Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Dicerma biarticulatum
Dicerma biarticulatum
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Dicerma biarticulatum
(L.) DC.
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย:
-
กระดูกอึ่ง
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Fabales
วงศ์::
Fabaceae
สกุล:
Aphyllodium
ปีที่ตีพิมพ์:
2546
วันที่อัพเดท :
23 พ.ค. 2567 10:48 น.
วันที่สร้าง:
23 พ.ค. 2567 10:48 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ลำต้นกึ่งตั้ง ลำต้นและกิ่งมีสีเขียวปนน้ำตาลแดง มีปุยขนสีขาวสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกมี 3 ใบย่อย (Trifoliate) รูปร่างใบแบบขอบขนานแกมรูปไข่กลับ (Obovate oblong) หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนสั้นๆจำนวนมากสังเกตได้ชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย ขอบใบมีขนครุย (ciliate) หูใบ (stipule) มีสีน้ำตาลแดง ออกดอกที่ปลายยอด และตาข้าง กลีบดอกสีชมพูอ่อนแกมม่วง ผลเป็นฝักแบนคอดหักเป็นข้อๆมี 1-2 ข้อ ฝักมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ในพื้นที่ภาคใต้ออกดอกติดเมล็ดช่วงเดือน พฤษภาคมถึงสิงหาคม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ลำต้นสูง 40-50 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 3.0-7.2 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกมี 3 ใบย่อย (Trifoliate) ใบบนสุดกว้าง 0.8-1.0 เซนติเมตร ยาว 2.0-2.5 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร ยาว 1.8-2.2 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.7-1.0 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 10.8-14.1 เซนติเมตร ผลเป็นฝักแบนคอดหักเป็นข้อๆมี 1-2 ข้อ เมล็ดมีขนาดกว้าง 2.9-4.3 มิลลิเมตร ยาว 4.6-6.6 มิลลิเมตร หนา 1.3-1.6 มิลลิเมตร
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
อุทัยธานี, ร้อยเอ็ด, สงขลา
-
บุรีรัมย์, สระแก้ว
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่สวนป่าสาธารณะของอำเภอทัพทัน อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่ดินทรายจัดของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
-
อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา
ที่มาของข้อมูล
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 1
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Microlepia puberula
Mallotus floribundus
คัดเค้าดง
Oxyceros bispinosus
Osmunda angustifolia
สะเดาแดง
Ganophyllum falcatum
Myrmechis pumila
Previous
Next