ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- Caespitose clump bamboo.
- ไผ่ประเภทเหง้ากอ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร ลำตรง อยู่รวมกันเป็นกอแน่น เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 5-12 เซนติเมตร ปล้องยาว 20-45 เซนติเมตร
ใบ: ใบรูปใบหอกหรือรูปแถบ กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร กาบหุ้มลำสีส้ม สีเหลืองถึงสีน้ำตาลอมเขียว มีขนสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ และนวลสีขาวปกคลุม บางครั้งกาบค่อนข้างเกลี้ยง ใบยอดกาบรูปใบหอก ถึงรูปแถบ สีม่วงแดง ถึงสีเขียวอมม่วง พับลง ดอก: ช่อดอกย่อยเทียมยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลูม 2 อัน ดอกย่อยสมบูรณ์ 2-3 ดอก เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านเกสรเพศผู้แยกอิสระ ยอดเกสรเพศเมีย 1 อัน
ระบบนิเวศ :
- In mixed deciduous forest, to ca 800 m alt.
- ตามป่าผสมผลัดใบ
การกระจายพันธุ์ :
- S China, Myanmar, Laos, N Vietnam.
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- MaeHongSon,CiangMai,Loei
- ตาก
- ลำปาง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้ไผ่
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- อุทยานแห่งชาติ น้ำตกพาเจริญ
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ข้อมูลภูมิปัญญา
- ใครเคยกินบ้าง เพี้ยงหรือวุ้นไม้ไผ่ :: วุ้นไม้ไผ่หรือเรียกได้อีกอย่างว่า เพี้ยง (ภาษาล้านนา) คือ วุ้นธรรมชาติที่เกิดในลำไม้ไผ่ซางป่า ลักษณะเป็นวุ้นใส ๆ ไม่มีรสชาติ นุ่มเคี้ยวหนึบหนับเหมือนเจลลี่ ตอนอยู่ในข้อปล้องจะนิ่มๆ แต่เมื่อโดนอากาศจะมีลักษณะการจับตัวเด้งดึ๋ง สามารถกินกันสด ๆ ได้เลย แต่หากเจอต้นที่อ่อนเกินไป วุ้นจะมีรสชาติเปรี้ยว ไผ่เป็นพืชที่มีท่อน้ำเลี้ยงอยู่ด้านใน ในระยะที่ยังเป็นหน่อไม้ หากถูกแมลงกัดกิน จะทำให้ท่อน้ำเลี้ยงภายในเสียหาย จนทำให้เกิดน้ำสะสมภายในปล้องและจับตัวกลายเป็นวุ้น โดยใน 1 ปี และจะมีให้กินในฤดูฝนแค่ช่วง ส.ค. – ก.ย. เท่านั้น ไผ่ซางนวลหรือไผ่ซางป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrocalam
พิพิธภัณฑ์
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ
Barcode ชื่อพิพิธภัณฑ์ จังหวัด ลักษณะ