Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Avicennia lanata
Avicennia lanata
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Avicennia lanata
Ridl.
Status:
SYNONYM
ชื่อไทย::
-
แสมขน
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Lamiales
วงศ์::
Acanthaceae
สกุล:
Avicennia
ปีที่ตีพิมพ์:
2020
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิ.ย. 2566
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
28 มิ.ย. 2566
วันที่อัพเดท :
27 มิ.ย. 2566 14:34 น.
วันที่สร้าง:
27 มิ.ย. 2566 14:34 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก (Small tree)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ต้นขนาดเล็กเป็นพุ่ม ไม่ผลัดใบ สูง 5-8 ม. พบน้อยที่เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 20 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มหนา แตกกิ่งต่ำ ไม่มีพูพอน มีรากหายใจรูปคล้ายดินสอยาว 15-25 ซม. ลำต้นรูปทรงกรวยคว่ำ เปลือกเรียบถึงแตกเป็นร่องตามยาวเล็กน้อย สีเทาเข้ม มีช่องอากาศกระจายทั่วไป กิ่อ่อนอวบคล้ายระบอง มีข้อนูนเด่น ใบและส่วนต่างๆ ที่ยังอ่อนขนแบบขนแกะสีขาวคลุม เมื่อมองจากระยะไกลจะเห็นพุ่มต้นเป็นสีขาวอมเหลือง
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปรี ขนาด 1.5-4x2.5-8 ซม. โคนใบสอบเป็นรูปลิ่มถึงแหลม ขอบใบเรียบและม้วนลงเล็กน้อย ปลายใบทู่ถึงกลม เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยกตัว เส้นแขนง 5-7 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เนื้อใบอวบน้ำแกมเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนสีเขียวหม่นมีขนปกคลุมประปราย ด้านล่างสีขาวอมเหลือง มีขนแบบขนแกะสีขาวปกคลุมหนาแน่น ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. มีขนแบบขนแกะสีขาวปกคลุม
ดอก แบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ปลายอด ก้านช่อดอกยาว 1-5 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 4-12 ดอก เรียงเป็นกระจุกแน่นที่ปลายก้านช่อ ก้านช่อกระจุกยาว 0.5-1.5 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลืองถึงเหลืองอมส้ม รูปกงล้อ ไม่มีก้านดอก ดอกบาน มีกลิ่นหอม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ฐานดอกมีการองดอกรูปไข่ นูน และมีกาบหุ้มดอกย่อยด้านข้าง 1 คู่ เรียงซ้อนเหลื่อมห่อหุ้มไว้ ขอบกาบเรียบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ เรียงซ้อนเหลื่อมกัน ทั้งกาบรองดอกและกลีบเลี้ยงไม่หลุดร่วงเมื่อเป็นผล กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กว้าง แผ่บานออกยาว 0.2-0.3 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนปกคลุมหนาแน่นทางด้านนอก
ผล แบบผลแห้งแตกตามรอยประสานเป็นสองซีก รูปทรงไข่กว้าง เบี้ยวถึงเกือบกลม ค่อนข้างแบน ขนาด 1.5-2.0x1.3-1.8 ซม. เปลือกผลบาง อ่อนนุ่ม สีเขียวอ่อนอมขาว มีขนแบบขนแกะปกคลุมหนาแน่น ผิวเปลือกมีรอยย่น ปลายผลเป็นจะงอยสั้น เมื่อแก่เต็มที่เปลือกจะแตกแล้วม้วนเป็นหลอดกลม เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น มี 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ :
-
ชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศไทย รัฐมะละกา และปาหังของมาเลเซีย สิงค์โปร์ ถึงชายฝั่งตะวันตกของซาราวัก
ที่มาของข้อมูล
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Guaiacum
Bryowijkia ambigua
Dendrobium guibertii
Rhododendron surasianum
แคทะเล
Dolichandrone spathacea
Gigantochloa scortechinii
Previous
Next