Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Caesalpinia bonduc
Caesalpinia bonduc
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Caesalpinia bonduc
Linnaeus, 1753
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย::
-
สวาด
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Fabales
วงศ์::
Fabaceae
สกุล:
Caesalpinia
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิ.ย. 2566
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิ.ย. 2566
วันที่อัพเดท :
30 มิ.ย. 2564 18:58 น.
วันที่สร้าง:
30 มิ.ย. 2564 18:58 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้เลื้อย (Climber)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้หนามพาดเลื้อยยาว 5-15 ม. ลำต้น กิ่งและแกนช่อใบ มีขนสั้นนุ่มและหนามงองุ้ม รูปตะขอสั้นคล้ายหนามกุหลาบปกคลุม
ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียนสลับ ประกอบด้วยแขนงช่อใบย่อยแบบขนนกปลายคู่ 6-11 คู่ เรียงตรงข้าม และมีช่อใบย่อย 6-12 คู่ แผ่นใบย่อยรูปรี รูปขอบขนานแกมรูปรี หรือรูปไข่แกมรูปรี ขนาด 1-2x2-4 ซม. โคนใบกลมถึงกลมเยื้อง ขอบใบเรียบและเป็นขนครุย ปลายใบเป็นติ่งหนามสั้น เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบราบ เส้นแขนง 5-7 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เนื้อใบบาง ผิวใบสีเขียวหม่น มีขนสั้นนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน หูใบใหญ่ ขอบหยัก ลักษณะคล้ายใบประกอบแบบขนนก 3-5 ใบย่อย
ดอก แบบช่อเชิงลดมีก้านหรือช่อเชิงลดมีก้านแยกแขนง ออกเหนือง่ามใบ แกนช่อดอกยาวถึง 50 ซม. มีหนามงองุ้มคล้ายหนามกุหลาบและขนสั้นนุ่มปกคุลมหนาแน่น แต่ละช่อประกอด้วย ดอกย่อยจำนวนมาก ใบประดับขนาดเล็ก รูปแถบ ปลายโค้งลง ดอกไม่สมบูรณ์เพศขึ้นกับการฝ่อของเกสรเพศผู้หรือเพศเมีย รูปดอกนนทรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม ออกดอกระหว่างเดือน กรกฎาคม-ตุลาคม
ฝัก แบบฝักถั่ว (ฝักพองมีหลายเมล็ด) รูปทรงขอบขนาน ขนาด 3-5x5-7 ซม. โคนฝักคอดสอบเข้าหากัน ปลายฝักมนกลมและมีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ ผิวฝักมีหนามแหลมและขนแข็งปกคลุม ฝักแก่จัดแตกตามรอบตะเข็บ เมล็ดรูปทรงกลมถึงรูปทรงไข่ ยาว 1.5-2 ซม. ผิวเกลี้ยง สีเทาเป็นมันมี 1-2 เมล็ด ฝักแก่ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-เมษายน
การกระจายพันธุ์ :
-
กระจายกว้างขวางทั่วเขตร้อน ทวีปเอเชียพบทั่วไปในประเทศเนปาล สิกขิม อินเดีย ศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนใต้ของจีน และหมู่เกาะใกล้เคียง
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์
ที่มาของข้อมูล
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Coelachne simpliciuscula
Syzygium samarangense
Caryota maxima
Bulbophyllum rufinum
Calanthe triplicata
Psilotrichopsis curtisii
Previous
Next