Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Dasymaschalon lomentaceum
Dasymaschalon lomentaceum
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Dasymaschalon lomentaceum
Finet & Gagnep.
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Desmos lomentaceus (Finet & Gagnep.) P.T.Li
ชื่อสามัญ::
-
Prong kio
ชื่อไทย::
-
โปร่งกิ่ว
-
ต้นเจิงจ๊าบ หอมนวล (ภาคเหนือ), เดือยไก่ ติดต่อ ตีนไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ลำดวน (ภาคกลาง)
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Magnoliales
วงศ์::
Annonaceae
สกุล:
Dasymaschalon
ปีที่ตีพิมพ์:
2014
วันที่อัพเดท :
9 พ.ย. 2566 17:15 น.
วันที่สร้าง:
9 พ.ย. 2566 17:15 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้พุ่ม
-
ต้นโปร่งกิ่ว จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งจำนวนมาก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมดำ มีช่องระบายอากาศสีขาว เป็นจุดกลม กระจายหนาแน่นทั่วลำต้น เนื้อไม้เหนียว กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยพบขึ้นในป่าละเมาะ ตามป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ที่ระดับ
ความสูงประมาณ 150-300 เมตร
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ใบ - ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียว ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปรี รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบเรียวทู่หรือแหลมแล้วมน โคนใบเป็นรูปหัวใจ มนหรือเว้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีนวล เส้นกลางใบด้านบนเป็นร่อง ส่วนด้านล่างเป็นสันนูนเด่น มีเส้นแขนงใบ 7-11 คู่ เห็นได้ไม่ชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร
ดอก - ออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งหรือออกที่ปลายกิ่ง ดอกอ่อนเป็นสีขาวอมเขียว ดอกบานเป็นสีเขียวแกมเหลือง แล้วจะหลุดร่วงลงไปทั้งกรวย ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กลีบดอกติดกันเป็นกรวย ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร โคนดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ปลายมีลักษณะกรวยมน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่ สีเขียว มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ออกดอกในช่วงประมาณมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
ผล - ออกผลเป็นกลุ่มๆ มีผลย่อยประมาณ 6-12 ผล ผลย่อยเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอกยาว ออกมาจากจุดเดียวกัน เปลือกผลคอดถี่ตามรูปเมล็ดประมาณ 2-4 ข้อ แต่ไม่คอดถึงกลางผล ปลายผลแหลม ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมขาว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสดหรือสีแดงปนดำ ก้านช่อผลยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลประมาณ 2-5 เมล็ด เรียงชิดติดกัน ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงรี จะติดผลในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
สุรินทร์
ที่มาของข้อมูล
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น, กองทุนสิ่งแวดล้อม, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Alpinia peninsularis
Taxiphyllum taxirameum
Asplenium thunbergii
มาลัยนงนุช
Petraeovitex bambusetorum
Celosia spicata
Corymborkis veratrifolia
Previous
Next