ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ล้มลุก ทอดนอน มีขนยาวตามกิ่งและแผ่นใบทั้งสองด้าน ใบรูปใบหอกกลับ ยาว 2-3 ซม. ก้านใบยาวประมาณ 5 มม. ช่อดอกแบบช่อเชิงลดสั้น ๆ รูปขอบขนาน ยาว 2-3 ซม. สีขาว วงใบประดับคล้ายใบ ใบประดับเรียงตรงข้าม ยาวประมาณ 3 มม. ใบประดับย่อยยาวเท่า ๆ กลีบรวม ด้านบนเป็นสันแคบ ๆ ช่วงโคน ดอกสีขาว กลีบรูปใบหอก 3 กลีบนอกมีขนที่โคน กลีบคู่ในมีขนด้านบน เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันสั้นกว่าหรือเท่า ๆ กลีบรวม อับเรณูเกือบไร้ก้าน ก้านเกสรเพศเมียสั้น ผลรูปกลม เมล็ดกลม เว้า แบน ๆ
- ไม้ล้มลุกหลายปี แผ่กิ่งที่โคนต้น ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปไข่กลับถึง ยาว 1-2.5 ซม. กว้าง 0.3-1 ซมขอบใบเรียบ มีขนทั้งสองข้าง ผิวด้านบนมีขนประปรายผิวด้านล่างมีขนอุย ช่อดอก แบบช่อเชิงลดออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยง รูปสามเหลี่ยม ยาว 1-2 มม. กลีบรวม มี 5 กลีบ สีขาว กลีบด้านนอก 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบด้านใน 2 กลีบ เกสรเพศผู้ มี 5 อัน ก้านชูเกสรสั้น ติดกับเกสรตรงกลางอับเรณูรูปสามเหลี่ยม สีเหลืองเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่
- พืชล้มลุก กิ่งทอดเลื้อยคลุมตามพื้นดินสูง ๑๐-๓๐ เซนติเมตร กิ่งและใบมีขนสากคาย ใบยาว ๑-๓ เซนติเมตร ดอกออกที่ปลายกิ่งคล้ายดอกบานไม่รู้โรย กว้าง ๑ เซนติเมตร เป็นวัชพืชที่พบมากตามที่รกร้าง ไร่นา กลางแจ้ง ชอบสภาพอากาศที่แห้งแล้งแบบประเทศไทยตอนบน ที่ระดับความสูงไม่เกิน ๕๐๐ เมตร
- ไม้ล้มลุกหลายปี แผ่กิ่งที่โคนต้น ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปไข่กลับถึง ยาว 1-2.5 ซม. กว้าง 0.3-1 ซมขอบใบเรียบ มีขนทั้งสองข้าง ผิวด้านบนมีขนประปรายผิวด้านล่างมีขนอุย ช่อดอก แบบช่อเชิงลดออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยง รูปสามเหลี่ยม ยาว 1-2 มม. กลีบรวม มี 5 กลีบ สีขาว กลีบด้านนอก 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบด้านใน 2 กลีบ เกสรเพศผู้ มี 5 อัน ก้านชูเกสรสั้น ติดกับเกสรตรงกลางอับเรณูรูปสามเหลี่ยม สีเหลืองเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่
- ไม้ล้มลุก ทอดนอน มีขนยาวตามกิ่งและแผ่นใบทั้งสองด้าน ใบรูปใบหอกกลับ ยาว 2-3 ซม. ก้านใบยาวประมาณ 5 มม. ช่อดอกแบบช่อเชิงลดสั้น ๆ รูปขอบขนาน ยาว 2-3 ซม. สีขาว วงใบประดับคล้ายใบ ใบประดับเรียงตรงข้าม ยาวประมาณ 3 มม. ใบประดับย่อยยาวเท่า ๆ กลีบรวม ด้านบนเป็นสันแคบ ๆ ช่วงโคน ดอกสีขาว กลีบรูปใบหอก 3 กลีบนอกมีขนที่โคน กลีบคู่ในมีขนด้านบน เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันสั้นกว่าหรือเท่า ๆ กลีบรวม อับเรณูเกือบไร้ก้าน ก้านเกสรเพศเมียสั้น ผลรูปกลม เมล็ดกลม เว้า แบน ๆ
การกระจายพันธุ์ :
- มีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาใต้ กระจายพันธุ์มาสู่เขตที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยพบที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพมหานคร จันทบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด มักขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่ง แดดส่องถึง
- มีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาใต้ กระจายพันธุ์มาสู่เขตที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยพบที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพมหานคร จันทบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด มักขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่ง แดดส่องถึง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
ถิ่นกำเนิด :
- ทวีปอเมริกาใต้
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
- อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร
- สมุนไพร ดอกสีขาวเป็นช่อกระจุกแน่น หากมีเป็นทุ่งออกดอกพร้อมกันจะดูสวยงาม
ที่มาของข้อมูล