-
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
นกขนาดเล็กถึงกลาง (36-38 ซม.) ปากหนาและโค้งเล็กน้อย ในฤดูผสมพันธุ์หัวและลำตัวสีดำ ปีกและตอนท้ายของลำตัวเป็นสีน้ำตาลแดง มีลายขีดสีน้ำตาลตลอดร่างกาย ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หัว คอ และช่วงไหล่สีน้ำตาลแดงมีลายขีดสีเนื้อ ปีกสีน้ำตาลเหลือง ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีดำมีลายพาดแคบๆ
สีน้ำตาลเหลือง ด้านล่างลำตัวสีเนื้อแกมน้ำตาล
-
ระบบนิเวศ :
-
พบตามป่าหญ้าหรือบริเวณใกล้ๆ แหล่งน้ำทั่วไป มักพบกระโดดตามพื้นดินหรือตามทุ่งหญ้า บินไม่สูงมากนักและระยะไม่ไกล กินแมลงและสัตว์ขนาดเล็กต่างๆ เป็นอาหาร เช่น กบ เขียด กิ้งก่า และงู
-
ระบบนิเวศภูเขา
-
ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน
-
ระบบนิเวศเกษตร
-
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์
-
อ่างเก็บน้ำหนองบัว/มหาสารคาม
-
เลย
-
อุตรดิตถ์,แพร่,น่าน,พะเยา
-
น่าน
-
นครราชสีมา, ปราจีนบุรี
-
สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, นครนายก
-
ตราด
-
กำแพงเพชร
-
ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
-
พะเยา
-
กระบี่
-
สมุทรปราการ
-
นนทบุรี
-
ฉะเชิงเทรา
-
กรุงเทพมหานคร
-
มุกดาหาร, อุตรดิตถ์, เชียงราย
-
การขยายพันธุ์ :
-
ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-กรกฎาคม สร้างรังตามพงหญ้าหรือพุ่มไม้เตี้ยเป็นรูปทรงกลม วัสดุได้แก่ ต้นหญ้าและใบหญ้า ไข่สีขาว แต่ละรังมีไข่ 2-3 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 18-19 วัน
-
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
ป่าภูหลวง
-
ลุ่มน้ำอิง,ลุ่มน้ำยม,ลุ่มน้ำน่าน
-
พื้นที่เกษตรกรรม บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน อำเภอท่าวังผา และพื้นที่ใกล้เคียง
-
อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
-
อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
-
อุทยานแห่งชาติ น้ำตกคลองแก้ว
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสนามเพรียง
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงลอ
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ป่าดงภูสีฐาน มุกดาหาร, ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา อุตรดิตถ์, ป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว เชียงราย