Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Rhynchosia supercens
Rhynchosia supercens
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Senna hirsuta
(L.) H.S.Irwin & Barneby
ชื่อไทย:
-
มะแฮะเถา
ชื่อท้องถิ่น::
-
มะแฮะเถา (เลย)
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Fabales
วงศ์::
Fabaceae
สกุล:
Rhynchosia
ปีที่ตีพิมพ์:
2548
วันที่อัพเดท :
12 มี.ค. 2567 10:55 น.
วันที่สร้าง:
12 มี.ค. 2567 10:55 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นเป็นเถาคลุมดินและทอดเลื้อยพัน ใบดก ลำต้นสีเขียวมีสีน้ำตาลแดงปน มีขนสีน้ำตาลยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตรปกคลุมหนาแน่น ใบมี 3 ใบย่อยมีก้านใบ (pinnately trifoliate) ใบเป็นแบบรูปไข่ (ovate) ใบบนโคนใบกลม (rounded) ใบคู่ข้างโคนใบเบี้ยว (unique) ปลายใบแบบติ่งหนามสั้น (macronulate) เส้นใบจัดเรียงแบบร่างแห (reticulate) ใบสีเขียวอ่อน หน้าใบและหลังใบมีขนละเอียดสีขาวยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ปกคลุมหนาแน่น ผิวใบอ่อนนุ่ม (tender) และมีรอยย่น (rugose) ช่วงกลางวันอุณหภูมิสูงขึ้นแผ่นใบจะห่อตัวเข้า ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) มีขนยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ฝักแก่สีน้ำตาลมีขนปกคลุมจำนวนมากและแตกเป็นสองซีก สีน้ำตาลดำมีลายสีน้ำตาลประปราย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 10.5-15 มิลลิเมตร ใบบนยาว 3.72-4.48 เซนติเมตร กว้าง 3.06-3.5 เซนติเมตร ใบข้างยาว 3.16-3.66 เซนติเมตร กว้าง 2.54-3.02 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3-3.5 เซนติเมตร หูใบ (stipule) รูปหนามเล็กๆ (spinous) ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร มีก้านดอกยาว 1-1.5 เซนติเมตร กลุ่มดอกออกตามซอกใบมี 2-3 ดอก ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่วยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กลีบดอกสีเหลือง ปลายยอดฝักมีติ่งหนามแข็งสั้นๆ ฝักมีกาบรองดอก (bract) รูปไข่แกมขอบขนานยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร หุ้มอยู่จำนวน 5 กาบ ฝักแบบฝักถั่ว (loment) มีข้อเดียว ยาว 0.9-1.2 เซนติเมตร กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร มีเมล็ดเดียวรูปกลมค่อนข้างแบน ยาวประมาณ 3.5 มิลลิเมตร กว้าง 3.5 มิลลิเมตร หนา 1 มิลลิเมตร
การกระจายพันธุ์ :
-
พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ดินเหนียวปนลูกรัง พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 600 เมตร
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
พื้นที่ บ้านปวนพุ กิ่งอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย
การขยายพันธุ์ :
-
ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด
ที่มาของข้อมูล
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 2
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Salacia laotica
Calanthe anthropophora
ต้นใบหูด
Helwingia himalaica
Crotalaria larsenii
มะจ้ำก้อง
Ardisia colorata
Odontochilus poilanei
Previous
Next