Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Stegostoma tigrinum
Stegostoma tigrinum
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Stegostoma tigrinum
(Forster, 1781)
Status:
SYNONYM
ชื่อสามัญ::
-
Zebra shark
-
Leopard shark, Zebra shark
-
Zebra shark, Leopard shark, Sea tiger
ชื่อไทย::
-
ฉลามเสือดาว
-
ปลาฉลามเสือดาว
-
ฉลามเสือดาว, ฉลามลายเสือดาว, ฉลามม้าลาย, ฉลามเสือ, เสือทะเล, ฉลามลาย
อาณาจักร::
Animalia
ไฟลัม::
Chordata
ชั้น::
Elasmobranchii
อันดับ:
Orectolobiformes
วงศ์::
Stegostomatidae
สกุล:
Stegostoma
ปีที่ตีพิมพ์:
2563
ที่มา :
ทัศพล (2562), Last et al. (2010a), Ebert et al. (2021)
ปรับปรุงล่าสุด :
19 เม.ย. 2567
ที่มา :
Sirachai Arunrugstichai
ปรับปรุงล่าสุด :
27 มิ.ย. 2566
วันที่อัพเดท :
10 มี.ค. 2564 16:54 น.
วันที่สร้าง:
10 มี.ค. 2564 16:54 น.
ข้อมูลทั่วไป
ระบบนิเวศ :
-
Marine
-
พื้นที่แนวหินและแนวปะการัง, ชายฝั่งทะเล, เขตน้ำขึ้น-น้ำลง, ไหล่ทวีป และเขตที่ระดับความลึก 5-90 (ส่วนใหญ่ 5-30) เมตร, แหล่งน้ำกร่อย ได้แก่ ปากแม่น้ำ ป่าโกงกาง และทะเลสาบสงขลา, แม่น้ำ
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาขนาดกลาง มีความยาวตลอดตัวประมาณ 2.50 เมตร พบความยาวสูงสุด 3.54 เมตร อาศัยบริเวณพื้นทรายในแนวปะการัง มักพบอยู่รวมกัน 20-50 ตัว มีหัวโต ตาเล็ก มีหนวดที่จมูก 1 คู่ ยาวถึงปาก ปากอยู่ด้านล่างของส่วนหัว เป็นแนวเส้นตรง มีร่องเชื่อมต่อระหว่างปากและจมูก ริมฝีปากล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม และมีร่องที่มุมปาก ปลายจะงอยปากทู่ โค้งมน ปลาฉลามเสือดาวมีสันนูนตามยาวลำตัว 5 แถว ลำตัวเป็นหนังหนามีเกล็ดเป็นตุ่มแข็ง มีสีน้ำตาลหรือเหลืองอ่อน มีจุดสีดำ หรือ น้ำตาลเข้มกระจายตั้งแต่หลังตาไปถึงปลายหาง ลักษณะการกระจายตัวของจุดเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการระบุตัวตนได้ (Individual identification) ด้านท้องมีสีขาว มีช่องเหงือกสั้น ครีบอกขนาดใหญ่ ครีบหลัง 2 อันอยู่ใกล้กัน ครีบหางใหญ่ยาวมาก เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 50 ของความยาวตลอดตัว ครีบหางไม่มีแพนหางตอนล่าง
-
ความยาว 250 (สูงสุด 354) ซม. ขนาดสมบูรณ์เพศของปลาเพศผู้ 145-185 ซม. เพศเมีย 169-171 ซม. ขนาดแรกเกิดของลูกปลา 20-36 ซม. ออกลูกเป็นไข่ (egg case) ประมาณ 2-4 ฟอง ความยาวเปลือกไข่ 13-17 ซม. โดยตัวอ่อนได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดง (yolk sac) อาศัยและหากินบริเวณแนวหินและแนวปะการัง อพยพไปมาระหว่างเขตน้ำเค็มและน้ำจืดในบางช่วงของชีวิต แต่ไม่ใช่เพื่อการผสมพันธุ์
การกระจายพันธุ์ :
-
พบปลาฉลามเสือดาวแพร่กระจายอยู่ในทะเลเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก และบางส่วนของมหาสมุทรอินเดีย อาศัยและหากินบริเวณพื้นทะเลทั้งใกล้และไกลฝั่ง และบริเวณแนวปะการังน้ำตื้น โดยเฉพาะพื้นทราย ความลึกไม่เกิน 62 เมตร
-
พบทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ชุมพร,สุราษฎร์ธานี,พังงา,ภูเก็ต,กระบี่,สตูล
การขยายพันธุ์ :
-
ปลาฉลามเสือดาวเพศผู้เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีความยาวตลอดตัว 1.45 – 1.87 เมตร ตัวเมีย 1.69 – 1.71 เมตร ออกลูกเป็นไข่ (Oviparous species) โดยตัวอ่อนได้รับสารอารหารจากถุงไข่แดง ออกลูกครั้งละ 2-4 ฟอง ไข่ (egg case) ขนาดใหญ่มีความยาว 13-17 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นกระเปาะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่ปลายมีเส้นใยสำหรับยึดเกาะวัตถุใต้น้ำ ขนาดปลาแรกเกิดมีความยาว 20-36 เซนติเมตร
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (ไทย) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ Endangered: EN (ONEP, 2563)
สถานภาพการคุกคาม (ไทย) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ Endangered: EN (ONEP, 2563)
ข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
1
PRJNA1078790
1078790
2
PRJNA1008742
1008742
3
PRJNA986595
986595
4
PRJNA986594
986594
5
PRJNA844100
844100
6
PRJNA703743
703743
7
PRJNA313546
313546
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
ที่มาของข้อมูล
ปลากระดูกอ่อนของไทยและน่านน้ำใกล้เคียง, ทัศพล กระจ่างดารา และคณะ, กรมประมง, 2565
รายงาน สัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ กลุ่มปลากระดูกอ่อนบางชนิดที่ได้รับการประกาศเป็นสัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าคุ้มครอง ในรอบ 6 ปี พ.ศ. 2559-2564, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2563.
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Cetonia rhododendri
หอยลูกข่างกาเลีย
Ganesella galea
Cerithidea charbonnieri
Dromidiopsis indica
Nemocardium torresi
Littoraria bengalensis
Previous
Next