Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Chiloscyllium hasseltii
Chiloscyllium hasseltii
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Chiloscyllium hasseltii
Bleeker, 1852
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Chiloscyllium dolganovi Kharin, 1987
ชื่อสามัญ::
-
Chalarm Gob
-
Indonesian bambooshark
-
Indonesian bambooshark, Hasselt's bambooshark
-
Hasselt's bamboo shark
ชื่อไทย::
-
ฉลามกบ, ฉลามหิน, ฉลามลายตุ๊กแก
-
ปลาฉลามกบ, ปลาฉลามหิน, ปลาฉลามลายตุ๊กแก
-
ฉลามกบ, ฉลามทราย
อาณาจักร::
Animalia
ไฟลัม::
Chordata
ชั้น::
Elasmobranchii
อันดับ:
Orectolobiformes
วงศ์::
Hemiscylliidae
สกุล:
Chiloscyllium
ที่มา :
โอภาส ชามะสนธิ์ และ ไพรินทร์ เพ็ญประไพ
ปรับปรุงล่าสุด :
19 เม.ย. 2567
ที่มา :
ทัศพล กระจ่างดารา และ Dr. Ahmad Ali
ปรับปรุงล่าสุด :
13 ก.พ. 2567
วันที่อัพเดท :
19 ก.ค. 2562 00:00 น.
วันที่สร้าง:
19 ก.ค. 2562 00:00 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
อ่าวไทย ทะเลอันดามัน
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
- ขนาดความยาว สูงสุด 91 ชม. (พบที่ท่เทียบเรือประมงจังหวัดสตูล) ขนาดทั่วไปที่พบ 40-60 ชม. ขนาดสมบูรณ์เพศของเพศผู้ 44-54 ชม. เพศเมีย 54-59 ซม. และขนาดแรกเกิด 9-12 ชม.
- แนวเส้นของส่วนหัวค่อนข้างเป็นแนเส้นตรง และโค้งลงที่ปลายจะงอยปาก ระยะห่างระหว่างครีบหลังทั้ง 2 อันน้อยกว่า 9.3 % ของความยาวตลอดตัว ครีบหลังอันแรกสูงน้อยกว่า 6.6 % ของความยาวตลอดตัว ครีบหลังอันที่สองสูงน้อยกว่า 5.8 % ของความยาวตลอดตัว มีสันนูนตามยาวที่ด้านบนลำตัว 1 แถว ถึงตอนท้ายครีบหลังอันแรก ส่วนใหญ่ขอบท้ายครีบหลังและปลายครีบทางค่อนข้างตัดตรง ลำตัวสีน้ำตาลหรือเทา ด้านท้องสีขาว และในปลาขนาดเล็กแถบสีน้ำตาลเข้มที่ลำตัวมีขอบสีดำเข้ม
- เป็นชนิดที่ออกลูกเป็นไข่ ครั้งละ 2 ฟอง ซึ่งไข่มีลักษณะเป็นกระเปาะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความยาว 7-9 ชม. ที่ปลายจะมีเส้นใยสำหรับยึดเกาะวัตถุใต้น้ำ โดยแม่ปลาจะวางไข่ตามกองหินใต้น้ำ หรือตามกอสาหร่ายทะเล ตัวอ่อนเจริญเติบโตและฟักออกจากไขใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ปลาที่โตเต็มวัยมีอายุ 15-25 ปี (อายุสูงสุดที่มีรายงานคือ 27 ปี) ส่วนใหญ่กินปลาขนาดเล็ก ปลาหมึก หอย กุ้งและปูเป็นอาหาร
-
เป็นปลาฉลามขนาดเล็ก ลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนหัวค่อนข้างแบนลงเล็กน้อย ส่วนหัวค่อนข้างกลมมน ตาอยู่ทางด้านบนในแนวข้างของส่วนหัว ช่อง spiracle มีขนาดใหญ่เกือบเท่าตาอยู่ทางด้านหลังหรือตํ่ากว่าขอบล่างของตาเพียงเล็กน้อย ช่องเปิดของจมูกสั้น มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกกับปาก ปากมีขนาดเล็กตำแหน่งเปิดในแนวขวางของส่วนหัวอยู่ทางด้านหน้าของตา ฟันบนขากรรไกรมีรูปร่างหลากหลาย หนวดที่จมูกสั้น ช่องเปิดเหงือกมีขนาดเล็ก มีจำนวน 5 ช่อง โดยช่องที่ 4 เหลื่อมซ้อนอยู่กับช่องที่ 5 ครีบหลังทั้งสองตอนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหลังตอนแรกอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง จุดเริ่มต้นของครีบหลังตอนที่สองอยู่หน้าจุดกำเนิดของครีบก้น ครีบหูมีขนาดเล็กและกลม ครีบก้นกลมมีขนาดเล็กและสั้นแยกออกจากครีบหางด้วยร่องตื้นๆ ครีบหางยาว ในช่วงระยะวัยรุ่น มีพื้นลำตัวสีเทาดำและมีลายขวางสีเข้มพาดผ่าน แต่เมื่อโตเป็นตัวเต็มวัย ลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเทา ไม่มีลายขวาง มักมีจุดสีดำขนาดเล็กกระจายอยูทั่วลำตัว
ระบบนิเวศ :
-
บริเวณพื้นท้องทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลนตามชายฝั่งทะเลถึงระดับความลึกน้ำ 12 เมตร
การกระจายพันธุ์ :
-
ในเขตน่านน้ำไทย พบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
-
บริเวณอ่าวไทยตอนใน
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
-
เนื้อนำมาบริโภคหรือแปรรูปทำปลาหวาน ลูกชิ้น และตากแห้ง ครีบใช้ทำหูฉลามตากแห้ง ตับใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ ส่วนปลาที่มีชีวิตสามารถนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (ไทย) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ Vulnerable: VU (ONEP, 2563)
สถานภาพการคุกคาม (ไทย) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ Vulnerable: VU (ONEP, 2563)
ที่มาของข้อมูล
ชนิดปลาบริเวณอ่าวไทยตอนในจากเรือสำรวจประมง 2, กรมประมง, 2563
ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง, 2560, กรมประมง
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 24 (ฉบับที่ 2) พฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ.2562
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2563.
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
หอยจานบินสันลายขาว
Plectrotopis emma
ด้วงน้ำมันแดงยาว
Eletica castanea
Mugil borneensis
ด้วงหนวดยาวลายหน้าด่าง
Acalolepta pseudospeciosa
Tellina carnicolor
Dioithona rigida
Previous
Next