Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Cynodon arcuatus
Cynodon arcuatus
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Cynodon arcuatus
J.Presl & C. Presl
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย:
-
หญ้าแพรกป่า(ชาญชัย)
ชื่อท้องถิ่น::
-
หญ้าแพรกป่า (ชาญชัย)
อาณาจักร::
Plantae
วงศ์::
Poaceae
วันที่อัพเดท :
1 ธ.ค. 2564 03:17 น.
วันที่สร้าง:
1 ธ.ค. 2564 03:17 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นหญ้ามีอายุหลายปีขึ้นในที่ร่มแดดรำไรชายป่า ลำต้นกึ่งตั้งกึ่งแผ่ แตกรากตามข้อที่ติดพื้นดิน มีต้นใหม่ เกิดขึ้นตามข้อ ทำให้กอมีลักษณะค่อนข้างแน่น ลำต้นเรียบ กลม สีเขียว ข้อเรียบสีเขียวปนม่วง ใบเป็นแบบรูปใบหอก (lanceolate) ส่วนโคนกว้างและเรียวไปที่ปลายใบ ส่วนปลายใบแหลม ใบเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย ขอบใบสีม่วง มีรอยหยักแบบฟันเลื่อยถี่สั้นๆ (serrulate) หน้าใบมีขนเล็กน้อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร หลังใบไม่มีขน กาบใบเรียบ สีเขียวอ่อนกว่าสีใบ ลิ้นใบเป็นแผ่นปลายขอบลุ่ยเป็นเส้น (membranous-frayed) ยาว 0.5-1 มิลลิเมตร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบมีช่อดอกย่อย (raceme) ออกจากจุดเดียวกัน (digitate panicle) ลักษณะของช่อดอกที่บาน ปลายช่อดอกย่อยแต่ละช่อจะโค้งอ่อนลงเล็กน้อยคล้ายร่มที่กางออก ขนาดของช่อดอกใหญ่และยาวกว่าช่อดอกหญ้าแพรก (Cynodon dactylon) ประมาณ 3 เท่า กลุ่มดอก (spikelet) มีขนาดเล็กสีเขียวปนม่วงอ่อนลักษณะแบน ไม่มีก้านดอกประกอบด้วยดอกย่อย (floret) 2 ดอก มีหนึ่งดอกที่สมบูรณ์เพศส่วนอีกดอกหนึ่งหดเสื่อมเป็นเพียงติ่งแนบติดกับดอกสมบูรณ์เรียงเป็นแถวเดียว ติดกันบนแกน ช่อดอกย่อย (rachis) ดอกแก่มีจำนวนมากช่วงเดือนมิถุนายน กันยายน ตุลาคม เมล็ดร่วงง่าย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ความสูงของต้น 51.5-61.2 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.35-1.65 มิลลิเมตร ขนาดใบยาว 10.28-17.02 เซนติเมตร กว้าง0.67-0.79 เซนติเมตร กาบใบยาว 3.3-5.3 เซนติเมตร ช่อดอกรวมยาว 29.5-39.5 เซนติเมตร ส่วนHeadยาว 6.5-10.5 เซนติเมตร ส่วนของHeadยาว 6.5-10.5 เซนติเมตร มี จำนวน 5-11 ช่อย่อย (raceme)
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สุราษฎร์ธานี, เลย, นครราชสีมา
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านสวนห้อม ตำบลปวนพุ กิ่งอำเภอหนองเสือ จังหวัดเลย ตำบลหนองสรวง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา
สถานที่ชม :
-
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา
ที่มาของข้อมูล
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 2
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
บอน
Colocasia eaculenta
-
Chloris virgata
Paraboea quercifolia
Winitia thailandana
จำปี
Michelia alba DC.
Eugenia rhomboidea
Previous
Next