Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Eragrostis diplachnoides
Eragrostis diplachnoides
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Eragrostis diplachnoides
(Steud.) Stapf
Status:
SYNONYM
ชื่อสามัญ::
-
หญ้าหวาย (ภาคใต้)
ชื่อไทย::
-
หญ้าหวาย
ชื่อท้องถิ่น::
-
หญ้าหวาย (ภาคใต้)
อาณาจักร::
Plantae
วงศ์::
Poaceae
วันที่อัพเดท :
1 ธ.ค. 2564 03:17 น.
วันที่สร้าง:
1 ธ.ค. 2564 03:17 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นพืชค้างปี ต้นเป็นกอค่อนข้างตั้ง (intermediate-erect) ลำต้นเรียบ (glabrous) สีเขียวอมเหลือง ปล้องค่อนข้างยาว ใบเป็นแบบรูปใบดาบ (ensiform) เรียวยาวไปที่ปลาย ใบเรียบ สีใบเขียวอ่อน ผิวใบเรียบ ค่อนข้างนุ่ม ลื่นเล็กน้อย ขอบใบสีน้ำตาลแดงมีรอยหยักแบบฟันเลื่อยห่าง (serrate) ลิ้นใบ (ligule) เป็นแผ่นหยักขึ้นลงสั้นๆ (membranous-serrate toothed) ข้อสีเขียว-เหลือง ไม่มีขน ออกดอกประมาณเดือนพฤษภาคม-มกราคม ช่อดอกแบบแยกแขนง (panicle) ดอกสีเขียวอมม่วงแดง กลุ่มช่อดอกย่อย (spikelet) ของหญ้าหวายบีบตัวแบนและ ไม่บานออกเหมือนช่อดอกหญ้ากินนี มีประมาณ 46 ช่อย่อยต่อหนึ่งช่อดอก ส่วนใหญ่พบมีดอกย่อย (floret) 2 ดอกต่อกลุ่มและมีก้านดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ต้นสูง 98.23-129.67 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 3.17-4.03 มิลลิเมตร ขนาดใบยาว 15.37-25.89 เซนติเมตร กว้าง 0.57-0.69 เซนติเมตร กาบใบสีเขียวหุ้มลำต้นมีขนาดยาว 9.02-17.06 เซนติเมตร ความยาวช่อดอก 65.19-90.11 เซนติเมตร ส่วนที่เป็นHeadยาว 28.27-39.87 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยรวมยาว 11.48-14.16 เซนติเมตร กว้าง 0.8-1.3 เซนติเมตร กลุ่มช่อดอกย่อย (spikelet) มีขนาดยาว 3.0- 5.0 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-1.0 มิลลิเมตร
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
พิจิตร, สุโขทัย, นครศรีธรรมราช
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
บ้านถ้ำคะนอง ตำบลสากเหล็ก อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ตำบลวังดง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดสุโขทัย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ข้อมูลเชิงพิพิธภัณฑ์
Barcode
ชื่อพิพิธภัณฑ์
จังหวัด
ลักษณะ
Barcode
ชื่อพิพิธภัณฑ์
จังหวัด
ลักษณะ
ที่มาของข้อมูล
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 2
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Rubus dielsianus
Dendrobium incurvum
Alpinia peninsularis
ตาเสือ
Aphanamixis polystachya
มะพลับ หรือตะโกสวน
Diospyros malabarica
Luisia morsei
Previous
Next