ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-6 เมตร ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-12 ซม. ขอบใบหยัก ห่างๆ ดอก สีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบ ขนาดดอก บานเต็มที่ กว้าง 8 มม. กลีบรองดอกขนาดเล็กมาก โคนเชื่อมกัน กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ เกสรผู้ 3 อัน รังไข่ขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม ผล ทรงกลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลสุกสีแดง หรือแดงอมส้ม มี 1 เมล็ด
- ไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบ ขอยหยักหยาบๆ ดอกออกเป็นกลุ่มหรือช่อสั้นๆ ที่ง่ามใบ โคนก้านดอกมีใบประดับเล็ก ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง หรือเหลือง กลีบเลี้ยงเล็กมาก โคนติดกันคล้ายจาน ขอบหยัก 5 หยัก กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ป้อม ผลค่อนข้างกลมหรือรี ผลสุกสีแดงหรือแดงอมส้ม มี 1 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม
- ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-6 เมตร ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-12 ซม. ขอบใบหยัก ห่างๆ ดอก สีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบ ขนาดดอก บานเต็มที่ กว้าง 8 มม. กลีบรองดอกขนาดเล็กมาก โคนเชื่อมกัน กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ เกสรผู้ 3 อัน รังไข่ขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม ผล ทรงกลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลสุกสีแดง หรือแดงอมส้ม มี 1 เมล็ด
- ต้นกำแพงเจ็ดชั้น จัดเป็นไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง มีความสูงของต้นประมาณ 2-6 เมตร เปลือกต้นเรียบ มีสีเทานวล ด้านในเนื้อไม้มีวงปีเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้นเห็นได้ชัดเจน เรียงซ้อนกันอยู่ประมาณ 7-9 ชั้น
การกระจายพันธุ์ :
- ประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบริมแหล่งน้ำหรือที่โล่ง ที่ระดับ ความสูงถึง 600 เมตร
- ประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบริมแหล่งน้ำหรือที่โล่ง ที่ระดับ ความสูงถึง 600 เมตร
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสียน
- อุทยานแห่งชาติ เขาพระวิหาร
- อุทยานแห่งชาติ ภูกระดึง
- ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม สุราษฎร์ธานี
- สุรินทร์
- บ้านทำนบ หมู่ที่ 4 ต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ
- เลย
- สุราษฎร์ธานี
- ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน
- สุรินทร์
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- อาหาร,สมุนไพร,ผลรับประทานได้
- ลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น ช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 1-2 ช้อนชา ช่วงเช้าและเย็น หรืออีกสูตรให้ใช้ผสมเข้ากับเครื่องยารากชะมวง รากตูมกาขาว และรากปอก่อน (ลำต้น) หรือจะใช้รากนำมาต้มหรือดองเป็นสุราไว้ดื่มก็ได้ เช่นกัน ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน แก้โลหิตจาง ด้วยการ ใช้ต้นผสมเข้ายากับเปลือกต้นมะดูก (ต้น) หรือจะใช้รากนำมาต้มหรือดองสุราดื่ม ก็ช่วยดับ พิษร้อนของโลหิตเช่นกัน เถากำแพงเจ็ดชั้นช่วยบำรุงหัวใจ รากใช้ต้มหรือดองกับสุราดื่ม ช่วยบำรุงน้ำเหลือง ช่วยแก้อาการผอมแห้งแรงน้อย (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก) ช่วยแก้เบาหวานด้วยการใช้ลำต้นผสมเข้ากับเครื่องยาแก่นสัก รากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็น ใต้หัวร้อย และหญ้าชันกาดทั้งต้น (ต้น) ส่วนในกัมพูชาจะใช้เถาของ ต้นกำแพงเจ็ดชั้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคเบาหวาน รากมีรสเมาเบื่อฝาด ใช้ต้มหรือดองกับสุราดื่ม ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์รากช่วยรักษาโรคตา ต้นและเถาช่วยแก้ไข้
ที่มาของข้อมูล
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ