Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Musa sapientum
Musa sapientum
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Musa sapientum
L.
Status:
SYNONYM
ชื่อสามัญ::
-
Lady Finger banana
-
Pisang Awak banana
ชื่อไทย::
-
กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม
-
กล้วยไข่
-
กล้วยน้ำว้า
-
กล้วย
ชื่อท้องถิ่น::
-
Kluai hom khrae
-
กล้วยน้ำว้า,กล้วยตีบ,กล้วยไข่,กล้วยหอม,กล้วยป่า,กล้วยครก
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Liliopsida
อันดับ:
Zingiberales
วงศ์::
Musaceae
สกุล:
Musa
วันที่อัพเดท :
17 ก.ค. 2565 11:59 น.
วันที่สร้าง:
17 ก.ค. 2565 11:59 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ล้มลุก กล้วยไข่เป็นไม้ยืนต้นประเภท perennial herb มีลำต้นแท้ที่เป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีลำต้นเทียมสูง 2.5 – 3.0 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร หรือ มีเส้นรอบวงลำต้นประมาณ 50 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวปนเหลือง กาบด้านในมีสีชมพูแดง มีประดำหนา โคนใบมีปีกสีชมพู ใบเป็นแบบ lanceolate ใบมีสีเขียวปนเหลือง ใบไม่เป็นนวล ก้านใบสีเขียวอมเหลือง ใบกว้างประมาณ 70 – 75 เซนติเมตร ยาว 180 – 195 เซนติเมตร แผ่นใบทั้งสองด้านมีความกว้างไม่เท่ากัน มีร่องกว้าง ดอกเป็นแบบดอกรวม เรียกว่า ปลี ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันโดยดอกเพศเมียอยู่ด้านบน ส่วนดอกเพศผู้อยู่ด้านล่าง ส่วนกลางเป็นดอกกระเทย ดอกกระเทยมีค่อนข้างน้อยมาก มีขนอ่อนปกคลุมที่ก้านช่อดอก ใบประดับดอกมีรูปไข่ มีลักษณะม้วนงอขึ้น โดยมีส่วนปลายค่อนข้างแหลม ด้านล่างมีสีแดงอมม่วง ด้านบนมีสีซีดดอกย่อยมีกลีบเชื่อมติดกัน 2 กลีบ ได้แก่ กลีบรวม มีจำนวน 5 กลีบมีลักษณะสีขาวปลายสีเหลือง และกลีบรวมเดี่ยว 1 กลีบ มีลักษณะขาวใส เกสรเพศผู้ และเพศเมียมีความยาวใกล้เคียงกัน เกสรเพศเมียสูงกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย เกสรเพศเมียมีสีเหลือง ส่วนเกสรเพศผู้มีสีชมพูส่วนของปลีกล้วยไข่ที่รวมกันจะเรียกว่า เครือ ซึ่งจะแบ่งเป็นหวี ๆ ประมาณ7 – 10 หวี แต่ละหวีมีผลกล้วยประมาณ 10 – 14 ผล ผลมีขนาด กว้างประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร มีก้านผลค่อนข้างสั้น เปลือกผลค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลือง แต่อาจพบจุดดำเล็ก ๆ ประปรายบนเปลือกผล เนื้อกล้วยมีสีครีมอมส้ม ให้รสหวาน และมีกลิ่นหอม
-
ไม้ล้มลุก มีลำต้นใต้ดินอายุหลายปี ลำต้นบนดินรูปทรงกระบอก เป็นลำต้นปลอม เกิดจากกาบใบห่อหุ้มซ้อนกัน ใบออกเรียงเวียนสลับกันรูปขอบขนาน ขนาดใหญ่ ปลายตัด ขอบเรียบเส้นกลางใบแข็ง เส้นใบมีเป็นจำนวนมาก โดยออกจากเส้นกลางใบทั้ง 2 ข้าง ขนานกันไปจรดขอบใบ ก้านใบยาว ด้านล่างกลม ด้านบนเป็นร่อง ส่วนโคนแผ่เป็นกาบ ดอกออกเป็นช่อห้อยลง ก้านช่อดอกแข็งดอกย่อยแยกเป็นดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศเมียมักอยู่ตอนล่างของช่อดอกย่อยจะอยู่เป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มรองรับด้วยใบประดับขนาดใหญ่สีม่วงแดง ซึ่งติดบนแกนกลางช่อดอกแบบเรียงสลับกัน ดอกย่อยรูปทรงกระบอก กลีบดอกแยกเป็น 3-5 แฉก ผลสดรูปทรงกระบอกหรือเป็นสี่เหลี่ยมอยู่ติดกันคล้ายหวีเปลือกหนา เมื่อสุกมีรสหวานรับประทานได้
การกระจายพันธุ์ :
-
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบที่ภาคกลาง และภาคกลางตอนบน ได้แก่ สระบุรี กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย ภาคตะวันตก ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ภาคอีสาน ได้แก่ สุรินทร์
-
กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างกล้วยป่า 2 ชนิด ได้แก่ Musa acuminata Colla กับ Musa balbisiana Colla มีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาการปลูกกล้วยได้ขยายออกไปทั่วเขตร้อน และเข้าไปในเขตอบอุ่นของเอเชียอเมริกา แอฟริกาและออสเตรเลีย จึงอาจกล่าวได้ว่าประเทศทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนและมีฝนตกชุก กล้วยเป็นผลไม้ที่มีปลูกกันมาก สำหรับความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยนั้น จากหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ จดหมายเหตุลาลูแบร์ ที่เขียนในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปัจจุบันกล้วยน้ำว้าปลูกมากที่สุดในจังหวัดเลย หนองคาย และระนอง พันธุ์กล้วยน้ำว้าที่พบในไทย ได้แก่ กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าค่อม กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้าขาว กล้วยน้ำว้านวล
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
- พืชล้มลุกขนาดใหญ่ กาบใบซ้อนอัดกันแน่นเป็นลำต้นเทียมเหนือดิน ตั้งตรงสูง 2-5 ม.
- ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีนวลสีขาวเคลือบ เส้นกลางใบใหญ่และแข็ง ก้านใบยาว
- ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด มีกาบประดับสีแดงคล้ำซ้อนกันเป็น หัวปลี ที่ซอกกาบประดับมีดอกย่อยออกเป็นแผง
- ผล ผลมีลักษณะเป็น หวี 10-20 ผล ช่อดอกที่ติดผลแล้วกาบประดับ จะหลุดร่วงไป และเจริญยืดยาวขึ้นเรียกว่า เครือ ผลกลมยาว เนื้อในสีขาว
-
- พืชล้มลุกขนาดใหญ่ กาบใบซ้อนอัดกันแน่นเป็นลำต้นเทียมเหนือดิน ตั้งตรงสูง 2-5 ม.
- ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีนวลสีขาวเคลือบ เส้นกลางใบใหญ่และแข็ง ก้านใบยาว
- ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด มีกาบประดับสีแดงคล้ำซ้อนกันเป็น หัวปลี ที่ซอกกาบประดับมีดอกย่อยออกเป็นแผง
- ผล ผลมีลักษณะเป็น หวี 10-20 ผล ช่อดอกที่ติดผลแล้วกาบประดับ จะหลุดร่วงไป และเจริญยืดยาวขึ้นเรียกว่า เครือ ผลกลมยาว เนื้อในสีขาว
-
- พืชล้มลุกขนาดใหญ่ กาบใบซ้อนอัดกันแน่นเป็นลำต้นเทียมเหนือดิน ตั้งตรงสูง 2-5 ม.
- ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีนวลสีขาวเคลือบ เส้นกลางใบใหญ่และแข็ง ก้านใบยาว
- ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด มีกาบประดับสีแดงคล้ำซ้อนกันเป็น หัวปลี ที่ซอกกาบประดับมีดอกย่อยออกเป็นแผง
- ผล ผลมีลักษณะเป็น หวี 10-20 ผล ช่อดอกที่ติดผลแล้วกาบประดับ จะหลุดร่วงไป และเจริญยืดยาวขึ้นเรียกว่า เครือ ผลกลมยาว เนื้อในสีขาว
-
- พืชล้มลุกขนาดใหญ่ กาบใบซ้อนอัดกันแน่นเป็นลำต้นเทียมเหนือดิน ตั้งตรงสูง 2-5 ม.
- ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีนวลสีขาวเคลือบ เส้นกลางใบใหญ่และแข็ง ก้านใบยาว
- ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด มีกาบประดับสีแดงคล้ำซ้อนกันเป็น หัวปลี ที่ซอกกาบประดับมีดอกย่อยออกเป็นแผง
- ผล ผลมีลักษณะเป็น หวี 10-20 ผล ช่อดอกที่ติดผลแล้วกาบประดับ จะหลุดร่วงไป และเจริญยืดยาวขึ้นเรียกว่า เครือ ผลกลมยาว เนื้อในสีขาว
การขยายพันธุ์ :
-
1.โดยการใช้เมล็ด
2.โดยการใช้หน่อ
-
1.โดยการใช้เมล็ด
2.โดยการใช้หน่อ
-
1.โดยการใช้เมล็ด
2.โดยการใช้หน่อ
-
1.โดยการใช้เมล็ด
2.โดยการใช้หน่อ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
นนทบุรี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
1
PRJNA1066417
1066417
2
PRJNA1004203
1004203
3
PRJEB62882
981791
4
PRJNA885159
885159
5
PRJNA868119
868119
6
PRJNA850853
850853
7
PRJNA835162
835162
8
PRJNA831104
831104
9
PRJNA786781
786781
10
PRJEB47412
778506
11
PRJNA777477
777477
12
PRJNA776816
776816
13
PRJNA680175
680175
14
PRJEB28077
655854
15
PRJNA627259
627259
16
PRJNA625703
625703
17
PRJNA609266
609266
18
PRJNA543190
543190
19
PRJNA540118
540118
20
PRJNA493890
493890
Number
Accession number
Bioproject
DNA fingerprint
ที่มาของข้อมูล
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
จากเขา
Eugeissona triste
Hedychium villosum
Kanburia tenasserimensis
เครืออีเฒ่า
Ceropegia hirsuta
หว้าใบจุด
Syzygium fuscescens
แสงแดง
Colquhounia coccinea
Previous
Next