Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Christia obcordata
Christia obcordata
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Christia obcordata
(Poir.) Bakh.f.
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Hedysarum obcordatum Poir.
- Lourea obcordata (Poir.) Desv.
ชื่อไทย::
-
ผีเสื้อ
ชื่อท้องถิ่น::
-
ผีเสื้อ (กรุงเทพฯ), สานสาย (เชียงใหม่), หญ้าก้นบึ้ง (เลย),หญ้าฮากเหลือง (แพร่)
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Fabales
วงศ์::
Fabaceae
สกุล:
Christia
ปีที่ตีพิมพ์:
2561
วันที่อัพเดท :
10 มี.ค. 2564 15:25 น.
วันที่สร้าง:
10 มี.ค. 2564 15:25 น.
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ประจวบคีรีขันธ์
-
ในเขตอำเภอสูงเนิน ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
อุทยานแห่งชาติสามร้อยยอด
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นไม้ล้มลุก(herb) ต้นเป็นเถาเลื้อย(prostrate) ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาล ไม่มีขน การเรียงตัวของใบแบบมี 3 ใบย่อย และมีก้านใบ (pinnately-trifoliate) และมีใบเดี่ยว (simple) รูปหัวใจกลับ (obcordata) ขึ้นปะปน ใบย่อยบนรูปหัวใจกลับ โคนใบสอบ รูปใบข้างค่อนข้างรีกว้าง(oval) โคนใบมน ตรงรอยเว้ายอดใบ (apex) มีติ่งเป็นเส้นค่อนข้างแข็ง 1 เส้นยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร สีใบเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย หน้าใบ หลังใบไม่มีขน การเรียงตัวของเส้นใบแบบร่างแห ขอบใบเรียบ หูใบแบบแถบเรียวแหลมสีเขียวอมน้ำตาล เริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนเมษายนไปตลอดฤดูฝน ช่อดอกมีขนาดเล็กแบบช่อกระจะ (raceme) ดอกรูปดอกถั่วมีขนาดเล็ก กลีบดอกกลาง (standard) ตรงกลางมีสีชมพูอมม่วงค่อนข้างเข้มกว่าด้านริม กลีบดอกคู่ด้านข้าง (wing) สีชมพูอมม่วง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ต้นสูง 3.93-13.41 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.22-1.76 มิลลิเมตร ใบยาว 0.92-1.12 เซนติเมตร กว้าง 1.35-1.71 เซนติเมตร ใบยาว 0.78-1.02 เซนติเมตร กว้าง 0.68-0.8 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์ :
-
พบขึ้นกระจายทั่วไปในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ พื้นที่ป่าละเมาะ หรือป่าโปร่ง สภาพดินร่วนปนทราย ดินลูกรัง ดินร่วนปนหินกรวด ดินตามแนวเชิงเขาที่มีหิน ขึ้นได้ดีตามซอกหิน ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 236 เมตร
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
การขยายพันธุ์ :
-
ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด
ที่มาของข้อมูล
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 2
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Justicia internodialis
Aristida balansae
Carex dimorpholepis
Hetaeria youngsayei
Malleola aberrans
ยางบูเก๊ะ
Dipterocarpus acutangulus
Previous
Next