ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง–ปากน้ำตรัง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้ต้น (Tree)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง พูพอนต่ำแผ่เป็นครีบบิดไปมา มีรากหายใจคล้ายหมุดจำนวนมากกระจายรอบโคนต้น สูง 20-40 ซม.เปลือกเรียบถึงแตกเป็นร่องตามยาวหรือล่อนเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลอมเทา กิ่งแขนงกลมเรียว มีรอยแผลใบปรากฏเด่นชัด
ใบ เดี่ยว เรียงสลับห่างๆ กระจายทั่วกิ่ง แผ่นใบรูปรี รูปขอบขนานแกมรูปรี รูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ ขนาด 2.5-7x6.5-16 ซม. โคนใบมนและเยื้องเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมถึงมน เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบราบ สีเขียวอมเหลือง เส้นแขนง 10-12 คู่ มีเส้นใบระหว่างเส้นแขนงเด่น ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนรูปดาวเล็กๆ สีน้ำตาลอมเทาปกคลุมหนาแน่น เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีเงินอมน้ำตาลเรื่อถึงสีเงินอมสีสนิม แวววาว ก้านใบมีโคนและปลายป่อง ยาว 0.5-1.5 ซม. อวบและมีขนสีน้ำตาลเรื่อปกคลุม หูใบเล็กหลุดร่วงง่าย
ดอก ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้นเดียวกัน แบบช่อเชิงลดแยกแขนง ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกโปร่ง ยาว 2-8 ซม. มีขนรูปดาวสั้นนุ่มสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมหนาแน่น ประอด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกย่อยรูประฆัง สีแดงอิฐ ก้านดอกย่ย ยาว 0.5-1.2 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 0.4-0.6 ซม. มีขนสั้นนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน กลีบดอกไม่ปรากฏ ดอกเพศผู้จำนวนมาก กระจายทั่วช่อดอก ฐานดอกนูนออกด้านข้าง ตรงกลางบุ๋ม ก้านชูเกสรร่วมเป็นท่อเรียว ปลายยอด เป็นตุ่มและมีอับเรณูไร้ก้าน 8-10 อัน ติดเป็นวงกลมรอบปลายยอด ดอกเพศเมีย จำนวนน้อย มักแซมตามปลายช่อแขนง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปทรงรีเกลี้ยง ภายในแบ่งเป็น 4(5) ช่อง แต่ละช่อง มีไข่อ่อน 1 เมล็ด ก้านเกสรเพศเมียสั้น อวบอ้วน ยอดเกสรเป็นพูตื้นและโค้งพับลง
ผล แบบผลแห้งมีปีกเดียว รูปทรงไข่ถึงกลม ขนาด 3-5x4-6 ซม. ด้านข้างเป็นสันรอบ ด้านล่างแบนด้านบนโค้งขึ้น และมีสันตามยาว แผ่ออกไปทางปลายผล คล้ายครีบหรือปีกรูปช้อน เปลือกผลแข็งขรุขระ สีเขียวหม่น แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเขียว เนื้อผลเป็นเส้นใยอัดแน่น ผลแก่ไม่แตก ห้อยลงเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง มักมี 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ :
- เฉพาะในอ่าวเบงกอล หมู่เกาะอันดามัน และชายฝั่งตะวันตกของประเทศไทย