Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Massia triseta
Massia triseta
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Massia triseta
(Nees ex Steud.) Balansa
Status:
SYNONYM
ชื่อสามัญ::
-
หญ้าดอกเลา
ชื่อไทย:
-
หญ้าดอกเลา
ชื่อท้องถิ่น::
-
หญ้าดอกเลา (ยโสธร)
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Liliopsida
อันดับ:
Poales
วงศ์::
Poaceae
สกุล:
Eriachne
ปีที่ตีพิมพ์:
2548
วันที่อัพเดท :
12 มี.ค. 2567 10:55 น.
วันที่สร้าง:
12 มี.ค. 2567 10:55 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นพืชอายุค้างปี ลักษณะของกอหลวม ลำต้นเล็ก ลำต้นเรียบมีสีเขียวเข้ม ข้อสีเขียวมีขนสั้น ๆ ปกคลุมปานกลาง ใบแคบรูปหอก (lanceolate) โคนใบตัดปลายใบเรียวเป็นเส้นและแหลม ผิวใบค่อนข้างสากเล็กน้อย ใบเรียบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบ (mid-rib) เป็นเส้นตรงเล็กมากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ริมขอบใบด้านหน้าทั้งสองข้างเป็นขอบหนาขึ้นจากแผ่นใบและห่อตัว(convolute) ยาวจากโคนใบไปจนถึงปลายใบ ขอบใบมีรอยหยักฟันเลื่อยถี่ (serrulate) ลิ้นใบ (ligule) เป็นแผ่นขอบลุ่ยเป็นเส้น ๆ (membranous-frayed) ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร กาบใบสีเขียวหุ้มแนบลำต้น ยอดอ่อนโผล่แบบม้วนออกดอกเดือน ตุลาคม-กรกฎาคม ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง (panicle) ลักษณะช่อดอกมีช่อดอกย่อยแตกแขนงจากแกนช่อดอกที่จุดเดียวกันหลายแขนง (open panicle) แต่ละแขนงมีกลุ่มช่อดอกย่อย (spikelet) 3-5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 3 ดอก (floret) ดอกรูปเข็ม สีเขียวอมขาวนวล ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีก้านดอกยาว และมีหาง (awn) แตกเป็น 3 แฉก ยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร โดยแฉกหนึ่งเกิดที่กาบดอกล่าง (lemma)และอีกสองแฉกเกิดที่กาบดอกบน (palea) มีสีเขียวส่วนปลายหางสีม่วง มีกาบหุ้มดอก (glume) สีม่วงอ่อน 2 กาบ ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ความสูงของต้น 91.74-112.7 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 2.71-4.17 มิลลิเมตร ใบยาว 43.31-72.35 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 39.93-49.25 เซนติเมตร ส่วน Head ยาว 18-20.5 เซนติเมตร
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ยโสธร, นครราชสีมา
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่บ้านปลาอีด ตำบลนาแก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ตำบลบ้านเก่า กิ่งอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา
ที่มาของข้อมูล
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 2
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
กรมปศุสัตว์
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Herpysma longicaulis
หญ้าขจรจบดอกเล็ก
Pennisetum pedicellatum
Heteropolygonatum roseolum
Dendrochilum pallidiflavens
Hedyotis tetrangularis
Menisciopsis lakhimpurensis
Previous
Next