ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้เลื้อยล้มลุก/ไม้เถาล้มลุก (Herbaceous Climber)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้เถาล้มลุก แตกกิ่งไม่เป็นระเบียบ มักทอดเลื้อยคลุมพื้นดิน ยาว 1-5 ม. กิ่ง ใบ และช่อดอกมีขนสั้นสีขาวปกคลุม สากมือ
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปถึงรูปใบหอก ขนาด 2-4x4-8 ซม. ใบที่อยู่ตาม ปลายยอดมีขนาดเล็ก โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายใบเรียวแหลม เส้นใบแบบร่างแหขนนก เนื้อใบคล้ายแผ่นหนังบาง ผิวใบมีขนสากปกคลุมทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบยาว 2-3 ซม. ด้านบนเป็นร่อง
ดอก แบบช่อเชิงลดกระจุกแน่น สีเหลือง คล้ายดอกเดี่ยวบนปลายก้านช่อดอก ออกตามง่ามใบ ใกล้ปลายยอดหรือออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. เรียงเป็น 2 วง ลักษณะคล้ายดอกดาวเรือง ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกรูปไข่กลับหรือรูปรางน้ำ ยาวประมาณ 0.8 ซม. ปลายกลีบหยักแหลมตื้นๆ 2-3 แฉก ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ออกดอกระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
ผล แบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงขอบขนาน ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.3 ซม. ปลายผลมีขนแข็งเป็นพู่ และมีรยางค์เป็นหนามแข็ง 1 อัน ยาวประมาณ 0.2 ซม.
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปถึงรูปใบหอก ขนาด 2-4x4-8 ซม. ใบที่อยู่ตาม ปลายยอดมีขนาดเล็ก โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายใบเรียวแหลม เส้นใบแบบร่างแหขนนก เนื้อใบคล้ายแผ่นหนังบาง ผิวใบมีขนสากปกคลุมทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบยาว 2-3 ซม. ด้านบนเป็นร่อง
ดอก แบบช่อเชิงลดกระจุกแน่น สีเหลือง คล้ายดอกเดี่ยวบนปลายก้านช่อดอก ออกตามง่ามใบ ใกล้ปลายยอดหรือออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. เรียงเป็น 2 วง ลักษณะคล้ายดอกดาวเรือง ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกรูปไข่กลับหรือรูปรางน้ำ ยาวประมาณ 0.8 ซม. ปลายกลีบหยักแหลมตื้นๆ 2-3 แฉก ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ออกดอกระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
ผล แบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงขอบขนาน ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.3 ซม. ปลายผลมีขนแข็งเป็นพู่ และมีรยางค์เป็นหนามแข็ง 1 อัน ยาวประมาณ 0.2 ซม.
การกระจายพันธุ์ :
-
บริเวณชายฝั่งทะเลเขตร้อนของทวีปเอเชีย และออสเตรเลีย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สมุทรปราการ
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
ที่มาของข้อมูล
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง