Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Chloris dolichostachya
Chloris dolichostachya
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Chloris dolichostachya
Lagasca
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย:
-
หญ้าขุนยวม
ชื่อท้องถิ่น::
-
หญ้าขุนยวม (แม่ฮ่องสอน)
อาณาจักร::
Plantae
วงศ์::
Poaceae
วันที่อัพเดท :
1 ธ.ค. 2564 03:17 น.
วันที่สร้าง:
1 ธ.ค. 2564 03:17 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นพืชอายุหลายปี กอค่อนข้างตั้ง ลำต้นส่วนล่างของกอแผ่เล็กน้อย ลำต้นสีเขียว ส่วนที่รับแสงมีสีม่วงแดง ผิวลำต้นเรียบ มัน ลื่นเล็กน้อย และค่อนข้างเหนียว ข้อสีเขียวอมม่วง มีขนปกคลุมเล็กน้อย รูปร่างใบแบบใบหอก (lanceolate) โคนตัด ปลายใบเรียวแหลม ใบสีเขียวอ่อน ผิวใบค่อนข้างหยาบ สากติดมือเล็กน้อย หน้าใบมีขนยาวประมาณ 3 มิลลิเมตรขึ้นกระจายอยู่เล็กน้อย หลังใบไม่มีขน เส้นกลางใบ (mid-rib) ด้านหลังเป็นสันนูนขึ้น ลูบสากมือเล็กน้อย ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยถี่ (serrulate) ค่อนข้างคม ลิ้นใบ (ligule) เป็นเส้น ๆ (fringe of hair) ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ออกดอกเดือน มีนาคม-สิงหาคม ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบ sub-digitate panicle (ช่อดอกย่อยออกจุดเดียวกันมีช่อดอกย่อยเดี่ยวเกิดอยู่ใต้ช่อดอกบน) แกนช่อดอกย่อยส่วนโคนประมาณ 1.5 เซนติเมตร หยักเป็นคลื่น กลุ่มดอกย่อยมี2ดอก (floret) มีก้านสั้นมากเรียงตามกันไปบนแกนดอกจนถึงปลายช่อดอก มีดอกบนเป็นดอกสมบูรณ์เพศรูปรียาวประมาณ 2 มิลลิเมตร สีเขียว ส่วนปลายดอกสีม่วง และมีหาง (awn) ยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ดอกล่างมีขนาดเล็กกว่าดอกบนมีหางสั้นๆจะเป็นดอกที่เป็นหมัน มีกาบดอก (glume) สีม่วงยาวประมาณ 3 มิลลิเมตรโอบหุ้มรอบดอก ที่โคนดอกมีเส้นยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร 1 เส้น อับเรณู (anther) สีม่วง เกสรตัวเมีย (stigma) สีม่วง ดอกแก่สีน้ำตาลอ่อน ร่วงง่าย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ลำต้นสูง 108.8-147.1 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.97-3.91 มิลลิเมตร ใบยาว 30.78-41.4 เซนติเมตร กว้าง 1.03-1.11 เซนติเมตร กาบใบสีเขียวอ่อน ยาว 15.51-21.61 เซนติเมตร ขอบกาบใบมีขนจำนวนมาก ยาว 1-3 มิลลิเมตร
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
แม่ฮ่องสอน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
เขตพื้นที่บ้านหนองแห้ง ตำบลปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สถานที่ชม :
-
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล
ที่มาของข้อมูล
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 2
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
ผักเบี้ยหิน
Trianthema portulacastrum
Brachiaria distachya
เงาะขนสั้น
Nephelium ramboutan-ake
พุทราใบเหลี่ยม
Ziziphus angustifolius
สิรินธรวัลลี
Phanera sirindhorniae
Vernonia andersonii
Previous
Next