Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Pterospermum littorale
Pterospermum littorale
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Status:
ACCEPTED
ชื่อสามัญ::
-
Kanai
ชื่อไทย:
-
กระหนาย
-
กะหนาย
-
จำปาเทศ, กะหนาย
-
หำอาว
ชื่อท้องถิ่น::
-
หำอาว (หนองคาย)
-
กะหนาย หำอาว (หนองคาย) ขนาน(ชลบุรี)
ปีที่ตีพิมพ์:
2549
วันที่อัพเดท :
19 ธ.ค. 2566 09:34 น.
วันที่สร้าง:
19 ธ.ค. 2566 09:34 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้พุ่มขนาดกลาง
-
เป็นไม้ขนาดกลาง สูง 10 - 20 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาแตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดบิดเวียนตามยาวโคนลำต้นมักเป็นปุ่มเป็นโพรง แตกกิ่งจำนวนมาก กิ่งอ่อนยาว ปลายกิ่งห้อยลู่ กิ่งอ่อนมีขนสีขาวหรือเหลืองอ่อนบางๆ กิ่งแก่เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงระนาบเดียวกัน มี 2 รูป ใบอ่อนรูปไข่กว้างหรือเกือบเป็นแผ่นกลม กว้าง 14-18 ซม. ยาว 14-16 ซม. แผ่นใบเว้าเป็นแฉกลึก 5-7 แฉก แฉกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายแฉกแหลม ขอบเรียบหรือเว้าตื้นๆ ห่างๆ ไม่เป็นระเบียบ โคนรูปก้นปิด เส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 7 เส้น แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม เกลี้ยง ด้านล่างมีขนสีเทาอมเหลืองหนาแน่น ก้านใบติดห่างจากโคนใบมาก ยาว 4-7 ซม. มีขนเป็นแฉกรูปดาวหนาแน่น หูใบแคบ ยาวประมาณ 1 ซม. มีขนทั่วไป ใบแก่รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-13 ซม. ปลายแหลมยาว โคนมนกว้าง หรือโคนใบตัดและเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบที่ติดเหลื่อมห่างจากโคนใบเล็กน้อย ขอบเรียบแต่มักเว้าตื้นๆ ห่างๆ ไม่เป็นระเบียบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น และเส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น ปลายเส้นโค้งขึ้นเลียบขอบใบ ก้านใบยาว 0.7-1 ซม. แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ด้านล่างมีขนสีเทาอมเหลืองหรือสีนวลหนาแน่นดอก เป็นสีขาว ออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบบริเวณใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 0.5-1 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกกัน รูปขอบขนาน สีเขียวอมน้ำตาล กว้างประมาณ 7 มม. ยาว 7-8 ซม. ด้านนอกมีขนนุ่มเป็นมันสีน้ำตาลอมเหลือง ด้านในมีขนนุ่มเช่นกันแต่สีจางกว่า กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว แยกกัน กว้างประมาณ 1.7 ซม. ยาวประมาณ 6.5 ซม. โคนกลีบเรียว กลีบด้านนอกมีขนเป็นแฉกรูปดาวประปราย ด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้สมบูรณ์มีประมาณ 15 อัน ติดกันเป็นกลุ่มๆ สลับกับเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2 ซม. เกสรเพศเมียมีก้านเกสรยาวประมาณ 5 ซม. มีขนเป็นแฉกรูปดาวประปราย รังไข่ยาวประมาณ 6 มม. มีขนสีเทาอมเหลือง รังไข่ติดอยู่บนก้าน ฝัก/ผล รูปทรงกระบอกสั้นๆ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-8 ซม. มีสันคม 5 สัน ผนังระหว่างสันเว้าเข้าเป็นแอ่ง ฐานคอดลงเป็นแกนสั้นๆ ยาว 0.8-1.3 ซม. ผนังมีขนสีเหลืองอมน้ำตาลทั่วไป ฝักแก่แตกตามรอยสันออกเป็น 5 เสี่ยง เมล็ด มีจำนวนมาก รูปไข่หรือรูปรีแบน ด้านบนมีปีกยาวบางใสสีน้ำตาล กว้างประมาณ 6 มม. ยาวรวมทั้งฝักและปีกประมาณ 3.6 ซม.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ใหญ่แล้วแต่สภาพพื้นที่ปลูก สูง 10 - 16 ม. ต้นที่ปลูกใกล้ต้นไม้ใหญ่จะสูงชะลูดอย่างรวดเร็ว ต้นที่ปลูกกลางแจ้งและห่างจากต้นไม้ใหญ่จะแตกกิ่งก้านสาขามากและไม่ค่อยสูง
ถิ่นกำเนิด :
-
ไม้ประจำถิ่นของประเทศไทย
การขยายพันธุ์ :
-
การตอนกิ่ง เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากออกรากง่าย ขนาดของกิ่งที่จะใช้ตอนควรมีขนาด 2 - 20 ซม.
การเพาะเมล็ด สามารถทำได้เนื่องจากมีเมล็ดมาก
-
การตอนกิ่ง เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากออกรากง่าย ขนาดของกิ่งที่จะใช้ตอนควรมีขนาด 2 - 20 ซม. และอีกวิธีคือ การเพาะเมล็ด
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
จันทบุรี
-
สุราษฎร์ธานี
-
พื้นที่ลุ่มน้ำลำเซบาย
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
อุทยานแห่งชาติ เขาคิชฌกูฏ
-
ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม สุราษฎร์ธานี
-
ยโสธร,อำนาจเจริญ,อุบลราชธานี
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์
-
ปลูกเป็นไม้ประดับ
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (ไทย) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened: NT (ONEP, 2549)
สถานภาพการคุกคาม (ไทย) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened: NT (ONEP, 2549)
ที่มาของข้อมูล
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กรมป่าไม้
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ป่าทามลำเซบาย, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาคมภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 2559
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Ulva kylinii
เห็ดปลวกฟาน
Termitomyces grobuslus
Trypethelium microstonum
Corbula Corbula
นกเขาใหญ่
Streptopelia
Ficus vaiegata
Previous
Next