Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Aglaia cucullata
Aglaia cucullata
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Aglaia cucullata
(Roxb.) Pellegr.
ชื่อไทย::
-
แดงน้ำ
-
แสมแดง
อาณาจักร::
Plantae
ไฟลัม::
Tracheophyta
ชั้น::
Magnoliopsida
อันดับ:
Sapindales
วงศ์::
Meliaceae
สกุล:
Aglaia
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
27 มิ.ย. 2566
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
27 มิ.ย. 2566
ที่มา :
กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปรับปรุงล่าสุด :
27 มิ.ย. 2566
วันที่อัพเดท :
17 ก.ค. 2565 11:43 น.
วันที่สร้าง:
17 ก.ค. 2565 11:43 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้น (Tree)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง อาจสูงถึง 20 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบสีชมพูอมเทา มีรากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 30-50 ซม. กระจายหนาแน่นบริเวณโคนต้น
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ชั้นเดียว เรียงเวียนสลับ ก้านช่อยาว 6-10 ซม. โคนบวมป่อง แกนกลางช่อใบยาว 10-20 ซม. ใบย่อย 7-13 ใบ เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย และมีใบที่ปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ไม่สมมาตรกัน ขนาด 3-6x8-16 ซม. โคนใบมนเยื้องขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมทื่อ เส้นกลางใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยุบตัว เส้นแขนง 10-14 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนเป็นมันวาว ด้านล่างสีซีดกว่า เนื้อใบบาง ก้านใบย่อย ยาว 0.2-0.5 ซม. ตาใบไม่มีเกล็ดหุ้ม
ดอก ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อเชิงลดมีก้านแยกแขนง ออกดอกตามง่ามใบ ช่อดอกย้อยลง ยาวไล่เลี่ยกับช่อใบ ประกอบด้วยช่อดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยขนาดเล็กสีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3-0.4 ซม. ดอกเพศเมียเป็นแบบช่อเชิงลดไร้ก้าน ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนน้อย กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกกลม มี 3 กลีบ แยกกันและเชื่อมติดกับโคนหลอดเกสรเพศผู้ ค่อนข้างกลมคล้ายรูปลูกข่าง มีอับเรณู 6-8 อันติดอยู่ภายใน รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 เมล็ด ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
ผล รูปทรงค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 ซม. ผลแก่แห้งแตกกลางพู แตกเป็น 3 ซีก แต่ละซีกมี 1 เมล็ด สีแดงสด ผิวเป็นมัน มีเยื่ออ่อนนุ่มสีส้มหุ้ม ออกผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
การกระจายพันธุ์ :
-
บริเวณตอนล่างของอ่าวเบงกอล หมู่เกาะอันดามัน ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
เพชรบูรณ์
-
นครศรีธรรมราช
-
ชุมพร, ระนอง
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
อุทยานแห่งชาติ เขาค้อ
-
อุทยานแห่งชาติ เขานัน
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ควนแม่ยายหม่อน
ที่มาของข้อมูล
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Crepidium merapiense
Bougainvillea spectabilis
Sansevieria trifasciata
รักใหญ่
Gluta usitata
Quercus franchetii
Polyalthia parviflora
Previous
Next