ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ลำดับที่ 188 ต้องดำเนินงานตามมติและพันธกรณี โดยตามมาตรา 7(a) ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ กำหนดให้ภาคีจำแนก วินิจฉัยองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญสำหรับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนโดยพิจารณารายการซึ่งระบุตามประเภทชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธ์ ชนิดพันธุ์หายาก และชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นหรือชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานประสานงานกลางระดับชาติของอนุสัญญาฯ ได้จัดทำสถานภาพสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ถูกคุกคามของประเทศ กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาแล้ว และได้ดำเนินการปรับปรุงสถานภาพสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยผ่านกระบวนการรวบรวมและรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ นักอนุกรมวิธานในแต่ละด้าน นักวิจัย ตลอดจนหน่วยงาน สถาบันการศึกษา และองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้อง เพื่อให้ประเทศไทยมีข้อมูลสถานภาพสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ถูกคุกคามสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสถานภาพในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง รวมถึงการปรับปรุงกลไก มาตรการอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟู และติดตามการเปลี่ยนของชนิดพันธุ์พืชนำไปสู่การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
สูญพันธุ์ (Extinct: EX) ชนิดพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการตายของชนิดพันธุ์นี้ตัวสุดท้าย
สูญพันธุ์ในธรรมชาติ (Extinct in the wild: EW) ชนิดพันธุ์ที่ไม่มีรายงานว่าพบอาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically endangered: CR) ชนิดพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์จากพื้นที่ธรรมชาติในขณะนี้
ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered: EN) ชนิดพันธุ์ที่กำลังอยู่ในภาวะอันตรายที่ใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลกหรือสูญพันธุ์ไปจากแหล่งที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ ถ้าปัจจัยต่าง ๆที่เป็นสาเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ยังดำเนินต่อไป
มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) ชนิดพันธุ์ที่เข้าสู่ภาวะใกล้สูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ ถ้ายังคงมีปัจจัยต่างๆ อันเป็นสาเหตุให้ชนิดพันธุ์นั้นสูญพันธุ์
ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) ชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มอาจถูกคุกคามในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ยังไม่มีผลกระทบมาก
เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) ชนิดพันธุ์ที่ยังไม่อยู่ในภาวะถูกคุกคามและพบเห็นอยู่ทั่วไป
ข้อมูลไม่เพียงพอ (Data Deficient: DD) ชนิดพันธุ์ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์โดยตรงหรือโดยอ้อม ชนิดพันธุ์กลุ่มนี้มีความจำเป็นต่อการจัดหาความรู้เพิ่มเติมจากการศึกษาวิจัยในอนาคต
ยังไม่ได้รับการประเมินสถานภาพ (Not Evaluated: NE) ชนิดพันธุ์ที่ยังไม่มีการพิจารณาการประเมินสถานภาพ
ข้อมูลอนุกรมวิธาน เรียงตามชื่อวิทยาศาสตร์ A-Z
Amherstia nobilis
Datnioides pulcher
Ephippiorhynchus asiaticus
Pseudibis davisoni
Scleropages inscriptus
Tomistoma schegelii
Tomistoma schlegelii
ลำดับ | ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม | ชื่อสามัญ | ชื่อไทย | อาณาจักร | ไฟลัม | ชั้น | อันดับ | วงศ์ | สกุล |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม | ชื่อสามัญ | ชื่อไทย | อาณาจักร | ไฟลัม | ชั้น | อันดับ | วงศ์ | สกุล |