Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Desmodium heterophyllum
Desmodium heterophyllum
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Desmodium heterophyllum
(Willd.) DC.
Status:
SYNONYM
ชื่อสามัญ::
-
hetero, spanish clover
ชื่อไทย::
-
แมงมี่
ชื่อท้องถิ่น::
-
หญ้าแมงมี่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
อาณาจักร::
Plantae
วงศ์::
Fabaceae
วันที่อัพเดท :
1 ธ.ค. 2564 03:16 น.
วันที่สร้าง:
1 ธ.ค. 2564 03:16 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นพืชล้มลุกที่ทอดเลื้อย เจริญแผ่คลุมดิน แตกกิ่งก้าน ลำต้นสีเขียวส่วนที่โดนแสงมีสีม่วงแดง มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบ ขนนกมี 3 ใบย่อย (trifoliate) ส่วนล่างของลำต้นมักมีใบย่อยแบบใบเดี่ยว (simple) ใบมีรูปร่างตั้งแต่ รูปใข่กลับ (obovate) รูปรี (elliptic) จนถึงรูปขอบขนาน (oblong) หน้าใบและหลังใบมีขนเล็กน้อย ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างทั้งสองจะเล็กกว่าใบบน ขอบใบเรียบ (entire) หูใบสีน้ำตาลแดง ออกดอกที่ปลายยอด และตาข้าง กลีบดอกมีสีม่วง ฝักแบนหักได้เป็นข้อๆ แต่ละฝักมี 2-6 ข้อ ออกดอกติดเมล็ด ช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนมกราคม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
สูง 10-20 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 0.8-1.9 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกมี 3 ใบย่อย (trifoliate) ใบบนสุดกว้าง 0.7-1.4 เซนติเมตร ยาว 1.4-2.7 เซนติเมตร ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างทั้งสองจะเล็กกว่าใบบนคือมีขนาดกว้าง 0.5-0.7 เซนติเมตร ยาว 0.5-1.3 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 1.5-3.9 เซนติเมตร ฝักมีขนาดกว้าง 0.3-3.0 เซนติเมตร ยาว 1-2 เซนติเมตร
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สตูล, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, สุราษฎร์ธานี, พัทลุง, สงขลา, สตูล, ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, นครราชสีมา, มุกดาหาร, ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พบบริเวณจังหวัดสตูล จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพัทลุง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอศิลา อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น อำเภอเขื่องใน อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
สถานที่ชม :
-
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา
ที่มาของข้อมูล
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 1
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Elaeocarpus nitidus
กำยานญวน
Styrax tonkinensis
Albizia garrettii
Ficus deltoidea
Amorphophallus tenuistylis
Nothapodytes montana
Previous
Next