Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Brevitrygon heterura
Brevitrygon heterura
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Brevitrygon heterura
(Bleeker, 1852)
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Himantura heterurus (Bleeker, 1852)
- Trygon heterurus Bleeker, 1852
ชื่อสามัญ::
-
Dwart whipray
-
Dwarf whipray
ชื่อไทย:
-
กระเบนตุ๊กตา
-
กระเบนตุ๊กตา, กระบาง, กระเบนหางหนาม
-
ปลากระเบนตุ๊กตา, ปลากระบาง, ปลากระเบนหางหนาม
-
กระบาง, ตุ๊กกา
อาณาจักร::
Animalia
ไฟลัม::
Chordata
ชั้น::
Elasmobranchii
อันดับ:
Myliobatiformes
วงศ์::
Dasyatidae
สกุล:
Brevitrygon
ที่มา :
โอภาส ชามะสนธิ์ และ ไพรินทร์ เพ็ญประไพ
ปรับปรุงล่าสุด :
19 เม.ย. 2567
ที่มา :
ทัศพล กระจ่างดารา
ปรับปรุงล่าสุด :
13 ก.พ. 2567
วันที่อัพเดท :
23 ก.ค. 2562 00:00 น.
วันที่สร้าง:
23 ก.ค. 2562 00:00 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
อ่าวไทย ทะเลอันดามัน
ระบบนิเวศ :
-
Marine
-
บริเวณพื้นท้องทะเลตามชายฝั่งทะเล จนถึงระดับความลึกน้ำ 50 เมตร
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
- ขนาดความยาว สูงสุด 24 ชม. (TL 46 ชม.) ขนาดทั่วไปที่พบ 15-20 ซม. ขนาดสมบูรณ์เพศของเพศผู้ 14-18 ซม. เพศเมีย 17-18 ชม. และขนาดแรกเกิด 8-10 ชม.
- แผ่นลำตัวบางเป็นรูปไข่หรือวงรี มีแถบตุ่มนูนแข็งกลางแผ่นลำตัวกว้างในปลาที่โตเต็มวัย มีแถวหนามยาว (4-6 อัน) ที่แนวกลางด้านบนโคนหางที่ค่อนข้างแบนลง หางสั้น ส่วนใหญ่มีเงี่ยง 1-2 อัน และไม่มีแผ่นหนังที่หาง ในปลาเพศเมียที่โตเต็มวัย ปลายหางมีรูปร่างเป็นกระเปาะ แผ่นลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาล ตามขอบมีสีอ่อนลง ด้านท้องมีสีขาว และตามขอบเป็นสีน้ำตาลอ่อน
- มีรายงานข้อมูลชีวิวิทยาของปลาชนิดนี้น้อยมาก ซึ่งเป็นชนิดที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 1-4 ตัว ส่วนใหญ่กินสัตว์หน้าดินขนาดเล็กเป็นอาหาร
-
ลำตัวแบนลงมาก อาจมีหรือไม่มีครีบหลัง ครีบหูแผ่ออกอยู่ทั้งสองข้างของลำตัว โดยด้านหน้าไปบรรจบกันที่บริเวณส่วนหน้าของกะโหลกศีรษะทำให้เห็นส่วนของจะงอยปากชัดเจน ในขณะที่ส่วนหลังแผ่ไปทางด้านหลังจนจรดกับโคนหางทั้งสองด้าน ตำแหน่งตาอยู่ทางด้านหลัง มีช่อง spiracle ขนาดใหญ่อยู่ชิดทางด้านท้ายของหลังตา ฟันเป็นซี่เล็กเรียงอยู่ติดต่อกันเป็นแถวๆ เป็นจำนวนมาก ส่วนหางแยกออกจากส่วนลำตัวมีลักษณะแคบเรียวยาวเป็นเส้นคล้ายแส้ มักจะมีหนามแหลมที่มีขอบเป็นหยัก (serrated) อยู่ถัดจากโคนหางเข้าไปเล็กน้อย ผิวหนังเรียบหรือหยาบ อาจมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งหรือแถวหนามแหลมบริเวณกลางลำตัวถึงหาง
การกระจายพันธุ์ :
-
ในเขตน่านน้ำไทย พบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
-
บริเวณแนวชายฝั่งของอ่าวไทยตอนใน
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์
-
เนื้อนิยมนำมาบริโภค หรือแปรรูปตากแห้ง ส่วนปลาที่ไม่สดใช้ทำปลาเหยื่อ และปลาป่น
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (ไทย) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened: NT (ONEP, 2563)
สถานภาพการคุกคาม (ไทย) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened: NT (ONEP, 2563)
ที่มาของข้อมูล
ชนิดปลาบริเวณอ่าวไทยตอนในจากเรือสำรวจประมง 2, กรมประมง, 2563
ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง, 2560, กรมประมง
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 24 (ฉบับที่ 2) พฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ.2562
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2563.
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Butorides striatus
Dougaloplus acanthinus
Puntigrus partipentazonz
Naso hexacanthus
Rhopodytes diardi
Heterocyathus aequicostatus
Previous
Next