น้อยกว่า 700 ชนิด จาก 419 สกุล ใน 133 วงศ์ 40 อันดับ สามารถแยกเป็น 5 ประเภท ดังนี้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ านม ไม่ต่ ากว่า 109 ชนิด จาก 82 สกุล ใน 32 วงศ์ 12 อันดับ ได้แก่ ชะนีมือขาว ช้าง กระซู่ กระทิง เลียงผา เสือโคร่ง เสือไฟ เสือลายเมฆ หมีควาย หมาใน ค่างแว่นถิ่นเหนือ ลิงไอ้เงี้ยะ เป็นต้น สัตว์ปีกไม่ต่ ากว่า 413 ชนิด จาก 219 สกุล ใน 56 วงศ์ 16 อันดับ ได้แก่ นกโกโรโกโส นกเงือกสีน้ าตาล นกอ้ายงั่ว นกกระสาแดง ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว นกกาฮัง เป็ดก่า นกเงือกกรามช้าง นกกระสาด า นกกระทุง เป็นต้น สัตว์เลื้อยคลาน ไม่ต่ ากว่า 75 ชนิด จาก 50 สกุล ใน 7 วงศ์ 3 อันดับ ได้แก่ จระเข้น้ าจืด เต่าปูลู เหี้ย เต่าเดือย งูจงอาง กิ้งก่าบินจุดด า เต่าบึงหัวเหลือง กิ้งก่า เขาหนามสั้น เป็นต้น สัตว์สะเทินน้ าสะเทินบก ไม่ต่ ากว่า 18 ชนิด จาก 15 สกุล ใน 6 วงศ์ 2 อันดับ ได้แก่ เขียดงู กบหงอน อึ่งแม่หนาว กบชะง่อนหินเมืองใต้ อึ่งปุ่ม เป็นต้น ปลาน้ าจืด ไม่ต่ ากว่า 75 ชนิด จาก 53 สกุล ใน 22 วงศ์ 7 อันดับ ได้แก่ ปลาแด้ติดหิน ปลากระสูบขีด ปลาจาด ปลาพลวงหิน ปลาจาดถ้ า ปลาทัดป่า ปลาแค้จัว