ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
ป่าชายเลนคุระบุรี, ชายฝั่งคุระบุรี
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
พังงา
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้น (Tree)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 10-20 ม. แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดแน่นทึบเป็นพุ่มหนา ทรงกลม ไม่สมมาตร ลำต้นเปลาตรงเป็นรูปทรงกรวยคว่ำ ไม่มีพูพอน เปลือกสีเทาถึงน้ำตาลอมเขียว เรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กน้อย ช่องอากาศกระจายทั่วไปตามลำต้น รากหายใจคล้ายรูปดินสอ สูง 15-25 ซม. แผ่กระจายหนาแน่นรอบโคนต้น กิ่งและลำต้นส่วนบนไม่เป็นสีสนิมหรือสีคล้ำ
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปรี รูปไข่กลับถึงรูปขอบขนานแกมรูปรี ขนาด 3-6x6-12 ซม. โคนใบแหลมถึงรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบทู่ถึงกลม เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบราบเสมอ แผ่นใบ เส้นแขนง 5-7 คู่ เส้นใบย่อยมองเห็นไม่ชัดเจน เนื้อใบอวบน้ำแกมเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีกากี มีขนสั้นหนานุ่ม สีเหลืองอมน้ำตาลปกคลุม ใบแห้งไม่เป็นสีดำ ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ด้านบนเป็นร่องตื้น รอยแผลที่ง่ามใบยาวน้อยกว่าครึ่งหนึ่งขงก้านใบ
ดอก แบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 2-6 ซม. ประกอบด้วยดอกย่อย 4-14 ดอก เรียงเป็นกระจุกแน่นที่ปลายก้าน ช่อดอกย่อยคู่แรกมักอยู่ห่างจากดอกอื่น ๆ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้ม รูปกงล้อ เยื้อง ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. ไม่มีก้านดอก ฐานดอกมีกาบรองดอกรูปไข่ นูน และมีกาบหุ้มดอกย่อยด้านข้าง 1 คู่ เรียงซ้อนเหลื่อมห่อหุ้มเอาไว้ ขอบกาบเป็นชายครุยแล้วเปลี่ยนเป็นสี กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่เรียงซ้อนเหลื่อมกัน ทั้งกาบรองดอกและกลีบเลี้ยงติดคงทน ไม่หลุดร่วงเมื่อเป็นผล กลีบดอก 4 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ รูปไข่แกมรูปรี แผ่บานออกแล้วโค้งลงเล็กน้อย ยาว 0.4-0.7 ซม. ออกดอกประมาณเดือน มกราคม-พฤษภาคม
ผล แบบผลแห้งแตกตามรอยประสานเป็นสองซีก รูปทรงหัวใจเบี้ยว ค่อนข้างแบน ขนาด 2-2.5x2.5-3 ซม. เปลือกผลบาง อ่อนนุ่ม เป็นรอยย่น มีขนสั้นนุ่มสีเหลืองอมน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ปลายผลเป็นจะงอยสั้น ผลแก่เปลือกจะแตกแล้วม้วนเป็นหลอด เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น มี 1 เมล็ด
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปรี รูปไข่กลับถึงรูปขอบขนานแกมรูปรี ขนาด 3-6x6-12 ซม. โคนใบแหลมถึงรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบทู่ถึงกลม เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบราบเสมอ แผ่นใบ เส้นแขนง 5-7 คู่ เส้นใบย่อยมองเห็นไม่ชัดเจน เนื้อใบอวบน้ำแกมเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีกากี มีขนสั้นหนานุ่ม สีเหลืองอมน้ำตาลปกคลุม ใบแห้งไม่เป็นสีดำ ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ด้านบนเป็นร่องตื้น รอยแผลที่ง่ามใบยาวน้อยกว่าครึ่งหนึ่งขงก้านใบ
ดอก แบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 2-6 ซม. ประกอบด้วยดอกย่อย 4-14 ดอก เรียงเป็นกระจุกแน่นที่ปลายก้าน ช่อดอกย่อยคู่แรกมักอยู่ห่างจากดอกอื่น ๆ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้ม รูปกงล้อ เยื้อง ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. ไม่มีก้านดอก ฐานดอกมีกาบรองดอกรูปไข่ นูน และมีกาบหุ้มดอกย่อยด้านข้าง 1 คู่ เรียงซ้อนเหลื่อมห่อหุ้มเอาไว้ ขอบกาบเป็นชายครุยแล้วเปลี่ยนเป็นสี กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่เรียงซ้อนเหลื่อมกัน ทั้งกาบรองดอกและกลีบเลี้ยงติดคงทน ไม่หลุดร่วงเมื่อเป็นผล กลีบดอก 4 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ รูปไข่แกมรูปรี แผ่บานออกแล้วโค้งลงเล็กน้อย ยาว 0.4-0.7 ซม. ออกดอกประมาณเดือน มกราคม-พฤษภาคม
ผล แบบผลแห้งแตกตามรอยประสานเป็นสองซีก รูปทรงหัวใจเบี้ยว ค่อนข้างแบน ขนาด 2-2.5x2.5-3 ซม. เปลือกผลบาง อ่อนนุ่ม เป็นรอยย่น มีขนสั้นนุ่มสีเหลืองอมน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ปลายผลเป็นจะงอยสั้น ผลแก่เปลือกจะแตกแล้วม้วนเป็นหลอด เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น มี 1 เมล็ด
-
ไม้ต้น
การกระจายพันธุ์ :
-
ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงนิวกีนี และชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย
ที่มาของข้อมูล
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ เล่มที่ 3 ความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง, ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มีนาคม 2549
-
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
-
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง