ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้พุ่มทอดเลื้อยหนาแน่น สูงได้ถึง 1 ม. ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม สันเหลี่ยมมีหนามโค้งเป็นแถว มีขนหยาบและหนามโค้งประปรายตามแกนก้านใบ แผ่นใบ และช่อดอก แกนกลางใบประกอบยาว 6–11 ซม. ก้านยาว 3–5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 4–7 คู่ ยาว 1–4.5 ซม. ใบย่อยมี 12–21 คู่ รูปขอบขนาน ยาว 2–7 มม. ก้านช่อดอกยาว 0.5–6 ซม. ดอกรูปกรวยแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกยาวประมาณ 1 มม. ปลายมน เกสรเพศผู้ 8 อัน รังไข่มีขนละเอียด ฝักรูปขอบขนาน ยาว 1.5–3.5 ซม. ขอบมีขนแข็ง
-
ไม้ล้มลุกกึ่งทอดเลื้อย อายุหลายปี ลำต้นสี่เหลี่ยม มีหนาม แหลมเป็นแง่งและขนสากปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ชั้น ยาวได้ถึง 22 ซม. ใบย่อยชั้นแรก 6-9 คู่ มีหนามแหลม ตลอดแผงก้านใบ ใบย่อยชั้นรอง 15-30 คู่ รูปขอบขนาน ดอก สีม่วงแดงแกมชมพู ออกเป็นช่อกลมที่ซอกใบ ขนาด 12-15 มม. มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบรองดอกรูประฆัง กลีบดอก เชื่อมกันที่ฐาน ปลายแยก 4 กลีบ รูปไข่ ปลายมน เกสรผู้ 8 อัน ก้านชูเกสร ยาว 6-7 มม. รังไข่รูปรีแบน ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย กว้าง 5 มม. ยาว 25-35 มม. ติดกันแน่น เป็นกระจุก ผิวมีหนาม ผลแก่สีน้ำตาลอ่อน มี 3-6 เมล็ด
-
ไม้เถา ยาวได้ถึง ๕ เมตร มีลักษณะคล้ายต้นไมยราบ แต่มีลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวอ่อน มีขนหนาแน่น และมีหนามแหลมคมจำนวนมากแต่เปราะหักง่าย ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ช่อใบย่อย ๓-๖ คู่ ช่อดอกเป็นช่อกลม สีชมพู ออกที่ปลายกิ่งมีช่อดอกย่อยจำนวนมาก ฝักยาว ๒-๓ เซนติเมตร ชอบขึ้นตามที่โล่งและชายป่า ขึ้นได้ดีทั้งในพื้นที่ป่าผลัดใบและชายป่าดงดิบ เป็นกลุ่มหนาแน่นทำให้เกิดไฟป่ารุนแรง แต่มีเหง้าสามารถทนไฟได้ดี พบได้ทั่ว ประเทศ ที่ความสูงไม่เกิน ๑,๓๐๐ เมตร
-
ไม้ล้มลุกกึ่งทอดเลื้อย อายุหลายปี ลำต้นสี่เหลี่ยม มีหนาม แหลมเป็นแง่งและขนสากปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ชั้น ยาวได้ถึง 22 ซม. ใบย่อยชั้นแรก 6-9 คู่ มีหนามแหลม ตลอดแผงก้านใบ ใบย่อยชั้นรอง 15-30 คู่ รูปขอบขนาน ดอก สีม่วงแดงแกมชมพู ออกเป็นช่อกลมที่ซอกใบ ขนาด 12-15 มม. มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบรองดอกรูประฆัง กลีบดอก เชื่อมกันที่ฐาน ปลายแยก 4 กลีบ รูปไข่ ปลายมน เกสรผู้ 8 อัน ก้านชูเกสร ยาว 6-7 มม. รังไข่รูปรีแบน ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย กว้าง 5 มม. ยาว 25-35 มม. ติดกันแน่น เป็นกระจุก ผิวมีหนาม ผลแก่สีน้ำตาลอ่อน มี 3-6 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ :
-
มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นวัชพืชร้ายแรง พบทั่วไปตามที่รกร้างหรือที่เปิดโล่ง ที่ระดับ ความสูงได้ถึง 1,200 เมตร ออกดอกช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม
-
มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นวัชพืชร้ายแรง พบทั่วไปตามที่รกร้างหรือที่เปิดโล่ง ที่ระดับ ความสูงได้ถึง 1,200 เมตร ออกดอกช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม
ถิ่นกำเนิด :
-
ทวีปอเมริกาใต้
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก/พิษณุโลก
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
สมุนไพร
ที่มาของข้อมูล
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง มาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัด ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พิพิธภัณฑ์
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |
---|---|---|---|
Barcode | ชื่อพิพิธภัณฑ์ | จังหวัด | ลักษณะ |