Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Plumeria acutifolia
Plumeria acutifolia
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Plumeria acutifolia
Poir.
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย::
-
ลีลาวดี
ชื่อท้องถิ่น::
-
Lan thom
-
ลั่นทม(ภาคกลาง), จงป่า(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี), จำปาขอม, จีน(ภาคใต้), จำปาขาว(ภาคเหนือ), จำปาลาว(ภาคเหนือ), จำปาย, จำไป(เขมร), พอบ่ออึ(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), มอยอ, มะยอ(มลายู นราธิวาส), มอกจ๋ามก๋า(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)
อาณาจักร::
Plantae
วงศ์::
Apocynaceae
วันที่อัพเดท :
1 ธ.ค. 2564 03:17 น.
วันที่สร้าง:
1 ธ.ค. 2564 03:17 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ลีลาวดี หรือ ลั่นทม เป็นไม้ดอกชนิดยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง เม็กซิโก แคริบเบียน และอเมริกาใต้ ในบ้านเรามีความเชื่อมาแต่โบราณว่าไม่ควรปลูกต้นลั่นทมไว้ในบริเวณบ้าน เนื่องจากมีชื่ออัปมงคล เพราะไปพ้องกับคำว่า ระทม" ซึ่งแปลว่า ความทุกข์ใจ เศร้าโศกนั่นเอง แต่ได้มีการเปลี่ยนมาเรียกชื่อใหม่แทนซึ่งก็คือ "ลีลาวดี" โดยเป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีความหมายว่า "ดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามและอ่อนช้อย" และในปัจจุบันนี้ต้นลีลาวดีได้รับความนิยมและปลูกกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะในบ้านหรือนอกบ้านก็ตาม"
การขยายพันธุ์ :
-
1. การเพาะเมล็ด จะใช้ฝักที่แก่จัด ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ 50 -100 ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์ หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง
2. การปักชำ เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้
3. การเปลี่ยนยอด จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจจะเสียบ ข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า
4. การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ ได้เป็นจำนวนมาก
ที่มาของข้อมูล
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เคราสิงห์แก้มลาย
Pelatantheria ctenoglossa
หญ้าตีนตุ๊กแก
Coldenia procumbens
กาติดขาว
Erycibe albida
Senegalia rugata
Hedyotis tetrangularis
Strobilanthes consors
Previous
Next