Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Rhynchobatus palpebratus
Rhynchobatus palpebratus
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Status:
ACCEPTED
ชื่อสามัญ::
-
Eyebrow wedgefish
-
Eyebrow Wedgefish
ชื่อไทย:
-
โรนันจุดขาว, โรนันคิ้วดำ, โรนันคิ้วขาว, โรนัน
-
โรนันคิ้วขาว
-
ปลาโรนันจุดขาว, ปลาโรนันคิ้วดำ
ปีที่ตีพิมพ์:
2563
ที่มา :
Compagno and Last (2008)
ปรับปรุงล่าสุด :
13 ก.พ. 2567
วันที่อัพเดท :
18 ธ.ค. 2566 10:07 น.
วันที่สร้าง:
18 ธ.ค. 2566 10:07 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
- ขนาดความยาว สูงสุด 262 ซม. ขนาดทั่วไปที่พบ 70-90 ซม. ขนาดสมบูรณ์เพศของเพศผู้ 103 ซม.
- ปลายจะงอยปากแหลมรูปลิ่ม ส่วนใหญ่ครีบหลังอันแรกมีจุดเริ่มต้นอยู่ตรงกับจุดเริ่มต้นครีบท้อง แต่บางตัวอาจอยู่หน้าหรือหลังจุดเริ่มต้นครีบท้องเล็กน้อย มีเส้นโค้งสีดำที่เปลือกตาด้านบน บางตัวมีจุดดำเป็นคู่อยู่ตอนท้ายรูช่วยหายใจ ด้านล่างปลายจะงอยปากมีรอยด่างสีดำจางๆ เป็นกลุ่มใหญ่ และมีกระดูกสันหลังจำนวน 130-147 ข้อ ลำตัวสีน้ำตาลเทา ถึงน้ำตาลออกเหลือง มีจุดสีขาว 4-5 จุดรอบจุดสีดำที่อยู่ตอนท้ายของส่วนหัว ซึ่งพบประปรายถึงเหนือครีบท้อง และมีเส้นสีขาวทอดยาวข้างลำตัวตั้งแต่ท้ายครีบหลังถึงโคนหาง ส่วนด้านท้องมีสีขาว
- มีรายงานข้อมูลชีววิทยาของปลาชนิดนี้น้อยมาก ซึ่งเป็นชนิดที่ออกลูกเป็นตัว โดยตัวอ่อนได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดง ส่วนใหญ่กินปลาขนาดเล็ก หอย กุ้งและปูเป็นอาหาร
ระบบนิเวศ :
-
บริเวณพื้นท้องทะเลที่เป็นโคลนหรือทรายตามชายฝั่งทะเลและแนวปะการัง จนถึงระดับความลึกน้ำ 61 เมตร
การกระจายพันธุ์ :
-
ในเขตน่านน้ำไทย พบเฉพาะทางฝั่งทะเลอันดามัน
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์
-
เนื้อนำมาบริโภค หรือแปรรูปตากแห้ง และครีบใช้ทำหูฉลามตากแห้ง
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened: NT (IUCN, 2019)
สถานภาพการคุกคาม (ไทย) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง Critically Endangered: CR (ONEP, 2563)
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ Endangered: EN (ONEP, 2560)
บัญชีแนบท้ายประกาศอนุสัญญา Cites
CITES โลก
- บัญชีหมายเลข II (ประกาศใช้เมื่อ 2019-11-26)
CITES ไทย
ที่มาของข้อมูล
ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง, 2560, กรมประมง
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 24 (ฉบับที่ 2) พฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ.2562
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2563.
IUCN Red List
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Wollastoniella dichroma
แมงมุมตกปลา
Bos
แมลงวันหลังลาย
Sacrophaga sp.
Caulerpa taxifolia
Panellus tonlinensis
Laelaps echidinus
Previous
Next