Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Echinochloa picta
Echinochloa picta
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Echinochloa picta
(J.Koenig) P.W.Michael
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Oplismenus pictus (J.Koenig) Kunth
- Panicum pictum J.Koenig
ชื่อไทย:
-
หญ้านกต้นเขียว
ชื่อท้องถิ่น::
-
หญ้านกต้นเขียว (ชาญชัย)
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Liliopsida
อันดับ:
Poales
วงศ์::
Poaceae
สกุล:
Echinochloa
ปีที่ตีพิมพ์:
2548
วันที่อัพเดท :
12 มี.ค. 2567 10:55 น.
วันที่สร้าง:
12 มี.ค. 2567 10:55 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นพืชหลายปีขึ้นในที่ชุ่มน้ำ ลำต้นค่อนข้างทอดเลื้อยปลายยอดตั้งชี้ขึ้น ลำต้นสีเขียวเรียบค่อนข้างมัน ส่วนรับแสงมีสีน้ำตาลอมม่วง ลำต้นแข็งและหนา ใบเป็นแบบรูปใบหอก (lanceolote) โคนตัดแผ่นใบเรียวไปปลายใบแหลม สีใบเขียว ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย หน้าใบมีขนยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปริมาณน้อยกว่าหลังใบที่มีขนยาว 2 – 2.5 มิลลิเมตร ช่วงโคนใบขึ้นมาประมาณ 2 เซนติเมตร มีขนยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่ประปราย ขอบใบสีม่วง จากโคนใบขึ้นมาประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร มีรอยหยักแบบฟันเลื่อยห่างๆ (serrate) ส่วนกลาง-ปลายใบ มีรอยหยักแบบฟันเลื่อยถี่ๆ (serrulate) และคม เส้นกลางใบ (mid rib) ของหน้าใบส่วนล่างเป็นร่องกว้างกว่าส่วนปลายใบ ลิ้นใบ (ligule) เป็นเส้นๆ (fringe of hairs) ยาวประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตร มีจำนวนมากเห็นชัดเจน ข้อมีลักษณะพองออกเล็กน้อย ข้อส่วนล่างที่ติดดินมีขนปกคลุม แต่ไม่แตกราก ยอดอ่อนโผล่แบบม้วน ออกดอกเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง (Panicle) ขนาดของช่อดอกใหญ่ กลุ่มช่อดอกย่อยมี 2ดอก (floret) มีก้านดอกแต่สั้นมาก (subsessile) เรียงแบบสลับบนแกนช่อดอก ดอกอันบนเป็นดอกสมบูรณ์เพศมี Upper lemma ห่อหุ้มและมี palea ประกบอยู่ด้านนอก ดอกสีเขียวอ่อนรูปไข่ขนาดใหญ่ยาวประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีหาง (awn) ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ดอกอันล่างเป็นหมันมีเฉพาะLower lemma กับ palea ไม่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ความสูงของต้น 82.59 – 175.55 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 5.61 – 7.81 มิลลิเมตร ใบยาว 22.83 – 39.63 เซนติเมตร กว้าง 1.41 – 1.55 เซนติเมตร ช่อดอกรวมยาวประมาณ 35 เซนติเมตร ส่วน Head ยาวประมาณ 18 เซนติเมตร มีประมาณ 23 ช่อดอกย่อย ช่อดอกย่อยส่วนล่างยาว 5 – 6 เซนติเมตร ส่วนปลายยอดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
พิษณุโลก
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่บ้านบ่อทอง ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
ที่มาของข้อมูล
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 2
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Acroceras munroanum
Senecio boluangensis
Vitex Vitex
Tupistra muricata
ประดับหินอัสสัม
Argostemma khasianum
Tetrastigma glabratum
Previous
Next