ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 7 ม. ส่วนต่าง ๆ มีน้ำยางสีขาว รากสะสมอาหารขนาดใหญ่ กิ่งมักมีริ้วสีแดง หูใบรูปใบหอก ยาว 5-7 มม. เรียบหรือมีติ่งแหลม 1-2 อัน ร่วงเร็ว ใบรูปฝ่ามือ ส่วนมากมี 3-9 พู โคนเชื่อมติดกันแบบก้นปิด เหนือโคนใบประมาณ 2 ซม. แต่ละพูเรียวแคบ รูปใบหอกกลับ ยาว 8-18 ซม. โคนมักเบี้ยว ยกเว้นพูกลาง ปลายแหลมยาว แผ่นใบบางครั้งด่าง ช่อดอกคล้ายช่อกระจะ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มี 1-5 ช่อ ยาว 5-8 ซม. ดอกเพศผู้อยู่ช่วงปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่ที่โคนช่อ ก้านดอกยาว 5-8 ซม. ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันประมาณกึ่งหนึ่ง ยาวประมาณ 7 มม. สีม่วงอมแดง ด้านในมีขน จานฐานดอกมี 10 พู เกสรเพศผู้มีประมาณ 10 อัน เรียง 2 วง ยาว 6-7 มม. ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงแยกหรือเชื่อมติดกันที่โคน ยาวประมาณ 1 ซม. รังไข่มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรโค้งงอ มีรอยจีบ ผลรูปรี ยาว 1.5-1.8 ซม. แห้งแตกเป็น 3 ซีก มีครีบคล้ายปีกตามยาว 6 ปีก ผิวสาก แต่ละช่องมีเมล็ดเดียว เมล็ดรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 ซม.
- เป็นมันสำปะหลังพันธุ์ป่าดั้งเดิมที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยแต่แรก แล้วสามารถปรับตัวให้ขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ ลักษณะทั่วไปคล้ายมันสำปะหลังพืชเกษตรมาก แต่จะมีก้านใบสีแดง หัวเล็ก เนื้อไม่ขม มีการออกดอกและติดเมล็ดได้ดี กระจายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปัจจุบันมีการระบาดตามชายป่าดงดิบชื้น ขอบสวนยาง ไหล่ทางหรือตามริมห้วยในภาคใต้และภาคตะวันตก เนื่องจากสายพันธุ์นี้ชอบความชื้นสูง ทนต่อร่มเงาได้ดี
- ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 7 ม. ส่วนต่าง ๆ มีน้ำยางสีขาว รากสะสมอาหารขนาดใหญ่ กิ่งมักมีริ้วสีแดง หูใบรูปใบหอก ยาว 5-7 มม. เรียบหรือมีติ่งแหลม 1-2 อัน ร่วงเร็ว ใบรูปฝ่ามือ ส่วนมากมี 3-9 พู โคนเชื่อมติดกันแบบก้นปิด เหนือโคนใบประมาณ 2 ซม. แต่ละพูเรียวแคบ รูปใบหอกกลับ ยาว 8-18 ซม. โคนมักเบี้ยว ยกเว้นพูกลาง ปลายแหลมยาว แผ่นใบบางครั้งด่าง ช่อดอกคล้ายช่อกระจะ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มี 1-5 ช่อ ยาว 5-8 ซม. ดอกเพศผู้อยู่ช่วงปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่ที่โคนช่อ ก้านดอกยาว 5-8 ซม. ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันประมาณกึ่งหนึ่ง ยาวประมาณ 7 มม. สีม่วงอมแดง ด้านในมีขน จานฐานดอกมี 10 พู เกสรเพศผู้มีประมาณ 10 อัน เรียง 2 วง ยาว 6-7 มม. ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงแยกหรือเชื่อมติดกันที่โคน ยาวประมาณ 1 ซม. รังไข่มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรโค้งงอ มีรอยจีบ ผลรูปรี ยาว 1.5-1.8 ซม. แห้งแตกเป็น 3 ซีก มีครีบคล้ายปีกตามยาว 6 ปีก ผิวสาก แต่ละช่องมีเมล็ดเดียว เมล็ดรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 ซม.
ถิ่นกำเนิด :
- เขตร้อนในทวีปอเมริกา
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)