Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Hesperethusa crenulata
Hesperethusa crenulata
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Hesperethusa crenulata
(Roxb.) Roem.
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย::
-
ต้นพนิยา กระแจะจัน ขะแจะ (ภาคเหนือ), ตุมตัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, บ้างก็ว่าภาค กลาง), พญายา (ราชบุรี, ภาคกลาง), ตะนาว (มอญ), พินิยา (เขมร), กระแจะสัน, จุมจัง, จุมจาง,ตูมตัง, จัง, จุมจาง, ชะแจะ, พุดไทร, ฮางแกง, ทานาคา
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Sapindales
วงศ์::
Rutaceae
สกุล:
Naringi
วันที่อัพเดท :
25 ธ.ค. 2567 09:33 น.
วันที่สร้าง:
25 ธ.ค. 2567 09:33 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ใบ - ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 4-13 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ โคนและปลายใบมีลักษณะสอบแคบ ส่วนขอบใบเป็นซี่ฟันเลื่อยแบบตื้นๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก มีลักษณะเป็นครีบออกทั้งสองข้างและเป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ของใบย่อย เนื้อใบมีลักษณะบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายกับแผ่นหนัง ผิวเนียน เกลี้ยง เมื่อส่องดูจะเห็นต่อมน้ำมันเป็นจุดใสๆ กระจายอยู่ทั่วไป ส่วนเส้นแขนงของใบมีอยู่ประมาณข้างละ 3-5 เส้น และก้านช่อใบยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยไม่มี
ดอก - ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ รวมกันเป็นกระจุกตามซอกใบหรอตามกิ่งเล็กๆ ดอกมีขนสั้นนุ่มและเป็นสีขาวหรือสีขาวอมสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ ดอกเมื่อบานแล้วจะแผ่ออกหรือลู่ไปทางส่วนของก้านเล็กน้อย กลีบดอกเกลี้ยง มีต่อมน้ำมันอยู่ประปราย ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่แกมรูปรี มีความกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวน 8 ก้าน มีความยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ยาวเกือบเท่ากันหรือสลับกันระหว่างสั้นกับยาว เกลี้ยง ส่วนก้านชูอับเรณูมีลักษณะเป็นรูปลิ่มแคบ อับเรณูเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ที่ปลายเป็นติ่งแหลมสั้นถึงติ่งแหลมอ่อน และรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ เกือบกลม ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เกลี้ยงและมีต่อมน้ำมัน โดยจะมีอยู่ 4 ช่อง ซึ่งในแต่ละช่องจะมีออวุลอยู่ 1 เมล็ด ส่วนก้านเกสรตัวเมียจะยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีต่อมน้ำมันอยู่ใต้ยอดเกสรตัวเมีย โดยยอดเกสรตัวเมียส่วนปลายจะแยกเป็นแฉก 5 แฉก จานฐานดอกเกลี้ยง มีก้านช่อดอกยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร และก้านดอกยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร มีลักษณะเกลี้ยงหรือมีขน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีอยู่ 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปคล้ายสามเหลี่ยม มีความกว้างและความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม ผิวด้านในเกลี้ยง ส่วนผิวด้านนอกมีขนละเอียดและมีต่อมน้ำมัน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผล - ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ผลเมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียว แต่เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ ในผลมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-4 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอมสีส้มอ่อน ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลมและมีความกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร
ส่วนก้านยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น โดยกิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะเกลี้ยง ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาว เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม หนามมีลักษณะแข็งและยาว โดยหนามจะออกแบบเดี่ยวๆ หรือออกเป็นคู่ๆ และยาวได้ถึง 2.5 เซนติเมตร เนื้อไม้เมื่อตัดมาใหม่ๆ จะเป็นสีขาวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน หากทิ้งไว้นานๆ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
สุรินทร์
ที่มาของข้อมูล
โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น, กองทุนสิ่งแวดล้อม, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
ตาไก่เบตง
Ardisia betongensis
Dalbergia junghuhnii
Impatiens macrosepala
Hapaline brownii
Pertusaria novaeguineae
Korthalsia rostrata
Previous
Next