ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- นครราชสีมา
- สตูล
- นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
- ชัยภูมิ
- ชัยภูมิ
- ขอนแก่น, ชัยภูมิ
- มุกดาหาร
- มุกดาหาร
- สกลนคร, กาฬสินธุ์
- ชัยภูมิ
- พะเยา, น่าน
- กาญจนบุรี, ตาก
- ตาก
- ราชบุรี
- อุบลราชธานี
- พะเยา
- กาญจนบุรี
- กาญจนบุรี
- สุรินทร์
- สุรินทร์
- ศรีสะเกษ
- ศรีสะเกษ
- ศรีสะเกษ
- ศรีสะเกษ
- สุรินทร์
- สุรินทร์
- ศรีสะเกษ
- ศรีสะเกษ
- ศรีสะเกษ
- ศรีสะเกษ
- ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ป่าเขาภูหลวง
- อุทยานแห่งชาติ ทะเลบัน
- อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
- อุทยานแห่งชาติ ไทรทอง
- อุทยานแห่งชาติ ไทรทอง
- อุทยานแห่งชาติ น้ำพอง
- อุทยานแห่งชาติ ภูผาเทิบ
- อุทยานแห่งชาติ ภูผาเทิบ
- อุทยานแห่งชาติ ภูพาน
- อุทยานแห่งชาติ ภูแลนคา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยผาช้าง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่ตื่น
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ยอดโดม
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สลักพระ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สลักพระ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยศาลา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยศาลา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยศาลา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยศาลา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยศาลา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยศาลา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยศาลา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยศาลา
- สุรินทร์
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ใบ - ลักษณะของใบคล้ายกับใบมะค่าหรือใบประดู่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ มีช่อใบด้านข้าง 2-3 คู่ ในช่อใบมีใบย่อยประมาณ 8-16 คู่ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปใบหอก รูปหัวใจ หรือรูปข้าวหลามตัด ปลายใบมน โคนใบสอบหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5
เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวสด ผิวท้องใบมีขนสั้นๆ ปกคลุม มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 5-7 เส้น ก้านใบย่อยยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
ดอก - ออกดอกเป็นพุ่มหรือออกเป็นช่อยาวใหญ่ตามซอกใบใกล้ๆ ปลายกิ่ง มีจำนวน 1-3 ช่อต่อหนึ่งซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมากเบียดกันแน่นอยู่ตามแกนดอก ดอกเป็นสีเหลือง สีเหลืองนวล หรือสีขาวปนเหลืองอ่อน ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบติดกันเป็นรูปถ้วยสีเขียว ขอบถ้วยแยกเป็นแฉก 5 แฉก ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปใบพายแคบๆ สีเขียวแกมขาวติดกันเล็กน้อยที่ฐาน กลีบดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน แยกจากกันอย่างอิสระ ส่วนเกสรเพศเมียมี 1 อัน สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยมักออกดอกพร้อมกับการผลิใบอ่อน เมื่อมีดอกจะมีกลิ่นเหม็นหืนคล้ายกลิ่นซากเน่าตายแห้งของสัตว์ จึงถูกเรียกชื่อว่า "ต้นซาก"
ผล - ผลมีลักษณะเป็นฝัก ลักษณะของฝักจะค่อนข้างกลมคล้ายกับฝักประดู่ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าฝักมีลักษณะคล้ายกับฝักสะตอ มีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีเมล็ดประมาณ 5-8 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีลักษณะกลมแบน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้น หรือ ต้นพันชาด จัดเป็นพรรณไม้ผลัดใบยืนต้นขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ 20-35 เมตร ลำต้นมีขนาดใหญ่ ออกใบดกและหนาทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีดำ แตกเป็นร่อง ค่อนข้างลึกตามยาวและตามขวางของลำต้น เนื้อไม้ด้านในเป็นสีขาว และแก่นกลางไม้มีเนื้อแข็งเป็นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมเล็กน้อย โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- เนื้อไม้นำมาเผาให้เป็นถ่านแล้วบดให้เป็นผง ใช้ปรุงเป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับเด็กได้ดี ช่วยดับพิษตานซาง ถ่านที่ได้จากการเผาเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษไข้ แก้อาการเซื่องซึม หรือใช้ปรุงผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเป็นยาแก้พิษไข้ เซื่องซึม ต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ที่มีพิษร้อน กระสับกระส่าย และช่วยแก้ไข้เซื่องซึม ช่วยแก้ไข้สันนิบาต ช่วยดับพิษโลหิต ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง
ที่มาของข้อมูล