ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
- อุทยานแห่งชาติ คลองลาน
- อุทยานแห่งชาติ พุเตย
- อุทยานแห่งชาติ สันกาลาคีรี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานเสด็จในกรมหลวงชุมพร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานเสด็จในกรมหลวงชุมพร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุ้มผาง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุ้มผาง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้ต้น สูงได้ถึง ๒๐ เมตร โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายแหลม
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก สีครีม มีจำนวนมาก
ผลสด รูปไข่แกมรี ลักษณะป้อม ผิวเกลี้ยง ผลสด มีเนื้อผล เมื่อสุกมีกลิ่นหอมรับประทานได้ เมล็ดเดี่ยว แข็ง ค่อนข้างใหญ่
- ไม้ต้น สูงได้ถึง ๒๐ เมตร โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายแหลม
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก สีครีม มีจำนวนมาก
ผลสด รูปไข่แกมรี ลักษณะป้อม ผิวเกลี้ยง ผลสด มีเนื้อผล เมื่อสุกมีกลิ่นหอมรับประทานได้ เมล็ดเดี่ยว แข็ง ค่อนข้างใหญ่
- ลักษณะทั่วไป : มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นมะม่วงประเภทรับประทานสุก ทรงพุ่มโปร่ง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 15-20 ปี ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย แลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นสีดำอมเทา
ลักษณะใบ : ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันบนกิ่งแขนง ใบมีรูปหอก โคนใบสอบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบโค้งเป็นลูกคลื่น แผ่นใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม และเป็นมัน
ลักษณะผล : ผลมีขนาดใหญ่ หนักประมาณ 400 กรัม ผลอ้วนเกือบกลมหัวใหญ่ปลายแหลม ผลค่อนข้างยาว เนื้อมาก เมล็ดเล็ก มีผิวบาง เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ผิวสีเขียวนวล เนื้อแน่น เมื่อผลสุกมีผิวสีเหลือง กลิ่นหอม เนื้อละเอียดมีเสี้ยนน้อย รสหวาน
- ลักษณะทั่วไป : มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นมะม่วงประเภทรับประทานสุก ทรงพุ่มโปร่ง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 15-20 ปี ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย แลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นสีดำอมเทา
ลักษณะใบ : ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันบนกิ่งแขนง ใบมีรูปหอก โคนใบสอบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบโค้งเป็นลูกคลื่น แผ่นใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม และเป็นมัน
ลักษณะผล : ผลมีขนาดใหญ่ หนักประมาณ 400 กรัม ผลอ้วนเกือบกลมหัวใหญ่ปลายแหลม ผลค่อนข้างยาว เนื้อมาก เมล็ดเล็ก มีผิวบาง เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ผิวสีเขียวนวล เนื้อแน่น เมื่อผลสุกมีผิวสีเหลือง กลิ่นหอม เนื้อละเอียดมีเสี้ยนน้อย รสหวาน
- ลำต้น
มะม่วงอกร่อง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 15-25 ปี ลำต้นเพลาตรง สูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งหลัก และกิ่งแขนงมาก ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มหนาทึบ เปลือกลำต้นสีเทาอมดำ
ใบ
มะม่วงอกร่อง ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับบนปลายกิ่งแขนง ใบมีรูปหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ สีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ดอก
มะม่วงอกร่อง ออกดอกเป็นช่อแขนงที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อแขนงมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ ทั้งนี้ ดอกมะม่วงอกร่องมีดอกสมบูรณ์เพศจำนวนมาก ทำให้มะม่วงอกร่องติดผลดก และติดผลได้มากกว่ามะม่วงพันธุ์อื่นๆ
ผล และเมล็ด
ผลมะม่วงอกร่อง มีรูปไข่ อวบใหญ่ และค่อนข้างแบนเล็กน้อย ส่วนบนบริเวณขั้วมีขนาดใหญ่ ด้านหน้าผลโค้งนูน และค่อยเล็กคอดลงทางปลายผลด้านล่าง โดยพันธุ์ดั้งเดิมจะมีร่องตื้นในแนวตั้งตรงกลางบริเวณด้านหน้าผล ขนาดผลกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-10เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนหรือหรือเขียวอมเหลือง ผลสุกมีสีเหลืองครีมหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลค่อนข้างบาง ส่งกลิ่นหอมแรง และหอมมากกว่ามะม่วงพันธุ์อื่นๆ ส่วนเนื้อผลมีสีเหลืองอมขาวหรือเหลืองครีม เนื้อผลละเอียด ฉ่ำด้วยน้ำหวาน มีเสี้ยนที่ติดจากส่วนเมล็ดเล็กน้อย มีกลิ่นหอม และมีรสหวานจัดมากกว่ามะม่วงทุกสายพันธุ์ ส่วนเมล็ดมีลักษณะคล้ายผลด้านนอก คล้ายรูปไต มีลักษณะแบน ส่วนขั้วเมล็ดใหญ่ และหนา ซึ่งภายในเป็นคัพภะ และเล็กลงด้านล่าง เปลือกเมล็ดมีสีขาวขุ่น มีเส้นใยหุ้ม
- ลำต้น
มะม่วงอกร่อง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 15-25 ปี ลำต้นเพลาตรง สูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งหลัก และกิ่งแขนงมาก ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มหนาทึบ เปลือกลำต้นสีเทาอมดำ
ใบ
มะม่วงอกร่อง ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับบนปลายกิ่งแขนง ใบมีรูปหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ สีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ดอก
มะม่วงอกร่อง ออกดอกเป็นช่อแขนงที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อแขนงมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ ทั้งนี้ ดอกมะม่วงอกร่องมีดอกสมบูรณ์เพศจำนวนมาก ทำให้มะม่วงอกร่องติดผลดก และติดผลได้มากกว่ามะม่วงพันธุ์อื่นๆ
ผล และเมล็ด
ผลมะม่วงอกร่อง มีรูปไข่ อวบใหญ่ และค่อนข้างแบนเล็กน้อย ส่วนบนบริเวณขั้วมีขนาดใหญ่ ด้านหน้าผลโค้งนูน และค่อยเล็กคอดลงทางปลายผลด้านล่าง โดยพันธุ์ดั้งเดิมจะมีร่องตื้นในแนวตั้งตรงกลางบริเวณด้านหน้าผล ขนาดผลกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-10เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนหรือหรือเขียวอมเหลือง ผลสุกมีสีเหลืองครีมหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลค่อนข้างบาง ส่งกลิ่นหอมแรง และหอมมากกว่ามะม่วงพันธุ์อื่นๆ ส่วนเนื้อผลมีสีเหลืองอมขาวหรือเหลืองครีม เนื้อผลละเอียด ฉ่ำด้วยน้ำหวาน มีเสี้ยนที่ติดจากส่วนเมล็ดเล็กน้อย มีกลิ่นหอม และมีรสหวานจัดมากกว่ามะม่วงทุกสายพันธุ์ ส่วนเมล็ดมีลักษณะคล้ายผลด้านนอก คล้ายรูปไต มีลักษณะแบน ส่วนขั้วเมล็ดใหญ่ และหนา ซึ่งภายในเป็นคัพภะ และเล็กลงด้านล่าง เปลือกเมล็ดมีสีขาวขุ่น มีเส้นใยหุ้ม
- ไม้ยืนต้น
การขยายพันธุ์ :
- 1. การเพาะเมล็ด
1.1 เอาเมล็ดมาแกะเอาเปลือกหุ้มเมล็ดออก เพื่อเวลาเพาะแล้วงอกเป็นต้นอ่อนเร็ว ต้นเป็นต้นเดียว ลำต้นตรงสวย
1.2 ใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดปลายเมล็ดแกะเอาแต่เมล็ดไปเพาะ
1.3 เมล็ดส่วนโค้งเรียบจะเป็นทางที่ต้นอ่อนโผล่ ส่วนทางที่ขรุขระจะเป็นทางที่รากแก้วแทงลงสู่ดิน
1.4 จึงต้องวางส่วนขรุขระลงสู่ผิวดิน แล้วเอาดินกลบทางส่วนโค้งเรียบ
1.5 กลบดินให้มิดเมล็ด นำไปวางไว้ในที่ๆเหมาะสม ดูแลรดน้ำ
1.6 หนึ่งสัปดาห์ก็จะได้ต้นกล้ามะม่วงที่มีลำต้นตรงสวย
2. การทาบกิ่ง
2.1 การเตรียมต้นตอ
ต้นตอที่จะนำมาทาบกิ่งก็คือ ต้นกล้ามะม่วงที่ได้จากการเพาะเมล็ด มะม่วงต่างกับผลไม้ชนิดอื่น คือ การที่จะทำให้เมล็ดมะม่วงงอกเร็วขึ้นต้องแกะเอาเปลือกซึ่งหุ้มเมล็ดออก แล้วจึงเอาเมล็ดที่อยู่ภายในมาเพาะ
2.2 การเลือกกิ่งพันธุ์มะม่วง
กิ่งของต้นพันธุ์ดีที่ต้องการจะทาบนั้น ให้เลือกกิ่งที่มีขนาดไล่เลี่ยกับขนาดของต้นตอ จะใหญ่กว่าสักเล็กน้อยก็ได้ แต่อย่าให้ไหญ่กว่ามากนัก กิ่งพันธุ์ควรเป็นกิ่งที่กำลังเจริญเติบโต ไม่แคระแกรน กิ่งมีลักษณะกลม ไม่เป็นเหลี่ยม กิ่งพันธุ์ต้องไม่แก่กว่าต้นตอมากนัก และไม่มีโรคแมลงรบกวน ถ้าได้กิ่งที่ตั้งตรงจะดีมาก เพราะสะดวกในการทำงาน ส่วนกิ่งที่เอนก็ใช้ได้ แต่กิ่งที่ห้อยย้อยลงล่างไม่ควรใช้ทาบกิ่ง ถ้าจำเป็นต้องใช้ ให้ผูกกิ่งให้ตั้งตรงเสียก่อน
2.3 วีธีการทาบกิ่งพันธุ์กับต้นตอ
2.3.1. ใช้มีดเฉือนข้างล่างขึ้นไปหาตาของกิ่งมะม่วง ประมาณ 1-2 มม. ยาวประมาณ 2 นิ้ว
2.3.2. จากนั้นก็ปาดกิ่งมะม่วงแก้วที่เตรียมไว้ยาวประมาณ 2 นิ้วเท่ากัน ในระหว่างขั้นตอนในการเฉือนห้ามให้เนื้อเยื่อสีขาวของมะม่วงสัมผัสกับนิ้วหรือสิ่งต่างๆ เพราะจะทำให้ติดเชื้อโรคและทำให้การทาบไม่ติด3. จากนั้นก็ทาบต้นตอที่เราเตรียมไว้ นำมาทาบประกบกัน ใช้พลาสติกมัดให้รอบจุดที่ทาบ ให้มิดชิดและแน่นหนาไม่ให้น้ำเข้าไปได้ ทาบไว้ประมาณ 1 เดือน ก็จะสังเกตเห็นรากที่งอกอยู่ในถุง จากนั้นตัดกิ่งของต้นมะม่วงที่เรานำต้นตอไปทาบไว้ จากนั้นนำไปใส่ถุงดำรอจำหน่ายหรึอปลูกได้เลย
3. การตอนกิ่ง
3.1เลือกกิ่งต้นไม้ที่ไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป
3.2 นำคีมตอนกิ่งหรือมีดคัดเตอร์มาควั่นกิ่ง ยาวประมาณ1นิ้ว แล้วลอกเปลือกออก ถ้าเปลือกลอกออกได้ดี ไม่จำเป็นต้องขูดเนื้อเยื่อเจริญออก
3.3 นำกะปิมาผสมน้ำเล็กน้อย แล้วใช้แปรงทาสีชุบน้ำกะปิมาทาบริเวณที่ควั่นกิ่งไว้ (เทคนิคการเร่งราก ทำให้ออกรากเร็วขึ้น)
3.4 นำตุ้มตอนที่เตรียมไว้ มาตัดถุงเป็นรูปตัวไอ(บานหน้าต่าง) แล้วหุ้มกิ่งที่ควั่นไว้แล้ว
3.5 นำสายรัดเคเบิ้ลไทร์ มารัดตุ้มตอนให้แน่นที่สุด ทั้งด้านบนและด้านล่าง
- 1. การเพาะเมล็ด
1.1 เอาเมล็ดมาแกะเอาเปลือกหุ้มเมล็ดออก เพื่อเวลาเพาะแล้วงอกเป็นต้นอ่อนเร็ว ต้นเป็นต้นเดียว ลำต้นตรงสวย
1.2 ใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดปลายเมล็ดแกะเอาแต่เมล็ดไปเพาะ
1.3 เมล็ดส่วนโค้งเรียบจะเป็นทางที่ต้นอ่อนโผล่ ส่วนทางที่ขรุขระจะเป็นทางที่รากแก้วแทงลงสู่ดิน
1.4 จึงต้องวางส่วนขรุขระลงสู่ผิวดิน แล้วเอาดินกลบทางส่วนโค้งเรียบ
1.5 กลบดินให้มิดเมล็ด นำไปวางไว้ในที่ๆเหมาะสม ดูแลรดน้ำ
1.6 หนึ่งสัปดาห์ก็จะได้ต้นกล้ามะม่วงที่มีลำต้นตรงสวย
2. การทาบกิ่ง
2.1 การเตรียมต้นตอ
ต้นตอที่จะนำมาทาบกิ่งก็คือ ต้นกล้ามะม่วงที่ได้จากการเพาะเมล็ด มะม่วงต่างกับผลไม้ชนิดอื่น คือ การที่จะทำให้เมล็ดมะม่วงงอกเร็วขึ้นต้องแกะเอาเปลือกซึ่งหุ้มเมล็ดออก แล้วจึงเอาเมล็ดที่อยู่ภายในมาเพาะ
2.2 การเลือกกิ่งพันธุ์มะม่วง
กิ่งของต้นพันธุ์ดีที่ต้องการจะทาบนั้น ให้เลือกกิ่งที่มีขนาดไล่เลี่ยกับขนาดของต้นตอ จะใหญ่กว่าสักเล็กน้อยก็ได้ แต่อย่าให้ไหญ่กว่ามากนัก กิ่งพันธุ์ควรเป็นกิ่งที่กำลังเจริญเติบโต ไม่แคระแกรน กิ่งมีลักษณะกลม ไม่เป็นเหลี่ยม กิ่งพันธุ์ต้องไม่แก่กว่าต้นตอมากนัก และไม่มีโรคแมลงรบกวน ถ้าได้กิ่งที่ตั้งตรงจะดีมาก เพราะสะดวกในการทำงาน ส่วนกิ่งที่เอนก็ใช้ได้ แต่กิ่งที่ห้อยย้อยลงล่างไม่ควรใช้ทาบกิ่ง ถ้าจำเป็นต้องใช้ ให้ผูกกิ่งให้ตั้งตรงเสียก่อน
2.3 วีธีการทาบกิ่งพันธุ์กับต้นตอ
2.3.1. ใช้มีดเฉือนข้างล่างขึ้นไปหาตาของกิ่งมะม่วง ประมาณ 1-2 มม. ยาวประมาณ 2 นิ้ว
2.3.2. จากนั้นก็ปาดกิ่งมะม่วงแก้วที่เตรียมไว้ยาวประมาณ 2 นิ้วเท่ากัน ในระหว่างขั้นตอนในการเฉือนห้ามให้เนื้อเยื่อสีขาวของมะม่วงสัมผัสกับนิ้วหรือสิ่งต่างๆ เพราะจะทำให้ติดเชื้อโรคและทำให้การทาบไม่ติด3. จากนั้นก็ทาบต้นตอที่เราเตรียมไว้ นำมาทาบประกบกัน ใช้พลาสติกมัดให้รอบจุดที่ทาบ ให้มิดชิดและแน่นหนาไม่ให้น้ำเข้าไปได้ ทาบไว้ประมาณ 1 เดือน ก็จะสังเกตเห็นรากที่งอกอยู่ในถุง จากนั้นตัดกิ่งของต้นมะม่วงที่เรานำต้นตอไปทาบไว้ จากนั้นนำไปใส่ถุงดำรอจำหน่ายหรึอปลูกได้เลย
3. การตอนกิ่ง
3.1เลือกกิ่งต้นไม้ที่ไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป
3.2 นำคีมตอนกิ่งหรือมีดคัดเตอร์มาควั่นกิ่ง ยาวประมาณ1นิ้ว แล้วลอกเปลือกออก ถ้าเปลือกลอกออกได้ดี ไม่จำเป็นต้องขูดเนื้อเยื่อเจริญออก
3.3 นำกะปิมาผสมน้ำเล็กน้อย แล้วใช้แปรงทาสีชุบน้ำกะปิมาทาบริเวณที่ควั่นกิ่งไว้ (เทคนิคการเร่งราก ทำให้ออกรากเร็วขึ้น)
3.4 นำตุ้มตอนที่เตรียมไว้ มาตัดถุงเป็นรูปตัวไอ(บานหน้าต่าง) แล้วหุ้มกิ่งที่ควั่นไว้แล้ว
3.5 นำสายรัดเคเบิ้ลไทร์ มารัดตุ้มตอนให้แน่นที่สุด ทั้งด้านบนและด้านล่าง
- ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือปลูกเพื่อเก็บผลขาย ขุดหลุมกว้างหนึ่งฟุต ลึกเท่ากับปากถุงดำของกิ่งตอนหรือปากกระถาง จากนั้นนำต้นลงปลูกโดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกกลบหน้าดินให้แน่น รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น พร้อมบำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอเดือนละครั้ง เมื่อต้นโตมีดอกและติดผลจะคุ้มค่ามาก
- ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือปลูกเพื่อเก็บผลขาย ขุดหลุมกว้างหนึ่งฟุต ลึกเท่ากับปากถุงดำของกิ่งตอนหรือปากกระถาง จากนั้นนำต้นลงปลูกโดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกกลบหน้าดินให้แน่น รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น พร้อมบำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอเดือนละครั้ง เมื่อต้นโตมีดอกและติดผลจะคุ้มค่ามาก
- การเพาะเมล็ด การตอน การติดตา และการทาบกิ่ง
- การเพาะเมล็ด การตอน การติดตา และการทาบกิ่ง
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- กำแพงเพชร
- สุพรรณบุรี
- สงขลา
- สุรินทร์
- ชุมพร
- สุรินทร์
- ชุมพร
- ตาก
- ตาก
- ลำปาง
- สมุทรปราการ
- นนทบุรี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 15-20 ปี ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย แลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นสีดำอมเทา
ข้อมูลภูมิปัญญา
- มะม่วง ไม้ผลเมืองร้อน :: มะม่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera Indica) เป็นไม้ผลเมืองร้อน เชื่อว่าเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินเดีย บังกลาเทศ และพม่า ซึ่งเห็นได้จากความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลจำนวนมาก นับย้อนไปได้ถึง 25 – 30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก ในยุคแรกมีการขยายพันธุ์มะม่วงโดยการเพาะเมล็ด ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามากมาย จนกระทั่งระยะหลัง มะม่วงถูกขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่งและเสียบยอด เพื่อให้ผลผลิตตรงตามพันธุ์ มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญของไทย รองลงมาจาก ทุเรียน