Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Desmodium styracifolium
Desmodium styracifolium
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Desmodium styracifolium
(Osbeck) Merr.
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย::
-
หนูท้องขาว
ชื่อท้องถิ่น::
-
หนูท้องขาว(ตราด) รุกกุนิงตาหน่อ (ยะลา) ผีเสื้อน้ำ (ลำปาง)ก้วงกัวฮี (อุบลราชธานี)
อาณาจักร::
Plantae
วงศ์::
Fabaceae
วันที่อัพเดท :
1 ธ.ค. 2564 03:16 น.
วันที่สร้าง:
1 ธ.ค. 2564 03:16 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เจริญแตกกิ่งก้านสาขาในระดับใกล้ผิวดิน มีลักษณะแผ่คลุมดิน ลำต้นมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักมีสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ด้านล่างที่ไม่ถูกแสงมีสีเขียว และมีขนขึ้นปกคลุมหนาแน่นมาก หลังใบมีขนขึ้นปกคลุมจำนวนมาก ในด้านหน้าไม่มีขน ใบแบบขนนกมีใบย่อย 3 ใบ (trifoliate) และมีใบเดี่ยว(simple) ขึ้นปะปน ใบมีรูปร่างหลายแบบ คือ กลม (globose) กลมแต่ปลายใบมีรอยเว้าตื้น (emerginate) วงรีกว้าง (oval) รูปไข่กลับมียอดกว้างกว่าส่วนฐาน ใบมีสีเขียวถึงเขียวเข้ม หูใบ (stipule) สีน้ำตาลเข้ม ออกดอกที่ปลายยอดการออกดอกเป็นแบบ Indeterminate (ดอกบานและเจริญเป็นฝักที่โคนช่อดอกจรถึงปลายช่อดอก) ดอกเป็นกระจะ (raceme)รูปกรวย มีดอกย่อย 16-42 ดอก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกกลาง (standard) สีบานเย็นปลายกลีบสีม่วงอ่อน ส่วนกลีบดอกคู่ด้านข้าง (wing) จะมีสีบานเย็นสด อับเรณู(anther) สีเหลือง 4 อัน ก้านเกสรเพศผู้สีม่วงแดงเข้มเกสรเพศเมีย (stigma) สีเขียวอ่อนดอกเหลือง แต่ละฝักมีเมล็ด1-5 เมล็ด ส่วนที่เว้าคอดของฝักสามารถหักออกเป็นแต่ละข้อได้ ออกดอกติดเมล็ดมากในช่วงฤดูฝนเดือนมิถุนายน ถึงตุลาคม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-12.0 มิลลิเมตร ใบแบบขนนกมีใบย่อย 3 ใบ (trifoliate) และมีใบเดี่ยว(simple) ขึ้นปะปน ใบบนสุดกว้าง 1.2-3.4 เซนติเมตร ยาว 1.4-4.5 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 0.6-2.5 เซนติเมตร ยาว 0.6-3.5 เซนติเมตร ก้านใบยาว0.5-1.2 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 3.5-7.5 เซนติเมตร ฝักยาว 0.5-1.8 เซนติเมตร กว้าง1.8-3.0 มิลลิเมตร
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ร้อยเอ็ด, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ชัยภูมิ, ศรีสะเกษ, ขอนแก่น, บุรีรัมย์, สุรินทร์, นครราชสีมา, พิษณุโลก, แม่ฮ่องสอน, สงขลา, นครศรีธรรมราช
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พบที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 35-475 เมตร โดยพบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรัง เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดนครราชสีมา นอกจากนั้นยังพบในจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่มาของข้อมูล
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 1
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Molineria finlaysoniana
Gardenia truncata
ขลู่
Pluchea indica
เหงือกปลาหมอ
Acanthus illicifolius
Diospyros ferruginescens
Scaphium macropodum
Previous
Next