Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Paederia linearis
Paederia linearis
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Paederia linearis
Hook. f.
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Hondbesseion lineare (Hook.f.) Kuntze
ชื่อไทย::
-
ตดหมูตดหมา
ชื่อท้องถิ่น::
-
ตดหมูตดหมา (ภาคกลาง,ตาก),ตำยานตัวผู้ (นครราชสีมา),พังโหม(ภาคกลาง),ย่านพาโหม(ภาคใต้), หญ้าตดหมา (ภาคเหนือ)
อาณาจักร::
Plantae
วงศ์::
Rubiaceae
วันที่อัพเดท :
3 ม.ค. 2567 14:30 น.
วันที่สร้าง:
3 ม.ค. 2567 14:30 น.
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก/พิษณุโลก
-
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
-
ลำปาง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
การเจริญเติบโตแบบไม้เลื้อย เนื้ออ่อน ลำต้นสีเขียว หน้าใบไม่มีขน แผ่นหลังใบไม่มีขน แต่จะมีขนสั้นๆละเอียดที่มุมเส้นใบตัดกับเส้นกลางใบ ใบมีสีเขียวถึงเขียวค่อนข้างเข้ม ขอบใบเรียบ (entire) ก้านใบ กิ่งอ่อน ก้านช่อดอกและผลมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ออกดอกเป็นช่อที่ยอด และตามซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกด้านนอกสีขาว ด้านในสีม่วงเข้ม รูปกรวยปลายแยกเป็น 5 แฉกและหยักตื้น ผลรูปไข่หรือกลม แบน ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.8 – 5.0 มิลลิเมตร ใบรูปใบหอก (lanceolate) กว้าง 1.0 – 2.2 เซนติเมตร ยาว 7.1 – 12.0 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1.2 – 2.3 เซนติเมตร ผลมีขนาดกว้าง 0.4 – 0.5 เซนติเมตร ยาว 0.5 – 0.7 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์ :
-
พบขึ้นทั่วๆ ไป ในสภาพพื้นที่โล่งแจ้ง หรือมีเงาไม้ยืนต้น
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
การขยายพันธุ์ :
-
ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ข้อมูลเชิงพิพิธภัณฑ์
Barcode
ชื่อพิพิธภัณฑ์
จังหวัด
ลักษณะ
Barcode
ชื่อพิพิธภัณฑ์
จังหวัด
ลักษณะ
ที่มาของข้อมูล
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ทรัพยากรธรรมชาติของคนชายโขง, กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 2
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Lantana montevidensis
Levisticum officinale
หญ้ากาบหอยตัวเมีย
Lindernia crustacea
เหงือกปลาหมอ
Acanthus ilicifolius
Frullania parvistipula
Isachne smitinandiana
Previous
Next