ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก (Small tree)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ต้นขนาดเล็กคล้ายไม้พุ่ม สูง 2-7 ม. เรือนยอดโปร่ง โคนต้นอวบหนา รูปทรงกรวยคว่ำ ไม่มีพูพอนและรากหายใจ รากค้ำยันสั้น นุ่ม เปลือกเรียบสีเทาถึงสีน้ำตาลอมแดง มีช่องอากาศกระจายทั่วไป
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง แผ่นใบรูปรี รูปขอบขนานแกมรูปรีถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ขนาด 3-5x7-16 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบมนถึงเว้าบุ๋มเล็กน้อย เส้นใบแบบร่างแหขนนก มองเห็นไม่ชัดเจน เส้นกลางใบยุบตัวถึงราบ เส้นแขนง 7-10 คู่มองเห็นลางๆ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีซีดกว่า เนื้อใบหนา ถึงอวบน้ำ ก้านใบยาว 1.5-3 ซม. ด้านบนเป็นร่องตื้น หูใบรูปแถบ ประกบกันเป็นคู่ที่ปลายกิ่งและมักบิดเป็นเกลียว ยาว 2-3 ซม.
ดอก แบบช่อกระจุกสองด้านหลายชั้นแตกเป็นง่าม ออกตามง่ามใบ ช่อดอกแตกระบบ 2 กิ่งแต่ละช่อมี 4-12 ดอก มีก้านดอกยาว 2-5 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.2-0.4 ซม. ดอกตูมรูปทรงกระบอกยาว 1.5-2 ซม. ใบประดับย่อยหนาคล้ายแผ่นหนัง 2-4 ใบ เชื่อมติดกัน เป็นรูปถ้วยรองรับที่ฐานดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยยาว 0.2 ซม. ปลายแยกเป็น 5(6) แฉก รูปแถบ ปลายแหลม ยาว 1.5 ซม. โค้งลงแล้วปลายกระดกขึ้น กลีบดอก 5(6) กลีบ รูปแถบ ขอบเกลี้ยง ปลายแยก 2 แฉก สีขาว เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก (30-40 อัน) แยกกันเป็นอิสระ ยาว 0.8-1.5 ซม. เรียงล้อมรอบเกสรเพศเมียคล้ายปลายพู่กัน เกสรเพศเมียสั้นกว่าเกสรเพศผู้ ยอดเกสรแยกเป็นแฉกสั้นๆ 3 แฉก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 1 ช่อง ภายในมีไข่อ่อน 6 เมล็ด ออกดอกระหว่างเดือน สิงหาคม–พฤศจิกายน
ผล แบบผลมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปทรงไข่กลับปลายคอด ยาว 2-3 ซม. สีเขียว ปกคลุมด้วยเกล็ด สีน้ำตาล กลีบเลี้ยงแข็งโค้งกลับเข้าหาขั้วผล เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ “ฝัก” เรียวยาวค่อนข้างตรง คล้ายทรงกระบอก ยาว 15-40 ซม.ส่วนปลายของโคนฝักเรียวแหลม ผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวอ่อน สีคล้ำเมื่อแก่ ผลแก่ระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง แผ่นใบรูปรี รูปขอบขนานแกมรูปรีถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ขนาด 3-5x7-16 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบมนถึงเว้าบุ๋มเล็กน้อย เส้นใบแบบร่างแหขนนก มองเห็นไม่ชัดเจน เส้นกลางใบยุบตัวถึงราบ เส้นแขนง 7-10 คู่มองเห็นลางๆ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีซีดกว่า เนื้อใบหนา ถึงอวบน้ำ ก้านใบยาว 1.5-3 ซม. ด้านบนเป็นร่องตื้น หูใบรูปแถบ ประกบกันเป็นคู่ที่ปลายกิ่งและมักบิดเป็นเกลียว ยาว 2-3 ซม.
ดอก แบบช่อกระจุกสองด้านหลายชั้นแตกเป็นง่าม ออกตามง่ามใบ ช่อดอกแตกระบบ 2 กิ่งแต่ละช่อมี 4-12 ดอก มีก้านดอกยาว 2-5 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.2-0.4 ซม. ดอกตูมรูปทรงกระบอกยาว 1.5-2 ซม. ใบประดับย่อยหนาคล้ายแผ่นหนัง 2-4 ใบ เชื่อมติดกัน เป็นรูปถ้วยรองรับที่ฐานดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยยาว 0.2 ซม. ปลายแยกเป็น 5(6) แฉก รูปแถบ ปลายแหลม ยาว 1.5 ซม. โค้งลงแล้วปลายกระดกขึ้น กลีบดอก 5(6) กลีบ รูปแถบ ขอบเกลี้ยง ปลายแยก 2 แฉก สีขาว เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก (30-40 อัน) แยกกันเป็นอิสระ ยาว 0.8-1.5 ซม. เรียงล้อมรอบเกสรเพศเมียคล้ายปลายพู่กัน เกสรเพศเมียสั้นกว่าเกสรเพศผู้ ยอดเกสรแยกเป็นแฉกสั้นๆ 3 แฉก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 1 ช่อง ภายในมีไข่อ่อน 6 เมล็ด ออกดอกระหว่างเดือน สิงหาคม–พฤศจิกายน
ผล แบบผลมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปทรงไข่กลับปลายคอด ยาว 2-3 ซม. สีเขียว ปกคลุมด้วยเกล็ด สีน้ำตาล กลีบเลี้ยงแข็งโค้งกลับเข้าหาขั้วผล เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ “ฝัก” เรียวยาวค่อนข้างตรง คล้ายทรงกระบอก ยาว 15-40 ซม.ส่วนปลายของโคนฝักเรียวแหลม ผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวอ่อน สีคล้ำเมื่อแก่ ผลแก่ระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
การกระจายพันธุ์ :
-
ประเทศอินเดีย พม่า หมู่เกาะอันดามัน ไทย ตะวันตกของมาเลเซีย ตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว กัมพูชา เวียดนาม เกาะไหหลำ ฮ่งง ไต้หวัน และตอนใต้ของหมู่เกาะริวกิว
พิพิธภัณฑ์
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |
---|---|---|---|
Dry | |||
Dry | |||
Dry | |||
Dry | |||
Dry | |||
Dry | |||
Dry | |||
Dry | |||
Dry | |||
Dry | |||
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |