ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ล้มลุก อายุปีเดียวสูง 0.5-1 เมตร มีกลิ่น ลำต้นและกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม ผิวมีขนอุย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ยาว 0.5-4 เซนติเมตร กว้าง 0.5-3 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบหยักมนหรือหยักซี่ฟันเลื่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.1-2 เซนติเมตร ผิวมีขน ช่อดอกแบบช่อกระจุก ในแต่ละช่อมี 2-3 ดอก ดอกย่อยแบบรูปปากเปิด กลีบเลี้ยงสีเขียว เชื่อมกันเป็นถ้วยที่ฐานยาว 1-2 มิลลิเมตร มีสัน 10 สันรอบ ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก แต่ละคล้ายกรงเล็บยาว 1-2 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอกสีม่วง เชื่อมกันเป็นหลอดที่ฐานยาว 3-4 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผิวด้านนอกมีขน กลีบปากบนมี 2 กลีบ รูปช้อนยาว 2.5-3 มิลลิเมตร กว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร ใกล้ฐานแฉกกลีบมีวงกลมสีขาวภายในวงกลมมีเส้นสีม่วงผ่ากลางวง กลีบปากล่างมี 3 กลีบ กลีบด้านข้างรูปรียาว 1-1.5 มิลลิเมตร กว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร กลีบกลางคล้ายเรือยาว 1-1.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-1มิลลิเมตร เกสรเพศผู้แบบสองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้ขนาดสั้น ติดอยู่บริเวณฐานกลีบกลางของกลีบปากด้านล่าง อับเรณูสีน้ำตาลเข้ม รูปรักบี้ยาว 0.8-1 มิลลิเมตร ติดกับก้านชูเกสรที่ด้านหลัง ก้านชูเกสรเป็นแท่งยาว 1-1.8 มิลลิเมตร มีขนที่ปลายก้านชูเกสรติดกับอับเรณู เกสรเพศผู้ขนาดยาว ติดอยู่บริเวณกลางของหลอดกลีบดอก อับเรณูสีน้ำตาลเข้มรูปรักบี้ยาว 0.8-1 มิลลิเมตร ติดกับก้านชูเกสรที่ด้านหลัง ก้านชูเกสรเป็นแท่งยาว 2-2.5 มิลลิเมตร มีขนที่ปลายก้านชูเกสรติดกับอับเรณู เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปกลมมี 2 อันประกบกันแต่ละอันยาว 0.5-0.8 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรเพศเมียเป็นแท่งยาว 3-5 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียเป็นก้อนกลมมี 2 ก้อน ผลแคปซูล ยาว 0.3-1 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ เมล็ดมี 2 อัน สีน้ำตาลเข้ม รูปค่อนข้างกลม ยาว 3-5 มิลลิเมตร กว้าง 2-3 มิลลิเมตร
-
เป็นไม้พุ่มกึ่งพืชล้มลุก อายุปีเดียว สูง ๐.๕-๒ เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ตามส่วนต่างๆ มีขนสีขาวสากคายและขนแบบมีต่อมเหนียวและมีกลิ่นฉุน ใบเรียงตรงข้าม รูปไข่ ยาว ๒-๗ เซนติเมตร ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบมีกลิ่นฉุนมากกว่ากะเพรา ช่อดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งดอก มี ๒-๕ ช่อดอก/ซอก สีม่วงอมฟ้า กลีบดอกยาว ๖-๘ มิลลิเมตร ผลทรงระฆังคล้ายผลกะเพราแต่มีขนาดใหญ่กว่า ยาว ๖-๑๐ มิลลิเมตร มีสัน ๑๐ สัน ตามแนวยาว ปลายผลเป็นติ่งหนามแหลม ๕ แห่ง, ขึ้นตามที่รกร้าง ไร่นา ชายป่าดงดิบ หรือป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๐๐๐ เมตร พบมากในประเทศไทยตอนบนหรือที่มีฤดูแล้งมากกว่า ๔ เดือน
-
ไม้พุ่ม
-
ไม้ล้มลุก อายุปีเดียวสูง 0.5-1 เมตร มีกลิ่น ลำต้นและกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม ผิวมีขนอุย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ยาว 0.5-4 เซนติเมตร กว้าง 0.5-3 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบหยักมนหรือหยักซี่ฟันเลื่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.1-2 เซนติเมตร ผิวมีขน ช่อดอกแบบช่อกระจุก ในแต่ละช่อมี 2-3 ดอก ดอกย่อยแบบรูปปากเปิด กลีบเลี้ยงสีเขียว เชื่อมกันเป็นถ้วยที่ฐานยาว 1-2 มิลลิเมตร มีสัน 10 สันรอบ ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก แต่ละคล้ายกรงเล็บยาว 1-2 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอกสีม่วง เชื่อมกันเป็นหลอดที่ฐานยาว 3-4 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผิวด้านนอกมีขน กลีบปากบนมี 2 กลีบ รูปช้อนยาว 2.5-3 มิลลิเมตร กว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร ใกล้ฐานแฉกกลีบมีวงกลมสีขาวภายในวงกลมมีเส้นสีม่วงผ่ากลางวง กลีบปากล่างมี 3 กลีบ กลีบด้านข้างรูปรียาว 1-1.5 มิลลิเมตร กว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร กลีบกลางคล้ายเรือยาว 1-1.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-1มิลลิเมตร เกสรเพศผู้แบบสองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้ขนาดสั้น ติดอยู่บริเวณฐานกลีบกลางของกลีบปากด้านล่าง อับเรณูสีน้ำตาลเข้ม รูปรักบี้ยาว 0.8-1 มิลลิเมตร ติดกับก้านชูเกสรที่ด้านหลัง ก้านชูเกสรเป็นแท่งยาว 1-1.8 มิลลิเมตร มีขนที่ปลายก้านชูเกสรติดกับอับเรณู เกสรเพศผู้ขนาดยาว ติดอยู่บริเวณกลางของหลอดกลีบดอก อับเรณูสีน้ำตาลเข้มรูปรักบี้ยาว 0.8-1 มิลลิเมตร ติดกับก้านชูเกสรที่ด้านหลัง ก้านชูเกสรเป็นแท่งยาว 2-2.5 มิลลิเมตร มีขนที่ปลายก้านชูเกสรติดกับอับเรณู เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปกลมมี 2 อันประกบกันแต่ละอันยาว 0.5-0.8 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรเพศเมียเป็นแท่งยาว 3-5 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียเป็นก้อนกลมมี 2 ก้อน ผลแคปซูล ยาว 0.3-1 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ เมล็ดมี 2 อัน สีน้ำตาลเข้ม รูปค่อนข้างกลม ยาว 3-5 มิลลิเมตร กว้าง 2-3 มิลลิเมตร
การกระจายพันธุ์ :
-
มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกากลาง และกระจายพันธุ์ไปสู่ประเทศในเขตร้อนอื่นๆ พบตามพื้นที่แห้ง เปิดโล่ง ริมลำน้ำ ริมถนน เนินทราย และพื้นที่การเกษตรที่ถูกทิ้งร้าง ระดับความสูง 0-1300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ออกดอกตลอดปี ในช่วงฤดูแล้งจะทิ้งใบ
-
มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกากลาง และกระจายพันธุ์ไปสู่ประเทศในเขตร้อนอื่นๆ พบตามพื้นที่แห้ง เปิดโล่ง ริมลำน้ำ ริมถนน เนินทราย และพื้นที่การเกษตรที่ถูกทิ้งร้าง ระดับความสูง 0-1300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ออกดอกตลอดปี ในช่วงฤดูแล้งจะทิ้งใบ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
ถิ่นกำเนิด :
-
เขตร้อนในทวีปอเมริกา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ที่มาของข้อมูล
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช